พฤษภาคม 7, 2024

    ครบรอบ 50 ปี แถลงการณ์ต่อต้านการรับน้องหอ​
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คืนวันที่ 8 กรกฎาคม 2515​

    Share

    09/07/2022

    ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ในค่ำคืนของวันที่ 8 กรกฎาคม 2515 มีแถลงการณ์เพื่อเพื่อนน้องใหม่หอชาย 2,3,4 ที่มีใจความสำคัญคือการต่อต้านระบบโซตัสที่เป็นระบบกดขี่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้​

    ด่วน !​
    แถลงการณ์เพื่อเพื่อนน้องใหม่หอชาย 2,3,4​

    เพื่อนน้องใหม่ชาวหอที่รักทั้งหลาย​
    คืนนี้เมื่อปีก่อน​
    โดยรุ่นพี่ที่บ้าอำนาจบางคน ​ ​ ​ ​ พวกเราถูกขู่ตะคอกเยี่ยงทาส​
    โดยรุ่นพี่ที่บ้าอำนาจบางคน ​ ​ ​ ​ พวกเราถูกด่าด้วยคำหยาบลามก​
    โดยรุ่นพี่ที่บ้าอำนาจบางคน ​ ​ ​ ​ พวกเราถูกบังคับให้ตะโกนคำสำรากหน้าหอหญิง​
    โดยรุ่นพี่ที่บ้าอำนาจบางคน ​ ​ ​ ​ พวกเราถูกบังคับให้คลานลอดท่อระบายน้ำ​
    โดยรุ่นพี่ที่บ้าอำนาจบางคน ​ ​ ​ ​ พวกเราถูกบังคับให้กราบหมา​
    โดยรุ่นพี่ที่บ้าอำนาจบางคน ​ ​ ​ ​ พวกเราถูกบังคับให้แก้ผ้าคลานลงบันได​
    โดยรุ่นพี่ที่บ้าอำนาจบางคน ​ ​ ​ ​ พวกเราถูกยัดเยียดมรดกอันเลวทราม​
    โดยรุ่นพี่ที่บ้าอำนาจบางคน ​ ​ ​ ​ พวกเราถูกโทรมจิตใจให้เป็นสัตว์ยิ่งขึ้นทุกวัน​

    เพื่อนน้องใหม่ชาวหอที่รักทั้งหลาย​
    พวกเราถูกริดรอนสิทธิเสรีภาพหมดแล้ว เราจะยอมให้เหตุการณ์เลวร้ายเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราอีกหรือ​
    เราจะร่วมกันต่อต้านการรับน้องหอคืนนี้​
    เมื่อไฟดับแล้ว เราจะถูกไล่ให้ไปรวมกันที่หน้าหอแต่ละหอ​
    ในขณะนั้น ให้พวกเราพร้อมใจไปพบกันที่ หน้าหอหกเหลี่ยมทุกคน​
    เพื่อรวมพลังมิให้รุ่นพี่ที่บ้าอำนาจกดขี่ข่มแหงเราได้​
    เพื่อให้พวกเราได้พบกับบรรยากาศใน ม.ช ที่น่าอยู่น่าศึกษา​
    เพื่อให้พวกเราได้พ้นจากระบบอัปรีย์เหล่านั้น​
    เพื่อให้พวกเรามิต้องหวาดสะดุ้งต่อระบบถ่อยเถื่อนอีกต่อไป​
    เราทั้งหลายเป็นกำลัง ที่จะนำมาซึ่งสภาพใหม่อันน่าชื่นชม​

