เมษายน 29, 2024

    เชียงใหม่สับลาบไล่ ส.ว.​

    Share

    5 กันยายน 2565

    5 กันยายน 2565 กป.อพช.ภาคเหนือ และเครือข่ายได้ร่วมกันจัดกิจกรรม “ลาบ ส.ว. #ตัดอำนาจส.ว. #ปิดสวิตช์ ส.ว. ” ​ ณ บริเวณลานท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. ​

    17.00 น.กิจกรรมทำลาบเนื้อควายฉบับคนเหนือ เพื่อสื่อถึงการตัดอำนาจ สว.ออกจากสภา ก่อนวาระรัฐธรรมนูญมาตรา 272 เข้าสภา 6-7 ก.ย. นี้ ​ ในส่วนของเนื้อที่มักจะใช้ลาบประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนต้นขา และส่วนอก (นุ่มและติดมัน) ส่วนผสมประกอบด้วยดังนี้ ข่า ตะไคร้ ใบสาระแน ผักแผ้ว ต้นหอม ผักชี ​ พริกลาบ เครื่องใน เนื้อ ดี เลือด (ใช้เพื่อไม่ให้เนื้อที่ลาบติดเขียง) ​ ซึ่งมีดในการทำลาบจะต้องมีความคม​

    18.00 น. กป.อพช. ภาคเหนือและเครือข่ายฯ ได้กล่าวแถลงการณ์ ระบุว่า​

    “เนื่องด้วยวันที่ 6-7 กันยายน พ.ศ.2565 มีระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในประเด็นสำคัญ คือ การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ที่เสนอโดยการเข้าชื่อกันของประชาชน ซึ่งเป็นข้อเสนอให้ยกเลิกมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 หรือ การตัดอำนาจสมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการลงมติเลือกบุคคลให้เป็นนายกรัฐมนตรี เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคเหนือเล็งเห็นว่า อำนาจที่มากเป็น “พิเศษ” ของสมาชิกวุฒิสภาที่มีที่มาแบบ “พิเศษ” ​ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้รัฐสภาแห่งนี้ไม่ได้รับการเชื่อถือยอมรับ และทำให้รัฐบาลที่มาจากเสียงสนับสนุนของ สมาชิกวุฒิสภาขาดความชอบธรรม ขาดการยึดโยงกับประชาชน ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง​

    ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติทำรัฐประหารเมื่อปีพ.ศ. 2557 ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ไปไว้ในมือคนกลุ่มเดียว และยังไม่คืนอำนาจให้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ยังคงยึดกุมอำนาจไว้ ด้วยกลไกหลากหลายในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประกาศและคำสั่งของคสช. และองค์กรอีกมากมายที่ถูกแต่งตั้งขึ้น โดยเครื่องมือที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด ก็คืออำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีนี้เอง และกลไกที่จะคืนอำนาจ ให้ประชาชน ได้ที่สำคัญที่สุด ​ คือ “การจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่บริสุทธ์ โปร่งใส และเป็นธรรมโดยเร็ว” ซึ่งการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้านั้น จะไม่มีทางเป็นธรรมได้ และไม่มีทางที่จะได้รับการยอมรับ จากประชาชนได้ หากสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังคงมีอำนาจ “เหนือประชาชน” ที่จะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไป และรัฐบาลชุดต่อไป ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อ ยกเลิกอำนาจ พิเศษของสมาชิกวุฒิสภาจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น ที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน​

    เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคเหนือ จึงเห็นควรว่าให้ยกเลิกมาตรา 272 ตัดอำนาจ สว. โดยทันที เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชน กระจายความมั่งคั่งให้ประชาชน ประชาชนมีเสรีภาพ เสมอภาค ภารดรภาพร่วมกัน​

