พฤษภาคม 21, 2024

    “ปริญญาศักดินา”

    Share

    13/05/2022

    “ทั้งเท็นและนักศึกษาที่ทำกิจกรรมทั้งหมดอยู่ภายใต้บรรยากาศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ค่อนข้างจะปิดกั้นทางความคิด และไม่เปิดกว้างในด้านเสรีภาพในการแสดงออก ในความคิดเห็นผมคิดว่าการพูดถึงเรื่อง “ปริญญาศักดินา” ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นการพูดถึงใคร แต่เป็นการสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคม การเรียนการสอน ​

    และการที่คนคนหนึ่งจะจบไป เขาต้องอยู่ภายใต้ความคาดหวังของผู้คนว่าต้องมีใครมาให้ปริญญา ตัวบั้นปลายของการศึกษาเองถึงไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับความสามารถของนักศึกษา แต่เป็นตัวการันตีความเหลื่อมล้ำและความต่ำสูงของสังคม เพราะฉะนั้นสิ่งที่นักศึกษาพยายามจะวิพากษ์วิจารณ์จึงเน้นไปที่โครงสร้างที่แฝงอยู่ในสังคมนี้มากกว่า ​

    ผู้คนที่อยู่ในโครงสร้างประเภทนี้เองก็เขาเคยชิน เฉื่อยชา และเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากโครงสร้างเหล่านี้มาตลอด จึงไม่แปลกใจที่เขาจะรู้สึกเจ็บปวดหรือเป็นเดือดเป็นร้อนแทน ​
    จริงๆ แล้วสิ่งที่นักศึกษาวิพากษ์วิจารณ์คือเจตจำนงเสรีในการที่จะบอกว่า สิ่งที่เรียกว่าการศึกษาไม่ควรจำกัดอยู่แค่ schooling หรือการเรียนในโรงเรียน แต่ต้องรวมถึง education หรือการศึกษาที่อยู่รายล้อมชีวิตของพวกเรา ทุกอย่างๆ สามารถที่จะเป็นการศึกษาได้ นี่คือการเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้พิสูจน์ตัวเอง ​

    สอง ในเชิงคดีความเรื่องนี้จบไปแล้ว ตำรวจได้ทำการเปรียบเทียบปรับไปแล้ว และผมเป็นพยานให้นักศึกษาได้ เพราะว่าในวันที่เขาเปรียบเทียบปรับผมอยู่ในสถานีตำรวจด้วย ตำรวจเองเขาก็อยากที่จะให้เรื่องจบอย่างรวดเร็วและเป็นการไกล่เกลี่ยเจรจากัน ในวันนั้นผมจำได้ว่าตำรวจเองก็พยายามมีเหตุมีผลค่อนข้างมากและทำหน้าที่จบอย่างรวดเร็ว​

    สาม ผมคิดว่าวุฒิภาวะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในตอนนี้ค่อนข้างตกต่ำมาก เขาไม่มีความเป็นผู้ใหญ่ที่ดีพอ เราเห็นภาพชีวิตของนักศึกษาที่มีความคิดก้าวหน้า รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้า แต่ขณะเดียวกันโครงสร้างของมหาวิทยาลัยกลับเป็นโครงสร้างที่ล้าหลัง พร้อมฉุดเขาให้ถอยหลังตลอดเวลา มหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นสถานบันทางสังคมกลายเป็นสถานบันที่ฉุดรั้งผู้คนให้เสื่อมทรามลงเรื่อยๆ สปิริตของนักศึกษาที่ออกไปพูดเรื่องปริญญาศักดินาจึงกลายเป็นหัวใจสำคัญที่บอกว่ามหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยน​

    การกระทำของนักศึกษาในวันนั้นกรณีปริญญาศักดินา และการกระทำของนักศึกษาอีกหลาย ๆ คนคือการกอบกู้ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้สมสถานะสถาบันการศึกษาที่เปิดควรเปิดกว้างทางความคิดและมีเสรีภาพในการแสดงออก​

    สุดท้าย โดยส่วนตัวผมผิดหวังเล็กน้อยที่คณะวิจิตรศิลป์กลายเป็นห้องสอบสวน และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กลายเป็นเพียงแค่เบี้ยและหมากให้รัฐเผด็จการพยายามที่จะสั่งการลงมาตลอดเวลา ศักดิ์ศรีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และเกียรติภูมิทางวิชาการลดน้อยถอยลงไปทุกที นักศึกษาในวันนี้ต่างหากที่เขามากอบกู้ชื่อเสียงให้”​

    ความเห็นของศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ อาจารย์ประจำคณะวิจิตรศิลป์ ต่อกรณีทางผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์ตั้งกรรมการสอบวินัยนักศึกษาเท็น ยศสุนทร หลังทำกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ “ปริญญาศักดินา” ​

    ภาพ: วรรณา แต้มทอง​

    #lanner

    Related

    60 กว่าปีที่รอคอย ขบวนความหวัง รถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คุ้มไหมกับที่หวัง?

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน “เชียงรายจะมีรถไฟแล้ว” ประโยคขายฝันที่ฉันได้ยินตั้งแต่เด็กจนตอนนี้ใกล้จะเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังไม่เคยเห็นรถไฟที่ว่านั้นสักที ด้วยภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ยากลำบากต่อการก่อสร้างและความคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้เส้นทางรถไฟสายเหนือของไทยสิ้นสุดอยู่เพียงที่ชานชาลาเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน  จากทางรถไฟที่เฝ้ารอมาหลายสิบปี ผู้เฒ่าหลายคนล้มหายตายจากไปทั้งที่ยังไม่ได้เห็นแม้ร่องรอย คำบอกเล่าว่าทางรถไฟจะผ่านบ้านเราแล้ว ประโยคดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นจริง...

    ไกลศูนย์กลาง: กลับไปอ่าน “แก้วหยดเดียว” ของศรีดาวเรือง: การตั้งคำถามต่อการไม่มีสวัสดิการของแรงงานไทยเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีวันสำคัญของสามัญชนคนธรรมดาที่น้อยนักจะปรากฏได้ในปฏิทิน นั่นคือวันแรงงานสากล หรือเมย์เดย์ (May Day) ผู้เขียนจึงนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ได้ถ่ายทอดชีวิตและน้ำเสียงของแรงงานจากวรรณกรรม แม้ว่าวรรณกรรมชิ้นนี้จะเก่าไปสักหน่อย แต่ก็ยังคงนำพาให้ได้เห็นร่องรอยเคล้าลางบางอย่างที่แช่แข็งและไปไม่ถึงไหนจวบจนปัจจุบัน...

    “ฝันเราไม่เคยจนตรอก” เชียงใหม่ส่งพลังบอลเกงกิ สมัครเพื่อโหวต สว. เปลี่ยนอนาคตประเทศ

    19 พฤษภาคม 2567 เครือข่าย Senate67 จัดกิจกรรม สมัครเพื่อเปลี่ยน: จังหวะนี้มีแต่พี่ที่ทำได้ บริเวณประตูท่าแพ...