พฤษภาคม 7, 2024

    ละคร ข่วง République โดย ลานยิ้มการละคร Lanyim Theatre​

    Share

    02/07/2022

    ผู้เขียนเองอาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ในการรับชมละครมากนัก แต่อยากลองเขียนในมิติที่ผู้เขียนรู้สึกและอยากส่งผ่าน ถ้าดูจากตัวเรื่องของละคร ข่วง République เป็นเหตุการณ์ตัดสลับที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่เกิดเหตุการณ์ ปฏิวัติสยามขึ้นโดย “คณะราษฎร” โดยเข้ามาเปลี่ยนแปลงอำนาจเก่า ที่ถูกปกครองโดยระบอบสมบูรณ์อาญาสิทธิราช ก่อนที่จะนำไปสู่ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ความสับสน ไปจนถึงความขัดแย้งระหว่าง Generation ของกลุ่มคนที่ยังรักในระบอบเก่า เเละผู้คนที่ใฝ่ฝันถึงประชาธิปไตย จนเป็นการถกเถียงที่ข้ามภพข้ามสมัยมาถึงปัจจุบันถึงระบอบการปกครองในไทยที่ไม่ลงตัวสักที​

    ข่วง République กำกับการแสดงโดย นลธวัช มะชัย เป็นการแสดงในรูปแบบ Movement and Text base performance โดยความคิดเบื้องหลังของละครชุดนี้คือวาระครบรอบ 90 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ที่ทางลานยิ้มอธิบายว่าตั้งแต่เมื่อ 90 ปีที่แล้ว มาจนถึงวันนี้ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน สังคมยังไม่ก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างที่ควรจะเป็น บรรยากาศที่ขมุกขมัวไปด้วยความสิ้นหวังในย่ำรุ่งอันยาวนาน ​

    ข่วง République มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น ในกระบวนการออกแบบละครเรื่องนี้ทางลานยิ้มการละครได้ออกแบบบทไว้เพียงแค่ส่วนหนึ่งเพื่อปูเรื่องในพาร์ทเริ่มต้น ก่อนที่จะมีการชวนในลักษณะ ”จดหมายลูกโซ่” ที่เชื้อชวนนักกิจกรรมทางสังคมที่สนใจมาร่วมแสดงและออกแบบบทให้ ข่วง République มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จนถึงสิ่งที่ ข่วง République พยายามจะสอดเเทรกให้คนดู ซึ่งไม่มีคำตอบตายตัวหรือชี้นำว่าคนดูจะต้องคิดไปในทิศทางไหน ใน 2 ช่วงเวลาทั้ง พ.ศ.2475 เเละ พ.ศ.2565 (อดีต-ปัจจุบัน) ที่แฝงไปด้วยการพูดถึงเรื่องการต่อสู้ของกลุ่มคนที่มีความคิดเเตกต่างกัน โดยส่วนตัวผู้เขียนมีโอกาสได้รับชมการเเสดงชุดนี้ถึง 3 รอบการแสดง ทั้งในโรงละครและในพื้นที่การชุมนุมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ณ ลานสามกษัตริย์​

    ข่วง République จะดูเพื่อความบันเทิงหรือจะนั่งดูไปตีความไปในทุกอริยาบทของละครก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้เขียนเองเป็นเเบบที่ 2 ด้วยตัวของการเเสดงเองที่พยายามใส่ Gimmick ต่าง ๆ ตั้งเเต่บทละครวิทยุในช่วงเเรก ที่เป็นบทสนทนาความขัดเเย้งทางความคิดระหว่างเเม่กับลูก หรือ บทสนทนาระหว่างสองนักเคลื่อนไหวที่กำลังจะไปม็อบที่ราชประสงค์ (ราษฎรประสงค์) นี่เป็นการผสมผสานเรื่องราวของยุคสมัยต่างๆ ที่เข้ากันเเบบเเปลก ๆ การเเสดงของนักเเสดงภายในเรื่องก็ถือว่าทำออกมาได้ดีมาก ๆ สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นนักเเสดงอาชีพ ​ มีการพูดถึงระบบการปกครองในหลาย ๆ แนวทาง โดยได้หยิบเอาส่วนนี้มาถกเถียงกันในเรื่องเเบบสด ๆ โดยปล่อยให้นักแสดงสามารถสอดแทรกบทสดได้ นี่เป็นการสาดใส่ข้อมูลใส่หน้าเรา ที่ไม่บอกคำตอบ​

    สุดท้ายถึงเเม้เรื่องราวภายในเรื่องจะเป็นการเล่าถึงการต่อสู้ของกลุ่มคนทั้งสองฝ่ายที่ผ่านมาเเล้วกว่า 90 ปี ถึงเเม้นจะผ่านมานาน เเต่ดูเหมือนไทยในวันนี้ก็ไม่ได้เเตกต่างจาก 90 ปีก่อนเลย เรายังถกเถียงกันในเรื่องเดิม เเละทุกครั้งที่มีการถกเถียงมักมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เสียงเบากว่าเสมอ​

    “ไม่แปลกใจที่คำว่า “เกลียด” ทำให้คนฆ่ากัน แต่แม่ไม่แปลกใจบ้างหรือ ว่าทำไมคำว่า “รัก” ถึงเป็นสาเหตุทำให้คนฆ่ากันได้? “​


    เรื่อง: ยอดเเยม​
    ภาพ: พลอยจันทร์​

    #Lanner

    Related

    ร้อยเรียงเรื่องเชียงแสน พลวัตการพลัดถิ่นฐานของผู้คนบนสายธารประวัติศาสตร์ สงครามและสนามรบ

    เรื่อง : นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง “เชียงแสน” เป็นชื่อบ้านนามเมืองแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันในหมู่ผู้คนทั่วไปว่าคือชื่อของอำเภอชายแดนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป....

    ก้าวไปข้างหน้า กับความไม่แน่นอนของปัญหาไฟป่า-หมอกควันจังหวัดเชียงใหม่

    เรื่อง : ชยา วรรธนะภูติ ไฟ ฝุ่นและมลพิษใน “อุตสาหกรรมนิยมยุคปลาย” นับตั้งแต่เมื่อสองร้อยกว่าปีที่แล้ว ด้วยอิทธิพลของการล่าอาณานิคม การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติการเกษตรในทวีปต่างๆ...

    ชิวๆ กับความไม่แน่นอน: อารมณ์สายมูกับระบอบเวลาที่ยืดหยุ่น

    เรื่อง: ณีรนุช แมลงภู่* ในยุคสมัยที่การดิ้นรนทำมาหากินเพื่อให้อยู่รอดภายใต้เศรษฐกิจที่ผันผวนและอากาศแบบละติจูดเดียวกับ ‘สวรรค์’ เป็นประสบการณ์สามัญของคนทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าทำไมเพื่อน ‘สายมู’ ของเราถึงยังมีเวลาไปกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระดังทั่วไทย สวมชุดขาวร่วมพิธีกกรรมเสริมแต้มบุญ...