พฤษภาคม 6, 2024

    Digital Rights = Human Rights สิทธิบนพื้นที่ออนไลน์คือสิทธิมนุษยชน

    Share

    22 พฤษภาคม 2566

    วันแรกของงานประชุมนานาชาติสิทธิดิจิทัลเอเชีย-แปซิฟิก (DRAPAC23) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม Uniserv CMU และหอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อหารือ ร่วมมือ และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ออนไลน์ การเสวนาในวันแรกนี้คือ Opening Building Knowledge on Digital Rights (เปิดการสร้างความรู้ด้านสิทธิดิจิทัล) 

    Phet Sayo, EngageMedia Executive Director กล่าวเปิดงาน

    Yin Maung, Engage Media กล่าวถึงเหตุผลในการจัด DRAPAC23 เพราะอยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทำให้การขับเคลื่อน Digital Rights นี้ดำเนินต่อไป และอยากกล่าวถึงหลายๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Digital Rights ไม่ว่าจะเป็นคนทำหนัง ทั้งจากประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย และทุกท่านที่มาร่วมงานในวันนี้ ทั้งผู้สนับสนุน อาสาสมัคร และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะถ้าไม่มีทุกคนก็คงไม่มี DRAPAC23

    Dr. Ora-orn Poocharoen, School of Public Policy at Chiang Mai University Founding Director

    ด้าน Dr. Ora-orn Poocharoen, School of Public Policy at Chiang Mai University Founding Director กล่าวว่า ได้มีการตระหนักถึงปัญหาที่มีความสำคัญในปัจจุบัน และรับรู้ถึงสัญญาณที่ดีในความร่วมมือของเราทุกคน ทั้งระดับประเทศและชุมชน เพราะเรากำลังอยู่ท่ามกลางความกลัวบนโลกใบนี้ และเป็นเรื่องสำคัญมากในการเล็งเห็นปัญหาในดิจิทัลแพลตฟอร์มที่กำลังริดรอนสิทธิของเรา

    Anna Maria Oltorp, Sida – Director, Regional Team for Asia อธิบายว่าสิทธิมนุษยชนและเทคโนโลยี หรือสิทธิขั้นพื้นฐานของดิจิทัล มีการเปลี่ยนแปลงไปในด้านที่ดี ถึงเวลาแล้วที่เราจะมีความปลอดภัย สร้างความเท่าเทียม และสามารถร่วมมือได้ทั่วภูมิภาค

    “เราต้องการผลักดันเรื่องอิสรภาพทางการพูดและการแสดงออก และสิ่งที่เกิดขึ้นในอินเตอร์เน็ตกำลังแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย เราจะนำเสนอความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือทางอินเตอร์เน็ตตลอดทั้งปี ทุกคนจะได้แลกเปลี่ยนสิทธิดิจิทัลในเอเชีย ทุกสาขาอาชีพจะได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคม เราสามารถร่วมสร้างหนทางในอนาคตจากการสร้างเทคโนโลยี ดึงดูดผู้คนมาร่วมกัน และสร้างผลลัพธ์ที่ดีกับทุกภาคส่วนได้”

    และ Michael Caster, ARTICLE 19 Asia Digital Programme Manager กล่าวขอบคุณ Engaged Media และ Partner ทุกภาคส่วน เพราะนี่คือพื้นที่นำเสนอประเด็นในการสนับสนุนการทำงานร่วมกัน

    “เรากำลังทำให้ภูมิภาคของเราตั้งรับกับความท้าทายที่จะเกิดในอนาคต นั่นคือดิจิทัลที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปมาก ความสามารถที่อยู่รอบตัวเรา และพื้นที่ตรงนี้กำลังได้รับผลกระทบและความกดดันต่าง ๆ จากระบบแพลตฟอร์ม เราต้องการเห็นทุกแพลตฟอร์มตอบสนองการยืนยันตัวตนต่อเรา ดูแลความเป็นส่วนตัว และป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ เราต้องรับมือกับอันตรายที่จะเกิดขึ้นในดิจิทัล ไม่ใช่แค่ระดับชาติแต่ต้องคำนึงถึงระดับโลก เพื่อนำไปสู่กฎเกณฑ์สากลที่เราสามารถใช้ร่วมกันทั่วโลก อาจจะมีแคมเปญต่าง ๆ ผ่านรัฐบาล เพื่อดูแลสิทธิมนุษยชนด้านดิจิทัลที่กำลังถูกรุกราน เราต้องกดดันในรัฐมองเห็นว่านี่คือปัญหาที่ต้องจัดการ และการรวมตัวในครั้งนี้คือการสร้างโอกาสและความร่วมมือที่ดีกับทุกคน” 

    โดยภายในงานยังมีการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ถึงหัวข้อ Digital Rights ร่วมกับผู้ร่วมอภิปรายสำคัญ 3 คน

    Pavitra Ramanujam, Asia Digital Rights Lead, Association for Progressive Communications

