พฤษภาคม 8, 2024

    ‘หยุดสร้างปัญหา’ ชาวกะเบอะดินไม่รับ EIA สายส่งไฟอุโมงค์ผันน้ำยวมตั้งแต่เริ่ม!

    Share

    เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)และบริษัทที่ปรึกษา ได้เดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านกะเบอะดิน อ. อมก๋อย เชียงใหม่ เพื่อจัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าแรงสูงขนาด 230 กิโลโวลต์ เพื่อสนับสนุนอุโมงค์ผันน้ำยวมของกรมชลประทาน โดยจะจัดขึ้นที่วัดแม่อ่างขาง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีแผนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้าฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการผันแม่น้ำยวม

    ทีมสื่อเยาวชนกะเบอะดินรายงานไว้ว่าไม่มีชาวบ้านกะเบอะดินมาเข้าร่วม เนื่องจากไม่ได้เห็นด้วยกับการผันแม่น้ำยวม รวมไปถึงการศึกษาผลกรทบสิ่งแวดล้อมโครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้าฯดังกล่าวด้วย 


    ภาพ : ทีมสื่อเยาวชนกะเบอะดิน

    นอกจากนี้ ตามรายงานยังมีการรวมตัวแสดงออกของชาวบ้านกะเบอะดินด้วยการถือป้ายเขียนข้อความไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว รวมไปถึงเจตนารมณ์ที่จะปกป้องทรัพยากรและวิถีชีวิตในชุมชนของตัวเองที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ อีกทั้งชาวบ้านกะเบอะดินยังมองโครงการนี้ว่าเป็นโครงการที่เอื้อนายทุน

    ในส่วนของผู้แทนกฟผ. หลังจากที่ได้รับรู้จุดยืนของชาวบ้าน ก็ได้กล่าวไว้ว่า “ผมจะบอกไว้ก่อนว่าโครงการของรัฐบาลนั้น หากเขาจะทำยังไงเขาก็ทำ แต่เราที่ไม่ได้รับประโยชน์ ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเห็นด้วย เรื่องที่เราอยากรู้ว่าความกังวลของชาวบ้านคืออะไร หากไม่เอาก็เป็นความเห็นของเรา” 


    ภาพ : ทีมสื่อเยาวชนกะเบอะดิน

    ทั้งนี้โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุนโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล (ผันน้ำยวม) ของกรมชลประทาน ซึ่งผลการศึกษาโครงการ โครงการศึกษาวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล และกฟผ.มีบทบาทในการส่งไฟฟ้าแรงสูงเพื่อสูบน้ำ (ที่สถานีสูบน้ำแม่เงา จ.แม่ฮ่องสอน) โดยเอกสารระบุว่ามูลค่าการลงทุน ค่าใช้จ่ายโครงการ งานดำเนินงานและบำรุงรักษา และค่าลงทุนโครงการ อยู่ที่ราว 172,200.34 ล้านบาท

    โครงการประกอบด้วย เขื่อนน้ำยวม จ.ตากและแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอย่างน้อย 5 แห่ง ได้แก่ ป่าแม่แจ่มและป่าแม่ตื่น ป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย-ขวา ป่าอมก๋อย และป่าท่าสองยาง สถานีสูบน้ำบ้านสบเงา จ.แม่ฮ่องสอน ระบบอุโมงค์ส่งน้ำ (โครงสร้างใต้ดิน) ระยะทาง 61.52 กิโลเมตร จาก อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ผ่าน อ.อมก๋อย ไปยัง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วย อุโมงค์อัดน้ำ อุโมงค์พักน้ำ และอุโมงค์ส่งน้ำ คาดว่าจะผันน้ำเฉลี่ยปีละ 1,795 ล้านลูกบาศก์เมตร

    Related

    ร้อยเรียงเรื่องเชียงแสน พลวัตการพลัดถิ่นฐานของผู้คนบนสายธารประวัติศาสตร์ สงครามและสนามรบ

    เรื่อง : นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง “เชียงแสน” เป็นชื่อบ้านนามเมืองแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันในหมู่ผู้คนทั่วไปว่าคือชื่อของอำเภอชายแดนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป....

    ก้าวไปข้างหน้า กับความไม่แน่นอนของปัญหาไฟป่า-หมอกควันจังหวัดเชียงใหม่

    เรื่อง : ชยา วรรธนะภูติ ไฟ ฝุ่นและมลพิษใน “อุตสาหกรรมนิยมยุคปลาย” นับตั้งแต่เมื่อสองร้อยกว่าปีที่แล้ว ด้วยอิทธิพลของการล่าอาณานิคม การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติการเกษตรในทวีปต่างๆ...

    ชิวๆ กับความไม่แน่นอน: อารมณ์สายมูกับระบอบเวลาที่ยืดหยุ่น

    เรื่อง: ณีรนุช แมลงภู่* ในยุคสมัยที่การดิ้นรนทำมาหากินเพื่อให้อยู่รอดภายใต้เศรษฐกิจที่ผันผวนและอากาศแบบละติจูดเดียวกับ ‘สวรรค์’ เป็นประสบการณ์สามัญของคนทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าทำไมเพื่อน ‘สายมู’ ของเราถึงยังมีเวลาไปกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระดังทั่วไทย สวมชุดขาวร่วมพิธีกกรรมเสริมแต้มบุญ...