พฤษภาคม 20, 2024

    การกลับมาของ ‘ทักษิณ’ และการเมืองของประชาชนในรัฐบาลใหม่ ผ่านมุมมองของ ‘อรรถจักร์’

    Share

    วันนี้ (27 กรกฎาคม 2566) เฟซบุ๊คเพจ ศูนย์วิจัยฯ มหาวิทยาลัยหน้าบางแห่งหนึ่ง ได้โพสต์บทวิเคราะห์ของ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมุมมองต่อประเด็นการกลับมาของ ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นผลมาจากการตกลงกันระหว่างชนชั้นนำในสังคม ทักษิณ และแกนนำพรรคเพื่อไทย รวมไปถึงสถานการณ์การเมืองของประชาชนในรัฐบาลใหม่ ที่อาจเปลี่ยนแปลงเพื่อนร่วมอุดมการณ์ให้กลายเป็นศัตรูที่ต้องเผชิญหน้า โดยบทวิเคราะห์ดังกล่าวมีเนื้อหนาดังนี้


    ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    “การกลับมาของทักษิณเป็นผลมาจากการตกลงร่วมกันระหว่างชนชั้นนำในสังคมกับทักษิณและแกนนำพรรคเพื่อไทย การตกลงครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความตื่นตระหนกของชนชั้นนำพบว่ากระแสมวลชนที่หนุนพรรคก้าวไกลที่มีจำนวนประมาณสิบสี่ล้านคน หากเข้าไปประสานร่วมกับเสียงที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยก็เป็นจำนวนถึงยี่สิบสี่ล้านคน การปล่อยให้มวลชนยี่สิบสี่ล้านคนเข้ามาสู่พื้นที่การเมืองอย่างเสรีโดยสร้างปฏิบัติการณ์ทางการเมืองได้อย่างหลากหลายนั้นน่ากังวลอย่างยิ่ง ที่สำคัญก็คือ มีแนวโน้มว่ามวลชนของเพื่อไทยจะโอนเอนไปสู่กระแสของก้าวไกลมากขึ้น

    ขณะเดียวกัน ทักษิณและกลุ่มแกนนำพรรคเพื่อไทยก็ตกใจเช่นกันในปรากฏการดังกล่าว และหากปล่อยให้ดำเนินต่อไป พรรคเพื่อไทยที่ครั้งหนึ่งเป็นหัวใจของความเปลี่ยนแปลงก็จะสูญสิ้นพลังลงไป

    ดังนั้น การตกลงของกลุ่มชนชั้นนำกับทักษิณก็คือ จะต้องทำให้มวลชนยี่สิบสี่ล้านคน/เสียงนี้ไม่กลมเกลียวกันให้ได้ และถึงที่สุดแล้วต้องทำให้แตกแยกกัน เพื่อที่จะผลักไปให้ได้ไกลถึงกับให้เป็นศัตรูกันได้ก็ยิ่งดี เพราะการลดทอนพลังมหาศาลของมวลชนนี้ลงไปได้ย่อมเป็นผลดีต่อการจรรโลงโครงสร้างและสถานะอันสูงส่งของชนชั้นนำเดิม

    การกลับมาของทักษิณจึงสะดวกสบายในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าการรับโทษก็จะเป็นเพียงการจำกัดพื้นที่ คดีบางคดีก็จะตัดสินอย่างพอเหมาะกับเวลาว่าไม่ผิด (หลักฐานไม่พอ ฯลฯ) แต่ทักษิณจะต้องดำเนินการทุกอย่างเพื่อที่จะสลายความเข้มข้นของความสัมพันธ์ของมวลชนเพื่อไทยและก้าวไกลให้ได้ ซึ่งทักษิณและกลุ่มแกนนำเพื่อไทยเชื่อว่าทำได้

    การจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยเพื่อไทยก็จะเป็นไปได้โดยง่ายด้วยข้ออ้างว่าไม่เอาพรรคก้าวไกลร่วมรัฐบาลเพื่อให้สังคมไทย “เดินต่อไป” ได้ พรรคร่วมรัฐบาลเดิมก็จะเข้ามาร่วมเป็นส่วนใหญ่ มวลชนเพื่อไทยที่เคยเดือดดาลในช่วงก่อนหน้านี้ก็จะถูกลดอารมณ์ความรู้สึกลงไปเพราะทักษิณได้กลับมาแล้ว