    คนแรกคือ Pavitra Ramanujam, Asia Digital Rights Lead, Association for Progressive Communications โดยเธอกล่าวว่า สิ่งที่เธออยากได้กลับไปในการเสวนาวันนี้ คือบริบทแต่ละประเทศ เช่น กฎหมายและความท้าทายในชีวิตประจำวัน ที่จะทำให้สามารถเข้าใจ ช่วยเหลือ และปกป้องสิทธิมนุษยชนของพวกเขาได้ เราต้องเข้าใจในสิทธิในการแสดงออก การมีหลายภาษา เชื้อชาติ สามารถเคารพความแตกต่างได้ และสามารถร่วมกันสร้างหลักเกณฑ์สากลออกมาได้

    Golda Benjamin, Asia-Pacific Campaigner, Access Now กล่าวว่า การปิดอินเตอร์เน็ต หรือตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า คือการพรากสิทธิมนุษยชนบางส่วนของเราไป เราถูกกดดันเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว รัฐบาลมองไม่เห็นความสำคัญของการแสดงออกทางความคิดทางการเมือง และในหลายพื้นที่ทั่วโลกก็ยังไม่เล็งเห็นความสำคัญของ Digital Rights เราจะผลักดันให้เกิดกฎหมาย กฎเกณฑ์ ให้เรานอนหลับสบาย และเกิดความเข้มแข็งขึ้นในชุมชน และสิ่งสำคัญคืออยากให้ทุกคนเริ่มจากการเคารพสิทธิของกันและกัน ไม่ว่าจะทั้งชีวิตจริงและในดิจิทัล เพราะการที่เราจะเดินไปข้างหน้าได้อต้องเริ่มจากการเคารพสิทธิของแต่ละคนก่อน

    และ Vino Lucero, Digital Rights Project Manager and DRAPAC Event Lead, Engage Media กล่าวว่า เขาอยากให้มีพื้นที่ในการพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในดิจิทัล และรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เรียนรู้ในบริบทและความหลากหลายของแต่ละประเทศ อีกประการสำคัญ คือเขาเห็นด้วยที่จะกำหนดขอบเขต Digital Rights เพื่อให้เรานำไปสู่การสร้างกฎเกณฑ์สากล เขาคิดว่าต้อง pushing back technology บริษัทต่าง ๆ ต้องทบทวนว่าสามารถทำอะไรบ้าง หรือมีองค์กร หรือสถาบันอะไรบ้างที่สามารถร่วมมือกันได้ ขณะนี้เรากำลังดีลกับปัญหาความไม่เท่าเทียม เรากำลังดูว่ารัฐทำอะไรบ้าง และเราได้เริ่มกลยุทธ์ต่าง ๆ ร่วมกับพันธมิตร แน่นอนว่าบางครั้งมันอาจจะไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ในทุกหน่วยงาน แต่เราจะหาทางออกเป็นกรณีในแต่ละประเทศ สิ่งที่เราต้องทำคือต้องทำร่วมกับพันธมิตรให้ได้จริง ๆ ในประเทศนั้น และเรียนรู้กันและกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไปในเรื่องของ Digital Rights

    “Digital Rights = Human Rights ถ้าเรามีชุมชนออนไลน์ที่เข้มแข็ง สามารถกระจายสิ่งเหล่านี้สู่ชุมชนได้จริง ๆ มันจะเป็นการใช้พื้นที่ออนไลน์ที่คุ้มค่า และสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนได้อย่างแท้จริง” Vino Lucero ทิ้งท้าย

    หากสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเสวนานี้เพื่อขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิดิจิทัล สามารถดูกำหนดการในภาษาไทยได้โดยการสร้างบัญชีบนเว็บไซต์ของงาน DRAPAC23 ที่  https://drapac.engagemedia.org/. ถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

    Related

    Lanner Joy : จากใจผู้สร้างสเปซศิลปะ SOME SPACE ที่อยากเห็นเด็กศิลป์รุ่นใหม่ทำงานที่รักได้โดยไม่ต้องย้ายไปเมืองอื่น

    เรื่องและภาพ: ศุภกานต์ วรินทร์ปราโมทย์ เป็นเวลานานแล้วที่ไม่ได้มาเยือนชุมชนควรค่าม้า ฐานทัพของ Addict Art Studio สตูดิโอที่ทำให้เทศกาลศิลปะชุมชนในเชียงใหม่กลายเป็นหมุดหมายประจำปีของใครหลายคน วันนี้เราได้กลับมาอีกครั้งเพื่อพบกับเพื่อนอีกคนหนึ่ง...

    นัดแสดงออกหน้าสถานกงศุลสหรัฐฯ เชียงใหม่ ร้องหยุดสนับสนุนสงครามในปาเลสไตน์

    4 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. เกิดการแสดงออกเรียกร้องเพื่อให้สหรัฐฯ ยุติการสนับสนุนการอิสราเอลทำสงครามในปาเลสไตน์ ณ...

    และนี่คือเสียงของ We are the 99% ฟังเสียง 6 แรงงานที่อยากเห็นคุณภาพชีวิตที่ดี

    เรื่อง: วิชชากร นวลฝั้น ภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว 1 พฤษภาคม ของทุกปีคือวันแรงงานสากล (International Workers’...