    5 กันยายน 2565​

    ย่ำค่ำ ณ ประตูท่าแพ เชียงใหม่”​

    องค์กรและเครือข่ายที่ร่วมลงนาม​

    1. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเหนือ​

    2. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN)​

    3. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น​

    4. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ(มพน.)​

    5. สำนักข่าว LANNER​

    6. มูลนิธิสื่อประชาธรรม​

    7. สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่​

    8. บ้านสวนดอก​

    9. ชมรมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่​

    10. ลำพูนปลดแอก​

    11. ชาติพันธุ์ปลดแอก​

    12. กลุ่ม R2S​

    13. Lanna Project​

    14. กลุ่มเฝ้าระวังอมก๋อย​

    15.พรรควิฬาร์​

    16. พิราบขาวเพื่อมวลชน​

    17. KNACK​

    18. NU- Movement ​

    19. ทะลุ มช.​

    20. สิทธิของคนพิการในการพัฒนาประชาธิปไตย​

    21. เครือข่ายชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองพรรคก้าวไกล​

    22. สหภาพแรงงานบาริสต้า เชียงใหม่​

    23. มูลนิธิบ้านสบาย ผอ.สนั่น วุฒิ​

    24. สถาบันการจัดการทางสังคม​

    25. เครือข่ายปฏิบัติการลดโลกร้อน Thai C-CAN​

    26. เครือข่ายทรัพยากรจังหวัดแพร่​

    27. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนโจ้โก้​

    เวลา 18.10 น. หลังจากที่แถลงการณ์เสร็จแล้วประชาชนที่มาร่วมงานได้รับประทานลาบร่วมกัน พร้อมกับข้าวเหนียวร้อนๆ และผักเครื่องเคียง​

    ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการแสดงดนตรีจากกลุ่มชุมชนนักกิจกรรม​

    “ด้วยความเชื่อมั่นว่าคนเท่ากัน”​

    ภาพ : ประชาไท

    #ตัดอำนาจสว ​ ​

    #ยกเลิกมาตรา272

    #คืนอำนาจให้ประชาชน

    Related

    Lanner Joy : การเดินทางของซุปเปอร์ฮีโร่ Healthtech สตาร์ทอัพสัญชาติเชียงใหม่ กับการรักษาโรคไมเกรนด้วยจิตวิญญาณนวัตกร

    เรื่องและภาพ: ศุภกานต์ วรินทร์ปราโมทย์ เมื่อเดินลัดเลาะเข้าไปในย่านศิริมังคลาจารย์ นอกจากคาเฟ่ในตรอกซอกซอยที่หลบซ่อนจากความวุ่นวายในโซนนิมมานฯ หากสังเกตดี ๆ ย่านแห่งนี้เป็นฐานทัพของบริษัทสตาร์ทอัพและเทคโนโลยีอยู่ไม่น้อย  ไม่น่าเชื่อว่าในพื้นที่เพียงไม่กี่ตารางกิโลเมตรในหัวมุมด้านทิศตะวันตกของคูเมืองเชียงใหม่ จะเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมทางสุขภาพที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตผู้คนมากมาย และในพื้นที่เล็ก...

    เปิดแคมเปญ ‘คนเหนือต้องได้ตรวจปอด’ ดันคนภาคเหนือ ต้องได้รับการคัดกรองมะเร็งปอด ตามระบบหลักประกันสุขภาพ

    สมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, และวาระเชียงใหม่ ขอเชิญทุกท่าน ร่วมลงชื่อ "ผลักดัน" ให้คนเหนือในพื้นที่เสี่ยงสูงจากผลกระทบปัญหาฝุ่นควัน ได้รับ "การคัดกรองมะเร็งปอด"...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือล่าง : เหนือล่างกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ภูมิภาคเหนือตอนล่างคือพื้นที่ระหว่างภาคกลาง (กล่าวโดยนัยคือกรุงเทพฯ) กับภาคเหนือ ภายใต้ประพัฒนาการของรัฐไทยที่เริ่มต้นในช่วงรัชการที่ 5 มาจนถึงตอนนี้ ภูมิภาคเหนือตอนล่างถูกละเลยไปจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ไปจนหาความต่อเนื่องได้ยาก...