เมษายน 23, 2024

    มานพ คีรีภูวดล ติงกรรมการสิทธิฯ ต้องมีบทบาทกรณีผู้หนีภัยสงครามชายแดนไทย-เมียนมา มากกว่านี้

    Share

    09/07/2022

    “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ต้องมีบทบาทกรณีผู้หนีภัยสงครามชายแดนไทย-เมียนมา มากกว่านี้ รวมทั้งบทบาทต่อปัญหาด้านสิทธิชุมชนและที่ดิน ชาติพันธุ์และคนไร้รัฐ”


    วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราชฎร บัญชีรายชื่อลำดับที่ 53 พรรคก้าวไกล เผยข้อเสนอแนะในกรณี ผู้ลี้ภัยสงครามในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ไว้ในเฟซบุ๊คแฟนเพจ Manop Keereepuwadol-มานพ คีรีภูวดล โดยได้กล่าวไว้ว่า
    “ในช่วงที่สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยกำลังวิกฤตในหลายๆ ด้าน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงถูกคาดหวังว่าจะช่วยปกป้องสิทธิสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครก็ตาม”


    นอกจากนี้ยังเสนอข้อเสนอแนะ 4 ข้อ ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่างการพิจารณาเพื่อรับทราบรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2564 โดยกล่าวถึงหัวข้อ และรายละเอียดต่างๆไว้ ดังนี้
    1.สิทธิชุมชนและที่ดิน – ขณะนี้มีคดีแห้งจำนวนมาก หมายถึงคดีที่ไม่มีการกระทำความผิด คนจับก็ไม่รู้ว่าเป็นที่ดินของใคร แต่เป็นคดีคาไว้ ถ้าไม่คลี่คลายความขัดแย้งเรื่องที่ทำกิน บันไดขั้นที่หนึ่งของการทำมาหากินเป็นไปไม่ได้ และจะซ้ำรอยคดีของบิลลี่ แก่งกระจาน นอกจากนี้ ยังมีโครงการปลูกป่าจำนวนมาก ซึ่งไปทับซ้อนในพื้นที่ที่ประชาชนทำเกษตร จึงมีความขัดแย้งกันและไปละเมิดสิทธิมนุษยชนของพี่น้องประชาชน


    2.ชาติพันธุ์ – สถานการณ์ตอนนี้ พ.ร.บ.ชนเผ่า ที่เสนอโดยสภาชนเผ่าพื้นเมืองได้บรรจุสภาแล้ว แต่ยังมีร่างฯ อื่นค้างอยู่ใน ครม. ต้องรอให้นายกฯ ตีความเพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน รวมถึงร่างของ ครม. ด้วย ควรเร่งให้เข้าสู่การพิจารณาของสภาโดยเร็ว เพื่อให้ปัญหาของพี่น้องชาติพันธุ์หลายกรณีนำไปสู่การแก้ไข เช่น กรณีที่ระนอง ชาวมอแกน ถูกบังคับใช้แรงงานไปอยู่ในเรือโดยไม่ได้รับค่าแรง เป็นสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนที่ไร้ทางสู้ และเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นทั่วภูมิภาค จึงต้องมีกลไกมาดูแลเพื่อให้สถานการณ์ยุติหรือเบาลง


    3.คนไร้รัฐ – สถานการณ์คนไร้รัฐ ซึ่งทำให้เด็กๆทุกคนที่ควรต้องได้รับการศึกษาไม่สามารถทำได้ เด็กเหล่านี้ถูกเรียกว่าเด็กตัว G การปฏิบัติต่อเด็กตัว G มีปัญหาในแง่ของใบรับรองสถานะ เด็กที่ไม่ปรากฏสถานะ แม้ว่าส่วนหนึ่งเป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศ แต่ไม่ว่าจะเป็นใคร เชื้อชาติอะไร ต้องได้รับการปกป้องและคุ้มครอง กรณีเช่นนี้คณะกรรมการสิทธิฯ มีหน้าที่ต้องประสานงานอย่างบูรณาการ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับกระทรวงมหาดไทย เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วน


    4.ผู้หนีตายจากสงครามในเมียนมา – พวกเขามีแต่เด็กสตรี คนเจ็บ ผู้สูงอายุ คนไม่มีทางสู้ ทั้งนั้น จึงอยากเห็นบทบาทของกรรมการสิทธิมนุษยชนต่อกรณีนี้ และต้องการเห็นท่าทีที่ชัดเจนจากทุกฝ่าย หลังมีเครื่องบินรบ มิก-29 จากกองทัพเมียนมาถล่มหมู่บ้านกะเหรี่ยงและรุกล้ำน่านฟ้าไทย ทำให้มีผู้อพยพหนีตายเข้าพื้นที่ไทย จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีแนวทางเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชน


    https://www.facebook.com/photo/?fbid=433044058835983&set=a.329045809235809


    #ผู้ลี้ภัย
    #สิทธิชุมชน
    #ชาติพันธุ์ก็คือคน
    #Lanner

    Related

    De Lampang: ลำปางลมหายใจเปื้อนฝุ่น ท่ามกลางควันไฟที่เผาไหม้ป่า

    เรื่อง: พินิจ ทองคำ เมษายนช่วงเวลาของการเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ลำปางถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีสถิติอุณหภูมิร้อนแรงติดอับดับต้น ๆ ของรัฐไทย จากการติดตามข่าวผ่านสื่อในรอบสัปดาห์ คำว่า “ลำปางร้อนมาก”...

    วิกฤติการณ์ฝุ่น PM2.5 ระยะยาวของชีวิต สภาะวะการตายผ่อนส่ง ของคนภาคเหนือ

    เรื่อง: จิณห์วรา ช่วยโชติ วิกฤตการณ์ทางสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในภาคเหนือนั้น ไม่ว่าจะปีไหน ๆ ทุกคนจะต้องได้รับรู้ มีเสียงหรือคำวิจารณ์จากคนในพื้นที่ที่ต้องประสบกับปัญหาฝุ่นพิษดังกล่าวโดยตรง พื้นที่ของข่าวมีการนำเสนอปัญหาและนโยบายจากรัฐบาล หรือภาพเจ้าหน้าที่รวมไปถึงอาสาสมัครที่ดมควัน...

    น้ำแม่ข่า คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข สุขของใคร? หรือสุขที่ฝันไว้ไม่เคยตรงปก? 

    เรื่อง: กองบรรณาธิการ “คลองแม่ข่า” หรือ “น้ำแม่ข่า” คลองที่มีความสำคัญและมีประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน ไล่ไปตั้งแต่เป็นหนึ่งในชัยภูมิ 7 ประการในการสร้างเมืองเชียงใหม่ ไปจนถึงการก้าวกระโดดเติบโตของเมืองเชียงใหม่ในช่วง...