เล่าฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

1 POSTS

การอดอาหารประท้วงของตะวันและแบมเกี่ยวกับเราอย่างไร

เรื่อง: เล่าฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล น้องตะวันกับน้องแบมถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เพียงเพราะผู้ใหญ่ไม่ชอบใจ ก่อนหน้านี้ได้รับการประกันตัวออกมาสู้คดี แต่เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 ทั้งสองคนได้ตัดสินใจถอนประกันตัวเองแล้วกลับไปอยู่ในเรือนจำ พร้อมประกาศอดอาหารประท้วงและยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ศาลต้องไม่ถูกแทรกแซง 2. ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ออกต่อสู้เรียกร้องทางการเมือง 3. ทุกพรรคการเมืองต้องเสนอนโยบายยกเลิกมาตรา 112 และ 116 ประมวลกฎหมายอาญา การอดข้าวประท้วงของเด็กผู้หญิง 2 คน เกี่ยวข้องกับคนธรรมดาสามัญชนอย่างเรา ๆ ยังไง ถ้าพูดโยงมาให้ไกล้เคียงกับคนธรรมดาอย่างเรา ๆ มากที่สุด คือ สิทธิในการประกันตัวเมื่อถูกดำเนินคดีอาญา หลายคนอาจจะคิดว่าการถูกดำเนินคดีอาญาเป็นเรื่องไกลตัว ในฐานะที่เป็นทนายความทุกคนที่มาหาผมก็ล้วนคิดอย่างนี้ แต่แล้วพวกเขาก็ถูกจับกุมดำเนินคดีอาญา หลายคนไม่มีเงินประกันตัวออกมา หลายคนศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว หลายคนต้องกู้หนี้ยืมสินจำนวนมากเพื่อเอามาประกันตัว เรื่องปัญหาการประกันตัวในชั้นศาลและการแทรกแซงผู้พิพากษา เป็นปัญหาที่สำคัญมากสำหรับคนธรรมดาที่ถูกดำเนินคดีอาญา คดีหลายประเภทศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวหรือเรียกหลักทรัพย์ประกันตัวสูงมาก แม้ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะเพียงถูกกล่าวหาโดยยังไม่ได้พิสูจน์ถูกผิดเลย ศาลก็สั่งขังไว้ก่อน ซึ่งมีผลทำให้ได้รับความเสียหายและเสียเปรียบในการต่อสู้คดีเป็นอย่างมาก เมื่อไม่กี่วันมานี้มีคนโทรปรึกษาคดีที่ชาวบ้านถูกกล่าวหาว่าพยายามฆ่าตำรวจ โดยเล่าว่าถูกตำรวจขับรถชนแล้วยิงได้รับบาดเจ็บแล้วยัดข้อหา แต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยอ้างว่าถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดร้ายแรง ทำให้ชาวบ้านถูกขังทันทีโดยยังไม่รู้ว่าใครถูกผิด  อีกเรื่องคือการแทรกแซงผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิจารณาคดี หรือที่เรียกว่าคดีนโยบาย เช่น คดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ คดีของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คดียาเสพติด เป็นต้น ซึ่งคดีเหล่านี้ผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยมักเป็นชาวบ้านคนธรรมดาและส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ถูกสังคมมองด้วยอคติ ซึ่งการตัดสินคดีเหล่านี้จะมีนโยบายหรือแนวทางการติดสินที่มุ่งสั่งจำคุก แม้จะถูกตัดสินจำคุกเพียงเล็กน้อยก็ตามศาลก็มีแนวโน้มที่จะไม่รอลงอาญา โดยเฉพาะคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ มักเป็นเรื่องป่าทับคนและมีคนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก คนที่ดำเนินคดีเป็นคนที่อยู่มาก่อน แต่ถูกทำให้ผิดกฎหมาย เวลาถูกดำเนินคดีก็มีนโยบายให้ลงโทษหนัก สำหรับข้อเรียกร้องอีก 2 ข้อ ล้วนเป็นความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยดีขึ้น  ผมคิดว่าในโอกาสนี้คนธรรมดาสามัญชนอย่างเรา ๆ จะต้องหันมาสนใจและร่วมกันสนับสนุนข้อเรียกร้องของตะวันและแบมอย่างจริงจริง จนถึงตอนนี้ (วันที่ 7 กุมภาพันธุ์ 2566) ท้องสองคนก็อดอาหารประท้วงมาเป็นวันที่ 20 แล้ว และได้ข่าวว่าอาการของทั้งสองคนกำลังทรุดลงอย่างน่าเป็นห่วง
spot_img

Popular

จะรื้อหรือไม่รื้อ ‘ฝายพญาคำ’ คำถามที่ใหญ่กว่าตัวฝาย คือเราเข้าใจน้ำและเมืองแค่ไหน?

เรื่อง: ศรีนิธิรินทร์ ชื่นวณิช ภาพ: สุทธิกานต์ วงศ์ไชย น้ำท่วมเชียงใหม่ไม่ได้เป็นเพียงข่าวซ้ำซากในฤดูฝน แต่กำลังสะท้อนความเปราะบางของเมืองที่เติบโตเร็วเกินกว่าระบบจะตามทัน ปีที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของเชียงใหม่จมอยู่ใต้น้ำ สร้างผลกระทบทั้งต่อผู้คน...

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนฯ ออกแถลงการณ์ หนุนรัฐเร่งแก้ปัญหาคนไร้สัญชาติ

วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ออกแถลงการณ์สนับสนุนนโยบายและมาตรการของรัฐบาลที่มุ่งแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้กับกลุ่มประชากรที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน รวมถึงบุตรหลานที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ยังไร้สัญชาติไทย แถลงการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29...

แสงไต้ เทียนไข น้ำมันก๊าด ‘อีเล็กตีสตี’ ในจดหมาย “สีโหม้” และกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

เรื่อง: ปวีณา หมู่อุบล ผลงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้ซีรีส์คอนเทนต์ ‘พลังงาน / คน / ภาคเหนือ’ จากความร่วมมือระหว่าง...

สะท้อนปัญหา 27 ปี การพิสูจน์สิทธิ ‘คนอยู่กับป่า’ ใต้เงื้อมมือรัฐ

เรื่อง : ศรีนิธิรินทร์ ชื่นวณิช ภาพ : ปรัชญา  ไชยแก้ว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม...

เหลียวหลัง แลหน้า: ขบวนการ ‘คนอยู่กับป่า’ เมื่อการปักหมุดประชาธิปไตย เริ่มจากชายขอบ

เรื่อง : ศรีนิธิรินทร์ ชื่นวณิช ภาพ : ปรัชญา  ไชยแก้ว อาจเป็นถ้อยคำที่สรุปบทเรียนสำคัญของคนตัวเล็กตัวน้อยในพื้นที่ชายขอบ ที่ไม่ได้ต่อสู้เพื่อแค่สิทธิในที่ดินทำกิน หากแต่หมายถึงการปักหมุดประชาธิปไตยจากฐานรากของสังคมไทย...