พฤษภาคม 21, 2024

    โอกาสและความหวัง​

    Share

    14/07/2022

    ผลงานและภาพถ่าย : จิราภรณ์ ไพรเถื่อน​



    จิราภรณ์ ไพรเถื่อน เล่าเรื่องการทำงานของแรงงานหญิงชาวไทใหญ่ 2 คนแสดงให้ถึงมุมมองของแรงงานหญิง 2 คนนี้ต่อการอยู่อาศัยในประเทศไทย​

    “เมืองไทยเป็นปลายทางของใครหลายคน” พลบค่ำของวันที่ 11 เราได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับแรงงานข้ามชาติในชุมชนของแรงงาน ระหว่างนั้นเองเกิดบทสนทนาขึ้นระหว่างเรากับพี่แสงสวยและพี่ฝ่ายหญิงทั้งสองเป็นแรงงานข้ามชาติหญิงที่เราได้สนทนาด้วย เราพูดคุยถึงชีวิตการทำงานของทั้งสอง มีสิ่งหนึ่งที่เราสัมผัสได้คือ เธอทั้งสองเห็นโอกาสและความหวังที่จะพาครอบครัวและชีวิตของตนให้หลุดพ้นจากความยากลำบาก​



    แสงสวย เธอเป็นคนแรกที่เราได้พูดคุยด้วยซึ่งเป็นหญิงวัย 26 ปี มาจากเมืองปางหลวงในเมียนมาร์ เธอเล่าว่าเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่อายุ 13 ปี ตั้งใจจะมารับหลานกลับเมียนมาร์ แต่ด้วยฐานะทางบ้านทำให้เธอตัดสินใจทำงานอยู่ที่เมืองไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา งานแรกของเธอคืองานก่อสร้างและงานปัจจุบันก็คืองานก่อสร้างเช่นเดิม เธอกล่าวว่า “ก่อสร้างอันนี้ก็โอเคแล้ว อยู่นี้ตลอดไม่ได้ย้ายไปไหน” เธอกล่าวด้วยน้ำเสียงที่พอใจในงานของเธอ ทำให้รับรู้ถึงความต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดต่อไป ​

    ถัดมาฝ่ายหญิงเธอเป็นหญิงวัย 38 ปี อยู่เมืองไทยมา 10 ปี ปัจจุบันเธอทำงานกวาดถนน เมื่อชวนพูดคุยถึงงานในอดีตก็ทำให้รู้ว่าเธอทำงานนี้มาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว เธอกล่าวถึงเหตุผลที่ยังทำงานนี้อยู่ว่าการไปทำงานแบบอื่นจำเป็นจะต้องย้ายไปย้ายมาจึงเลือกงานกวาดถนนเรื่อยมา ต่อมาเราชวนคุยถึงความเบื่อหน่ายกับการกวาดถนน เธอตอบกลับอย่างรวดเร็วว่า “ไม่เบื่องาน เบื่อก็ไม่มีกินแล้ว” ด้วยสีหน้า แววตาที่ไม่ยอมแพ้ต่องานและเต็มไปด้วยความอดทน แต่ภายในใจแล้วเราไม่สามารถที่จะรู้ความรู้สึกลึก ๆ ของเธอได้เลย​



    การพูดคุยในครั้งนี้ทำให้เราตกตะกอนได้ว่าในโลกที่โหดร้ายยังมีโอกาสและความหวังอยู่เสมอ ถ้าเราไม่มองเราก็ไม่เห็นมัน และที่สำคัญคือความอดทน เราบอกกับตัวเองว่า ถ้าเราอดทนได้ครึ่งหนึ่งของเธอทั้งสอง เราคงจะเป็นคนที่น่าสนใจไม่น้อยเลย​

    Story from 9 % ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านหลายแง่มุม ทั้งภาพถ่ายและงานเขียน ที่ชวนไปสำรวจเรื่องราวชีวิตของประชากร 9 %​

    นิทรรศการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ มูลนิธิเสมสิกขาลัย, เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชนภาคเหนือ, Lanna project และ In Chiang Mai จัดแสดงเมื่อวันที่ 21-22 มกราคม 2565 ณ ข่วงประตูท่าแพ เชียงใหม่​

    โดยผลงานภาพถ่ายและงานเขียนจากนิทรรศการนี้จะเผยแพร่อีกครั้งผ่าน Lanner ตั้งแต่วันที่ 11 – 19 กรกฎาคม 2565 ​


    #9%STORIES​
    #Lanner

    Related

    ‘เพ็ญสุภา’ ตั้งข้อสงสัยพบ ‘พระพุทธรูปริมโขง’ เสนอจับมือค้นคว้าอย่างจริงจัง

    จากกรณีที่มีการค้นพบพระพุทธรูปขนาดใหญ่และวัตถุโบราณหลายชิ้น บริเวณเกาะกลางดอนผึ้งคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตรงข้าม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่...

    60 กว่าปีที่รอคอย ขบวนความหวัง รถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คุ้มไหมกับที่หวัง?

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน “เชียงรายจะมีรถไฟแล้ว” ประโยคขายฝันที่ฉันได้ยินตั้งแต่เด็กจนตอนนี้ใกล้จะเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังไม่เคยเห็นรถไฟที่ว่านั้นสักที ด้วยภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ยากลำบากต่อการก่อสร้างและความคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้เส้นทางรถไฟสายเหนือของไทยสิ้นสุดอยู่เพียงที่ชานชาลาเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน  จากทางรถไฟที่เฝ้ารอมาหลายสิบปี ผู้เฒ่าหลายคนล้มหายตายจากไปทั้งที่ยังไม่ได้เห็นแม้ร่องรอย คำบอกเล่าว่าทางรถไฟจะผ่านบ้านเราแล้ว ประโยคดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นจริง...

    ไกลศูนย์กลาง: กลับไปอ่าน “แก้วหยดเดียว” ของศรีดาวเรือง: การตั้งคำถามต่อการไม่มีสวัสดิการของแรงงานไทยเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีวันสำคัญของสามัญชนคนธรรมดาที่น้อยนักจะปรากฏได้ในปฏิทิน นั่นคือวันแรงงานสากล หรือเมย์เดย์ (May Day) ผู้เขียนจึงนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ได้ถ่ายทอดชีวิตและน้ำเสียงของแรงงานจากวรรณกรรม แม้ว่าวรรณกรรมชิ้นนี้จะเก่าไปสักหน่อย แต่ก็ยังคงนำพาให้ได้เห็นร่องรอยเคล้าลางบางอย่างที่แช่แข็งและไปไม่ถึงไหนจวบจนปัจจุบัน...