พฤษภาคม 8, 2024

    รับเรือนสหายทางศิลปะ Cold War : the mysterious

    Share

    16/07/2022

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จัดงาน “รับเรือนสหายทางศิลปะ” และนิทรรศการ “Cold War : the mysterious” ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จ.เชียงใหม่ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมนิทรรศการ ชมผลงานภาพวาดของ ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี ตลอดทั้งวัน
    นอกจากนี้ยังมีเวทีเสวนาในหัวข้อ

    “ทัศนาสงครามเย็น ปริศนา และการปิดบังอำพราง”

    โดย รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ ศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น. โดยร่วมเสวนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสื่อภาพวาด งานเขียน และประวัติศาสตร์ในยุคสงครามเย็น


    รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ เริ่มการเสวนา ด้วยประเด็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างงานศิลปะ และสังคมในยุคสงครามเย็น ที่งานศิลปะมักถูกใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อยกระดับคุณค่าของวัฒนธรรม และสังคม อีกทั้งยังมองว่างานศิลปะในยุคนั้นยังมีความเกี่ยวข้องกับบทบาทของประเทศไทยในสงครามเวียดนาม โดยตนได้สรุปไว้ว่า มีการเมืองซ่อนอยู่ในศิลปะเสมอ และต้องตั้งใจมองให้เห็นถึงปัญหา เพื่อให้เห็นเนื้อแท้ของความเป็นชาติไทย และยังแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับงานภาพของ ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี ว่าสามารถมองเห็น และมีความเข้าใจในความเกี่ยวข้องระหว่างงานศิลปะ และประวัติศาสตร์การเมืองในยุคสงครามเย็นได้เป็นอย่างดี


    รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร ดำเนินการเสวนาต่อในประเด็น องค์ประกอบของงานศิลปะ ตนมองว่าสิ่งที่งานศิลปะสื่อออกมานั้น มีผลกระทบที่แตกต่างกันไป เพิ่มความรับรู้ที่มีต่อโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบงานวิชาการ หรือแบบศิลปะ แต่ตนเชื่อว่างานศิลปะภาพวาดสามารถทำอะไรได้มากกว่าเมื่อเทียบกับงานเขียน โดยได้กล่าวถึงการใช้ภาพวาดเพื่อ “ย้อนรอยความทรงจำ” และยังกล่าวถึงงานภาพของ ผศ.ดร.ทัศนัย ที่ตนมองว่าเป็นการบีบอัดประสบการณ์ ให้ออกมาเป็นชิ้นงานได้


    ศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ กล่าวในประเด็นของ “อาหาร” ในบริบทของประวัติศาสตร์สังคมของคนทั่วไป โดยยกตัวอย่างอาหารต่างๆ ที่มีจุดเริ่มต้น เรื่องราว และผลกระทบมาจากสังคมในยุคสงครามเย็น และยึดโยงเข้ากับชีวิตของประชาชนในสังคมมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเชื่อว่า งานศิลปะสามารถดึงเอา “กลิ่น” ของอาหาร ที่มีกลิ่นอายของสังคมในยุคสงครามเย็น มาสร้างสรรค์เป็นผลงานได้
    สามารถติดตามเนื้อหาการเสวนาโดยละเอียดได้ที่ Lanner เร็วๆ นี้


    ติดตามเทปบันทึกการถ่ายทอดสดการเสวนาได้ที่
    https://www.facebook.com/lanner2022/videos/1036188850368376


    #Lanner

    Related

    ร้อยเรียงเรื่องเชียงแสน พลวัตการพลัดถิ่นฐานของผู้คนบนสายธารประวัติศาสตร์ สงครามและสนามรบ

    เรื่อง : นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง “เชียงแสน” เป็นชื่อบ้านนามเมืองแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันในหมู่ผู้คนทั่วไปว่าคือชื่อของอำเภอชายแดนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป....

    ก้าวไปข้างหน้า กับความไม่แน่นอนของปัญหาไฟป่า-หมอกควันจังหวัดเชียงใหม่

    เรื่อง : ชยา วรรธนะภูติ ไฟ ฝุ่นและมลพิษใน “อุตสาหกรรมนิยมยุคปลาย” นับตั้งแต่เมื่อสองร้อยกว่าปีที่แล้ว ด้วยอิทธิพลของการล่าอาณานิคม การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติการเกษตรในทวีปต่างๆ...

    ชิวๆ กับความไม่แน่นอน: อารมณ์สายมูกับระบอบเวลาที่ยืดหยุ่น

    เรื่อง: ณีรนุช แมลงภู่* ในยุคสมัยที่การดิ้นรนทำมาหากินเพื่อให้อยู่รอดภายใต้เศรษฐกิจที่ผันผวนและอากาศแบบละติจูดเดียวกับ ‘สวรรค์’ เป็นประสบการณ์สามัญของคนทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าทำไมเพื่อน ‘สายมู’ ของเราถึงยังมีเวลาไปกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระดังทั่วไทย สวมชุดขาวร่วมพิธีกกรรมเสริมแต้มบุญ...