พฤษภาคม 4, 2024

    ความเห็นต่อการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่า​

    Share

    12/07/2022

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ อาจารย์ประจำภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์เฟซบุ๊ก Sorayut Aiemueayut ต่อกรณีที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ในสไตล์ญี่ปุ่น โดยมีความคิดเห็นว่า​

    “ผมกับทีมเพิ่งไปจัดเวิร์คชอปในชุมชนมาเมื่อปลายเดือนที่แล้วมีความเห็นแบบนี้ครับ เนื่องจากภาพที่เห็นไม่ตรงกับข้อมูลของคนในชุมชน​

    1. ตลิ่งที่เห็นและทางเดินที่เห็น สร้างปัญหาให้คนในชุมชนมากเพราะมันสูงกว่าของเดิมทำให้เวลาฝนตกจะเกิดน้ำท่วมขังนานกว่าปกติเพราะน้ำระบายออกช้ามาก (ปกติน้ำก็ท่วมอยู่แล้ว และหนักกว่าเดิมตอนทำทางเดินใหม่) ทำให้งู หนู และแมลงสาปเข้าบ้านคนในชุมชนเยอะมากขึ้น เด็กๆในชุมชนอันตรายมากขึ้น​

    2. ตลิ่งเดิมและทางเดินธรรมชาติเดิมเต็มไปด้วยพืชผักสวนครัวที่ชาวบ้านปลูก ​ การก่อสร้างทางเดินใหม่นี้ทำลายพื้นที่ส่วนรวมของชาวบ้านไปอย่างน่าเสียดาย อย่าไปโรแมนติกกันนักกับภาพปลูกผักหรือหยอดเมล็ดพันธ์ุตรงรูของคอนกรีต​

    3. ตลิ่งและทางเดินธรรมชาติเดิมมีไม้ใหญ่ขึ้นมาก ทางผู้ดำเนินการก่อสร้างเคยบอกกับชาวบ้านว่าจะไม่ตัด ปรากฏว่าตัดหมดครับ คนที่นั่นร้อนกันมาก อย่าเห็นแค่ภาพ แต่แนะนำให้ลองไปเดินหรือไปอยู่เองช่วงกลางวันดู ​ นอกจากนี้ ระบบนิเวศน์ของคลองก็เปลี่ยนไปด้วย​

    4. ชุมชนริมคลองแม่ข่านี้ มีหลายชุมชนทั้งชุมชนดั้งเดิมของเชียงใหม่และชุมชนชาติพันธุ์ที่อพยพลงมา มีประวัติศาสตร์ของการต่อสู้กับการถูกไล่รื้อโดยหน่วยงานราชการมาไม่ต่ำกว่า 25 – 30 ปี ครับ โครงการก่อสร้างนี้เคยสัญญาไว้ว่าจะไม่ไล่รื้อชุมชน แต่จากการสัมภาษณ์ล่าสุด เริ่มมีกระแสข่าวการไล่รื้ออีกครั้ง ​ ภาพที่เห็นว่าสวยหรือชีวิตที่ว่าชิวหน่ะ มันไม่เป็นอย่างที่เห็นนะครับ ​ คนในชุมชนทำหน้าที่เป็นแรงงานหล่อเลี้ยงเมืองทั้งแรงงานรับจ้างและงานภาคบริการ เป็นส่วนของแรงงานที่คนมองข้าม ​ เมืองถูกขับเคลื่อนด้วยคนเหล่านี้แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการพัฒนาเมืองมักจะขับไล่พวกเค้าออกไปจากเมือง​

    5. ปัญหาของน้ำเน่าเสีย ชุมชนริมคลองแม่ข่าสร้างการรณรงค์จัดการกันเองมาตั้งแต่ช่วงปี 2545 แล้วครับโดยประมาณ ทั้งเก็บกวาดทำความสะอาดคลอง และทำกันมาเรื่อย ๆ อาจารย์มช.หลายท่านก็เข้าไปร่วมในโครงการ ​ เชื่อไหมว่า คนในชุมชนเค้าสามารถแยกชั้นและจัดจำแนกขยะแต่ละประเภทได้ว่าขยะประเภทไหนอยู่ในความลึกระดับไหนของน้ำ ​ แต่ปัญหาเรื่องความเน่าเสียหลัก ๆ คือมันไหลผ่านตลาดใหญ่ของเชียงใหม่ ผ่านโรงงานต่าง ๆ ครับ ชาวบ้านจะเล่าได้ชัดเจนว่าวันนี้น้ำเสียมาจากโรงงานไหน เพราะสภาพมันฟ้อง​
    ภาพฝันของคนชั้นกลางและนักท่องเที่ยวในเมืองมันก็ดูดีอยู่หรอกถ้าไม่มองข้ามชีวิตของผู้คนอีกมากในเมือง ​ คนไปเที่ยวคือคนที่มาถ่ายรูปแล้วก็จากไป สร้างคอนเทนบอกเล่าสิ่งที่อยากเล่าโดยมองไม่เห็นข้อเท็จจริง​

    เมืองที่น่าอยู่มันไม่ใช่เมืองที่สวยด้วยภาพถ่ายหรือไปก๊อปรูปแบบใครเขามาแต่มันคือเมืองที่กอบเอาชีวิตและความฝันของคนหลากหลายกลุ่มเข้าไว้ด้วยกันไม่ใช่หรือ​
    ผมขอพูดในฐานะคนที่อยู่ในเหตุการณ์ไล่รื้อชุมชนที่นั่นในปี 2544-45 ภาพชีวิตของคนที่บ้านแตกสาแหรกขาดยังติดตาผมอยู่เลย”​

    ภาพ: วรรณา แต้มทอง และเพจสุดใจร้าย​

    #คลองแม่ข่า​
    #Lanner

    Related

    และนี่คือเสียงของ We are the 99% ฟังเสียง 6 แรงงานที่อยากเห็นคุณภาพชีวิตที่ดี

    เรื่อง: วิชชากร นวลฝั้น ภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว 1 พฤษภาคม ของทุกปีคือวันแรงงานสากล (International Workers’...

    ค่าแรงมันร้าย กดขี่ขั้นโหด ถึงเวลา ‘สหภาพแรงงาน’

    เรื่อง: ปรัชญา ไชยแก้ว ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ร้อนแรงไม่แพ้อากาศประเทศไทย สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567 ในงานเวทีวาระเชียงใหม่ Chiangmai...

    กลุ่มศึกษาแรงงานฯลำปาง จัดงาน MAY DAY วอนรัฐตระหนักถึงแรงงานและสิทธิของพวกเรา

    วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.00 น. กลุ่มศึกษาแรงงานและสวัสดิการลำปาง ประสานงานเพื่อจัดงานวันแรงงานสากล...
    บทความก่อนหน้านี้
    บทความถัดไป