พฤษภาคม 19, 2024

    “มันมีประเด็นท้องถิ่นที่เราคิดว่าสามารถถูกทำให้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญในระดับชาติ แต่เป็นประเด็นที่ขึ้นมาจากท้องถิ่นได้ เช่น กระแสการพังทลายของประวัติศาสตร์จากส่วนกลาง หรือประวัติศาสตร์ที่ถูกส่วนกลางครอบงำ เราต้องผลักดันกันต่อให้มากและลึกซึ้งกว่านั้น

    Share

    11/05/2022

    ที่ผ่านมานอกกรุงเทพมันถูกจัดวางเหมือนเป็นข่าวต่างจังหวัด พอเป็นข่าวต่างจังหวัดมันก็จะรีบจบ ๆ แต่มันมีประเด็นอีกหลาย ๆ อย่างที่กำลังเกิดขึ้น เช่น การเกิดขึ้นของคนอีกรุ่นหนึ่งที่มีมูฟเมนต์การเคลื่อนไหว เราจะทำอย่างไรกันต่อ ​

    ที่ผ่านมามีการพูดถึงการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในกรุงเทพเยอะ อธิบายคาแร็กเตอร์ว่าการเคลื่อนไหวของคนในภาคเหนือมันเหมือนกันหรือเปล่า อย่างในคณะราษฎรแรก ๆ เราเห็นเด็กผู้หญิงมาวิ่งแฮมทาโร่ ในขณะที่เชียงใหม่เป็นแบบนั้นหรือเปล่า ลำพูนเป็นแบบนั้นหรือเปล่า ลูกหลานชนชั้นกลางเป็นส่วนใหญ่หรือเปล่า เขาอาจจะเป็นลูกหลานชาวบ้านก็ได้แต่ว่าเขาเผชิญปัญหาความยุ่งยากมาก ทำให้เขาต้องลุกขึ้นมาใช่หรือเปล่า พวกนี้มันยังไม่ถูกพูดถึง ถ้าเราพูดถึงเราจะเห็นสังคมที่มันกว้างขึ้นและลึกขึ้น”​

    — สมชาย ปรีชาศิลปกุล​
    ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่​

    ความเห็นจากการพูดคุยระหว่างกองบรรณาธิการ Lanner กับนักคิด นักวิชาการและศิลปินภาคเหนือ เมื่อเดือนเมษายน 2565 ​

    ภาพ: วรรณา แต้มทอง​

    #lanner

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...