    รัฐบาลใหม่ที่จะมาถึงก็จะเน้นการทำงานกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น “ประชานิยมแบบไม่มีการผลิตต่อเนื่อง” รวมไปถึงสวัสดิการต่าง ๆ ที่เป็นการขยายตัวด้านบริการของรัฐก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยเชื่อว่าจะเป็นการกล่อมประชาชนให้หลุดออกจากจินตนาการของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ขับเน้นโดยพรรคก้าวไกล

    การเมืองที่กำลังเกิดขึ้นจึงเป็นการเมืองเพื่อรักษาโครงสร้างที่ได้เปรียบของชนชั้นนำโดยแท้ การหันเหพลังของมวลชนจำนวนมหาศาลให้กลับกลายมาเป็น “ศัตรู” กัน ก็ยิ่งจะทำให้การจรรโลงความได้เปรียบทางชนชั้นดำเนินต่อไปได้อีกนาน

    การเมืองของประชาชนในรัฐบาลใหม่จึงยากลำบากมากขึ้น เพราะ “ศัตรู” เฉพาะหน้าที่จะเผชิญหน้าทันทีไม่ใช่กลุ่มทหารจำแลง กลุ่มบ้าคลั่งฝ่ายขวา หรือกลไกอำนาจรัฐ หากแต่เป็นกลุ่มที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเพื่อนร่วมทางเดินแห่งอุดมการณ์ร่วมกัน และกลุ่มเพื่อนที่เคยร่วมทางนี้ก็จะเปิดทางให้กลุ่มขวาบ้าคลั่งสำแดงเดชได้มากขึ้นอีกด้วย

    สภาวะความตึงเครียดทางสังคมจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป แต่แรงกดดันทั้งหมดจะตกมาที่มวลชนคนรุ่นใหม่ที่ปรารถนาจะแก้ไข/ปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจ กลุ่มคนรุ่นใหม่จะถูกกดดันให้มีพื้นที่น้อยลง ส่งเสียงได้ลำบากมากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้จะมีความยากลำบากของมวลชนคนรุ่นใหม่ในช่วงเวลาต่อไปนี้ แต่สายลมแห่งความเปลี่ยนแปลงที่ถูกทำให้แปรผันไปก็เป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นแน่ ๆ ในอนาคตย่อมจะเป็นพลังในการชักนำพลังประชาธิปไตยให้เดินหน้าต่อไปตามวิถีทางแห่งประวัติศาสตร์”

    Related

    60 กว่าปีที่รอคอย ขบวนความหวัง รถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คุ้มไหมกับที่หวัง?

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน “เชียงรายจะมีรถไฟแล้ว” ประโยคขายฝันที่ฉันได้ยินตั้งแต่เด็กจนตอนนี้ใกล้จะเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังไม่เคยเห็นรถไฟที่ว่านั้นสักที ด้วยภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ยากลำบากต่อการก่อสร้างและความคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้เส้นทางรถไฟสายเหนือของไทยสิ้นสุดอยู่เพียงที่ชานชาลาเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน  จากทางรถไฟที่เฝ้ารอมาหลายสิบปี ผู้เฒ่าหลายคนล้มหายตายจากไปทั้งที่ยังไม่ได้เห็นแม้ร่องรอย คำบอกเล่าว่าทางรถไฟจะผ่านบ้านเราแล้ว ประโยคดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นจริง...

    ไกลศูนย์กลาง: กลับไปอ่าน “แก้วหยดเดียว” ของศรีดาวเรือง: การตั้งคำถามต่อการไม่มีสวัสดิการของแรงงานไทยเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีวันสำคัญของสามัญชนคนธรรมดาที่น้อยนักจะปรากฏได้ในปฏิทิน นั่นคือวันแรงงานสากล หรือเมย์เดย์ (May Day) ผู้เขียนจึงนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ได้ถ่ายทอดชีวิตและน้ำเสียงของแรงงานจากวรรณกรรม แม้ว่าวรรณกรรมชิ้นนี้จะเก่าไปสักหน่อย แต่ก็ยังคงนำพาให้ได้เห็นร่องรอยเคล้าลางบางอย่างที่แช่แข็งและไปไม่ถึงไหนจวบจนปัจจุบัน...

    “ฝันเราไม่เคยจนตรอก” เชียงใหม่ส่งพลังบอลเกงกิ สมัครเพื่อโหวต สว. เปลี่ยนอนาคตประเทศ

    19 พฤษภาคม 2567 เครือข่าย Senate67 จัดกิจกรรม สมัครเพื่อเปลี่ยน: จังหวะนี้มีแต่พี่ที่ทำได้ บริเวณประตูท่าแพ...