พฤษภาคม 21, 2024

    ชุดประจำฉัน

    Share

    15/07/2022

    ผลงานและภาพถ่าย : ณัฐชยา ภักดี และ อาทิตย์ แก้วม่วง


    ณัฐชยา ภักดี และ อาทิตย์ แก้วม่วง เล่าเรื่องเสื้อผ้าของแรงงานข้ามชาติในฐานะที่เป็นหนึ่งในความสุขจากวันที่เหนื่อยล้า
    ​“หลังจากที่ได้มีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์พี่น้องไทยใหญ่ที่เป็นแรงงานข้ามชาติเราเองได้เห็นถึงวิถีชีวิตของพวกเขาและปัญหาภายในชีวิตประจำวันที่อาจจะคล้าย ๆ กับคนไทยส่วนใหญ่ที่ต้องหาเช้ากินค่ำและยังมีค่าแรงต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดและนอกจากนี้เราเองได้มีโอกาสเข้าไปถามสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของพี่ ๆ ในแคมป์คนงานด้วยนั่นก็คือเรื่องชุดตัวโปรดหรือความสุขของเขา ที่ทำให้พวกเขามีความสุขได้ในแต่ละวัน”


    “บางคนความสุขของพวกเขาก็คือการที่ได้กินของอร่อย บางคนความสุขของพวกเขาก็คือการที่ได้แต่งตัวใส่เสื้อผ้าสวย ๆ ซึ่งแต่ละคนก็มีสไตล์มีความชอบรสนิยมที่แตกต่างกันแต่สิ่งที่เหมือนกันนั่นก็คือสิ่งของที่สร้างความสุขให้พวกเขานั้นต้องแลกมาด้วยเงินตราเงินอันน้อยนิดแลกกับความสุขอันยิ่งใหญ่”


    “เราจึงสะท้อนภาพถ่ายออกมาถึงเรื่องการแต่งกายภายในแคมป์คนงานว่าพวกเขามีรสนิยมความชอบในด้านการแต่งกายเป็นบ้าง”


    “ค่าแรงอันน้อยนิดที่ได้จากการทำงานในแต่ละวันสามารถสร้างความสุขให้เขาได้อย่างไรบ้างผ่านชุดภาพถ่ายนี้ แล้วพวกเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลไทยจะมาจัดการเรื่องแรงงานข้ามชาติให้ถูกกฎหมายและก็เป็นธรรมกับพวกเขาให้ได้มากที่สุด ถึงแม้ใครจะบอกว่าเงินไม่สามารถสร้างความสุขได้แต่สำหรับบางคนเงินสามารถแลกเป็นความสุขได้ถึงแม้เงินนั้นจะน้อยหรือจะมากเราเลยให้ภาพถ่ายนี้สะท้อนอะไรออกมาผ่านสิ่งของที่แสดงถึงความสุขของพวกเขา”

    Story from 9 % ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านหลายแง่มุม ทั้งภาพถ่ายและงานเขียน ที่ชวนไปสำรวจเรื่องราวชีวิตของประชากร 9 %​

    นิทรรศการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ มูลนิธิเสมสิกขาลัย, เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชนภาคเหนือ, Lanna project และ In Chiang Mai จัดแสดงเมื่อวันที่ 21-22 มกราคม 2565 ณ ข่วงประตูท่าแพ เชียงใหม่​

    โดยผลงานภาพถ่ายและงานเขียนจากนิทรรศการนี้จะเผยแพร่อีกครั้งผ่าน Lanner ตั้งแต่วันที่ 11 – 19 กรกฎาคม 2565 ​



    #9%STORIES​
    #Lanner

    Related

    ‘เพ็ญสุภา’ ตั้งข้อสงสัยพบ ‘พระพุทธรูปริมโขง’ เสนอจับมือค้นคว้าอย่างจริงจัง

    จากกรณีที่มีการค้นพบพระพุทธรูปขนาดใหญ่และวัตถุโบราณหลายชิ้น บริเวณเกาะกลางดอนผึ้งคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตรงข้าม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่...

    60 กว่าปีที่รอคอย ขบวนความหวัง รถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คุ้มไหมกับที่หวัง?

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน “เชียงรายจะมีรถไฟแล้ว” ประโยคขายฝันที่ฉันได้ยินตั้งแต่เด็กจนตอนนี้ใกล้จะเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังไม่เคยเห็นรถไฟที่ว่านั้นสักที ด้วยภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ยากลำบากต่อการก่อสร้างและความคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้เส้นทางรถไฟสายเหนือของไทยสิ้นสุดอยู่เพียงที่ชานชาลาเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน  จากทางรถไฟที่เฝ้ารอมาหลายสิบปี ผู้เฒ่าหลายคนล้มหายตายจากไปทั้งที่ยังไม่ได้เห็นแม้ร่องรอย คำบอกเล่าว่าทางรถไฟจะผ่านบ้านเราแล้ว ประโยคดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นจริง...

    ไกลศูนย์กลาง: กลับไปอ่าน “แก้วหยดเดียว” ของศรีดาวเรือง: การตั้งคำถามต่อการไม่มีสวัสดิการของแรงงานไทยเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีวันสำคัญของสามัญชนคนธรรมดาที่น้อยนักจะปรากฏได้ในปฏิทิน นั่นคือวันแรงงานสากล หรือเมย์เดย์ (May Day) ผู้เขียนจึงนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ได้ถ่ายทอดชีวิตและน้ำเสียงของแรงงานจากวรรณกรรม แม้ว่าวรรณกรรมชิ้นนี้จะเก่าไปสักหน่อย แต่ก็ยังคงนำพาให้ได้เห็นร่องรอยเคล้าลางบางอย่างที่แช่แข็งและไปไม่ถึงไหนจวบจนปัจจุบัน...