    อย่า ​ ​ เกรงกลัวต่อคำขู่ใดๆ ทั้งสิ้น​

    จากการค้นหาในเอกสารและบทความต่างๆ แทบจะไม่มีข้อมูลที่เกี่ยวกับแถลงการณ์ฉบับนี้โดยตรงแต่กล่าวได้ว่าในบริบทช่วงนั้นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คือ การถูกครอบงำโดยระบบโซตัส รุ่นพี่ควบคุมรุ่นน้อง เป็นระบบที่ควบคุมการคิดที่มีประสิทธิภาพ ทำให้นักศึกษาขาดความเป็นตัวของตัวเอง ไม่กล้าคิดทำอะไรใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตัวเองและสังคม เด็กปีหนึ่ง มช. โดยเฉพาะรุ่นเข้ามหาวิทยาลัยปี 2515 ได้ลุกขึ้นมาต่อต้านระบบโซตัสอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อนมากขึ้น​

    จากเหตุการณ์ในห้วงเวลานั้นทำให้นักศึกษาต้องหันกลับมาพิจารณาเรื่องของการรับน้องและระบบโซตัสอย่างจริงจัง จนนำไปสู่การเกิดกลุ่มพลังใหม่ๆ มากมาย​

    แม้ว่าหลังจากนั้นระบบโซตัสยังคงอบอวลอยู่ในมหาวิทยาลัยและสังคมไทยอยู่ แต่กระแสของการต่อต้านระบบโซตัสและวัฒนธรรมอำนาจก็ยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็เริ่มที่จะยกเลิกระบบโซตัสไปแล้วเช่นกัน​

    อ้างอิงจาก​
    -ประวัติชีวิต นิสิต จิรโสภณ – ปฎิทินประวัติศาสตร์สามัญชน ตีพิมพ์ในหนังสือไฟลามทุ่ง​
    -ภาพจาก Facebook ชัชวาล ปุญปัน https://www.facebook.com/photo/?fbid=1894695597379009&set=a.339481506233767​

    #Lanner

    Related

    ชิวๆ กับความไม่แน่นอน: อารมณ์สายมูกับระบอบเวลาที่ยืดหยุ่น

    เรื่อง: ณีรนุช แมลงภู่* ในยุคสมัยที่การดิ้นรนทำมาหากินเพื่อให้อยู่รอดภายใต้เศรษฐกิจที่ผันผวนและอากาศแบบละติจูดเดียวกับ ‘สวรรค์’ เป็นประสบการณ์สามัญของคนทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าทำไมเพื่อน ‘สายมู’ ของเราถึงยังมีเวลาไปกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระดังทั่วไทย สวมชุดขาวร่วมพิธีกกรรมเสริมแต้มบุญ...

    โทษทีพี่ ‘ติด’ งาน

    เรื่อง: การัณยภาส ภู่ยงยุทธ์*  คุณติดโซเชียลมีเดียหรือไม่ หากคำถามนี้เกิดขึ้นก่อนปี 2009 ซึ่งเป็นปีที่เฟซบุ๊กนำปุ่มกดถูกใจมาใช้งาน คนส่วนใหญ่จะตอบปฏิเสธ หรือไม่ก็บอกว่าตัวเองก็แค่ชอบเล่นโซเชียลมีเดีย แต่ไม่ถึงกับขั้น “เสพติด”...

    ชีวิตบนเส้นด้ายของเกษตรกรหลังบ้านอีอีซี

    เรื่อง: กัมปนาท เบ็ญจนาวี เกษตรกรหลังบ้านอีอีซีส่วนใหญ่ถูกจำกัดในการเข้าถึงทรัพยากรและอำนาจหลังการปิดล้อมใหม่ โดยเฉพาะการขาดการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงอำนาจในการมีส่วนร่วมกำหนดภูมิทัศน์การพัฒนาในท้องถิ่น ทำให้เกษตรกรมีเงื่อนไขที่จำกัดในการคาดเดาและกำหนดอนาคตของตนเอง จนนำไปสู่การก่อตัวขึ้นของสถานการณ์ความขัดแย้งและความแตกต่างทางสังคม มากกว่าจะเป็นผลลัพธ์ที่นำไปสู่การกระจายผลประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม...