เมษายน 29, 2024

    ชาวบ้านชุมชนข้าง มช. เข้ายื่นหนังสือถึง มช. และเทศบาลเชียงใหม่หวั่นน้ำท่วมอีกครั้ง เผยปีเดียวน้ำท่วม 5 รอบ

    Share

    29 กันยายน 2565

    28 ก.ย. 2565 เวลา 10.30 น. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นาย นลธวัช มะชัย ตัวแทนประชาชนชาวป่าห้าบน ชุมชนข้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ด้านประตูไผ่ล้อม) ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เนื่องจากการระบายน้ำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และเทศบาลนครเชียงใหม่ เข้ายื่นหนังสือต่อหน่วยงานทั้ง 2 แห่ง โดย นาย พิบูลย์ ญาติมิตรหนุน ผู้อำนวยการกองบริหารงานกองกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นตัวแทนออกมารับหนังสือ และได้ยื่นหนังสือที่สำนักปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่

    หลังจากยื่นหนังสือที่สำนักปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่เสร็จ ทางสำนักปลัดแนะนำให้ตัวแทนชุมชนเข้าไปปรึกษากับ นายวิสาขะ ปัญญาช่วย ผู้อำนวยการส่วนช่างสุขาภิบาล หลังจากพูดคุยและปรึกษาเสร็จได้ข้อสรุปว่าทางเทศบาลฯ เคยเสนอให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ทำประตูกั้นน้ำแล้ว แต่ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่สามารถทำได้ให้เหตุผลว่าทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีโครงการที่จะทำน้ำประปา ซึ่งในสถานการณ์เร่งด่วนที่สุดในตอนนี้ก่อนที่ “พายุโนรุ” จะมาในวันพรุ่งนี้ แนะนำให้ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สูบน้ำออกจากอ่างแก้วโดยใช้รถสูบน้ำของกรมชลประทานที่อยู่บริเวณนั้นเข้าไปสูบน้ำและจะประสานกับทางกรมชลประทานใหัเปิดประตูระบายน้ำให้ไวที่สุด โดย นายวิสาขะ ปัญญาช่วย แนะนำในระยะยาวว่า ให้ทางภาคประชาชน ภาครัฐ และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเวทีพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมต่อไป โดยในปีนี้ประชาชนในชุมชนป่าห้าบนถูกน้ำท่วมไปแล้วอย่างน้อย 5 ครั้ง

    ประชาชนชาวป่าห้าบน ได้ตั้งคำถามต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้

    1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีการดำเนินการและจัดสรรทรัพยากรน้ำที่รับมาจากดอยสุเทพ-ปุย ลงอ่างแก้วและอ่างตาดชมพูอย่างไร มีการผันน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำหลากหรือไม่ อย่างไร

    2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รับทราบถึงปัญหาน้ำท่วมชุมชนป่าห้าบนเนื่องจากการปล่อยน้ำจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่หรือไม่ อย่างไร

    3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐเช่น กรมชลประทาน และเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาน้ำท่วมชุมชนป่าห้าบนอย่างทันท่วงทีก่อนเกิดปัญหาน้ำท่วมส่งผลเดือดร้อนต่อชาวบ้านหรือไม่ อย่างไร

    ประเด็นที่ยื่นหนังสือให้ทางเทศบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้

    1. เทศบาลนครเชียงใหม่มีการดำเนินการและจัดสรรทรัพยากรน้ำในชุมชนป่าห้าบนหรือไม่ อย่างไร

    2. เทศบาลนครเชียงใหม่รับทราบถึงปัญหาน้ำท่วมชุมชนป่าห้าบนเนื่องจากการปล่อยน้ำจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่หรือไม่ อย่างไร

    3. เทศบาลนครเชียงใหม่ได้มีการนำเครื่องสูบน้ำตั้งอยู่หน้าอาคารโรงสูบน้ำห้วยแก้วนั้นได้มีการเปิดใช้งานในเหตการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาบ้างหรือไม่ เนื่องจากชาวบ้านสังเกตเห็นได้ว่ามีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีการท่วมของน้ำจริง แต่ไม่มีการเปิดเครื่องใช้งานจริงสักครั้งเดียว

    4. เทศบาลนครเชียงใหม่ได้มีการขุดลองคูคลองเพื่อรับมือหากเกิดเหตการณ์น้ำท่วมหรือไม่ อย่างไร

    5. เทศบาลนครเชียงใหม่มีการตั้งหน่วงงานหรือคณะกรรมการเพื่อประเมิณสถานการ์และเตือนภัยเกี่ยวกับน้ำที่กำลังจะหลากเข้ามาในชุมชนหรือไม่ อย่างไร

    6. เทศบาลนครเชียงใหม่ได้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐเช่น กรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดสรรทรัพยากรน้ำในจังหวัดเชียงใหม่ ​ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาน้ำท่วมชุมชนป่าห้าบนอย่างทันท่วงทีก่อนเกิดปัญหาน้ำท่วมส่งผลเดือดร้อนต่อชาวบ้านหรือไม่ อย่างไร

    7. เทศบาลนครเชียงใหม่จะมีการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสพภัยชาวชุมชนป่าห้าบนที่ผ่านมาและในอนาคตหรือไม่ อย่างไร

    ภาพ : ประชาไท

    Related

    Lanner Joy : การเดินทางของซุปเปอร์ฮีโร่ Healthtech สตาร์ทอัพสัญชาติเชียงใหม่ กับการรักษาโรคไมเกรนด้วยจิตวิญญาณนวัตกร

    เรื่องและภาพ: ศุภกานต์ วรินทร์ปราโมทย์ เมื่อเดินลัดเลาะเข้าไปในย่านศิริมังคลาจารย์ นอกจากคาเฟ่ในตรอกซอกซอยที่หลบซ่อนจากความวุ่นวายในโซนนิมมานฯ หากสังเกตดี ๆ ย่านแห่งนี้เป็นฐานทัพของบริษัทสตาร์ทอัพและเทคโนโลยีอยู่ไม่น้อย  ไม่น่าเชื่อว่าในพื้นที่เพียงไม่กี่ตารางกิโลเมตรในหัวมุมด้านทิศตะวันตกของคูเมืองเชียงใหม่ จะเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมทางสุขภาพที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตผู้คนมากมาย และในพื้นที่เล็ก...

    เปิดแคมเปญ ‘คนเหนือต้องได้ตรวจปอด’ ดันคนภาคเหนือ ต้องได้รับการคัดกรองมะเร็งปอด ตามระบบหลักประกันสุขภาพ

    สมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, และวาระเชียงใหม่ ขอเชิญทุกท่าน ร่วมลงชื่อ "ผลักดัน" ให้คนเหนือในพื้นที่เสี่ยงสูงจากผลกระทบปัญหาฝุ่นควัน ได้รับ "การคัดกรองมะเร็งปอด"...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือล่าง : เหนือล่างกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ภูมิภาคเหนือตอนล่างคือพื้นที่ระหว่างภาคกลาง (กล่าวโดยนัยคือกรุงเทพฯ) กับภาคเหนือ ภายใต้ประพัฒนาการของรัฐไทยที่เริ่มต้นในช่วงรัชการที่ 5 มาจนถึงตอนนี้ ภูมิภาคเหนือตอนล่างถูกละเลยไปจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ไปจนหาความต่อเนื่องได้ยาก...