พฤษภาคม 19, 2024

    รปภ.มช. ขับรถเปิดไฟไล่คณะ Bird walk ณ สถานีวิจัยแม่เหียะ อ้างสลายชุมนุม

    Share

    10 ตุลาคม 2565

    วันที่ 9 ตุลาคม 2565 นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นนักดูนกและนักอนุรักษ์ธรรมชาติ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว บอกเล่าถึงการจัดกิจกรรม Bird walk โดยชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ที่ถูกรปภ.ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เข้ามาทำการไล่ออกจากพื้นที่ โดยอ้างว่าถูกสั่งให้มาสลายการชุมนุม ใจความว่า

    “ชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา เราจัดกิจกรรม Birdwalk พาเด็กๆและผู้สนใจ มารู้จักนกและธรรมชาติรอบๆตัว เราจัดกันเป็นประจำทุกเดือน มาหลายปี ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 124 แล้ว

    ช่วงโควิด เราก็พักกิจกรรมไป เพิ่งกลับมาจัดอีกครั้งวันนี้

    วันนี้คนมาร่วม อุ่นหนาฝาคั่ง

    เราเลือกจัดที่ สถานีวิจัยเกษตรฯ แม่เหียะ เพราะเป็นพื้นที่สีเขียวกว้างขวาง ที่อยู่ใกล้เมือง ผู้คนเข้าถึงได้ง่าย ปกติก็มีคนมาออกกำลังกาย วิ่ง ขี่จักรยาน มาจ่ายตลาดเกษตรอินทรีย์ กันเป็นประจำ

    เรามาจัดที่นี่หลายครั้งแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไร

    แต่วันนี้ ในขณะที่กำลังพาเด็กๆดูนกจากริมถนน

    ก็มี รถ รปภ เปิดไฟฉุกเฉิน เข้ามาจี้ตามกลุ่มพวกเรา

    จนท รปภ ออกมาบอกว่า

    เราไม่มีสิทธิ์มาทำกิจกรรมตรงนี้ ให้ออกไปจากพื้นที่ สถานีเกษตรฯแม่เหียะ

    “ผมได้รับคำสั่ง ให้มาสลายการชุมนุม”

    ผมแทบไม่เชื่อหูตัวเอง

    เดี๋ยวนะ นี่พวกเราเป็น ผู้ก่อความไม่สงบ หรืออย่างไร

    การพาเด็กๆ ดูนก นี่มันเป็น อาชญากรรม ไปตั้งแต่เมื่อใด

    พวกเรา ไม่ได้เดินเข้าไปในพื้นที่แปลงเกษตร

    เพราะ อาจารย์คณะเกษตรเขาออกกฏห้าม

    เดี๋ยวจะไปรบกวนพื้นที่วิจัยเขา

    แต่นี่เราเดินกันบนถนน ที่มีคนมาออกกำลังกาย

    กันเป็นปกติ

    จริงอยู่ว่า วันนี้ กลุ่มเราใหญ่ มีเด็กเล็กๆจำนวนมาก อาจเดินไม่เป็นระเบียบ ทำให้รถ(ที่นานๆจะผ่านมาสักคัน) ขับผ่านไม่สะดวกมากนัก

    แต่ เราก็สามารถ หลบข้างทาง หรือ ขอให้เรา ยืนกันฝั่งเดียวได้

    แต่ให้ รปภ มาทำกร่าง ว่าจะมาสลายการชุมนุม ขับไล่ออกจากพื้นที่ .. มันคืออะไร

    คนที่มาร่วม ก็มีทั้ง อาจารย์และ นศ คณะแพทย์ สัตวแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะมนุษย์ฯ คณะวิจิตรศิลป์ มช เรานี่เอง

    ทำไมต้องแสดงอำนาจ กันถึงเพียงนี้

    ผมมั่นใจว่า นโยบายของมหาวิทยาลัย ของผม

    ก็ส่งเสริมการศึกษา ส่งเสริมการปลูกฝังความรักความเข้าใจธรรมชาติให้กับประชาชน

    กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ จึงควรเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยที่มีวิสัยทัศน์ควรส่งเสริม และภาคภูมิใจ

    เพราะ แท้จริงแล้ว มหาวิทยาลัยไม่ใช่สมบัติของ ข้าราชการคนใดคนนึง

    แต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ด้วยประชาชน และ เพื่อประชาชน

    ขอกราบเรียนท่านอธิการบดี Pongruk Sribanditmongkol ที่เคารพยิ่งครับ”

    https://www.facebook.com/photo?fbid=10210223952911673&set=a.2014201251085

    ภาพ : Rungsrit Kanjanavanit

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...