พฤษภาคม 17, 2024

    “คุณค่าของคน คุณค่าของงาน” เนื่องในวันงานที่มีคุณค่า โดยรศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล

    Share

    12 ตุลาคม 2565

    “ระบบทุนนิยมทำให้เราต้องทำงานชิ้นเล็ก ๆ เราเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตที่ใหญ่มาก ทำให้คนกลายเป็นปัจจัยการผลิต เราไม่ได้อินกับงานที่เราทำ ภาวะความแปลกแยกระหว่างเรากับงาน เราไม่รู้ว่ามันสร้างความภูมิใจกับงานยังไง ภาวะแบบนี้ คำอธิบายแบบเดิมคือ เราจะถูกเอารัดเอาเปรียบ และจะทำให้เกิดความรู้สึกร่วม ๆ กัน ระบบการจ้างงานที่เป็นอยู่ตอนนี้มันไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรา ไม่ได้เห็นหัวเรา

    แบบเดิมแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในโรงงาน ทำให้เกิดสภาวะความรู้สึกร่วมกัน เกิดการรวมตัวกัน สหภาพแรงงานทำให้เกิดการยกระดับของค่าจ้าง สหภาพเรียกร้องให้เกิดมาตรฐานการจ้างงานให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง สวัสดิการ สหภาพจึงมีความสำคัญมาก รวมถึงกลไกในการต่อรอง เยียวยา

    แต่ปัจจุบันแรงงานอยู่โรงงานยังมีอยู่ ดูได้จากแรงงานในแคมป์ก่อสร้าง ภาคการเกษตร เราจะเห็นอยู่ แต่แรงงานเพื่อนบ้านอาจจะจัดว่าเป็นกลุ่มที่มีสถานการณ์ที่รุนแรง เป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับสังคมไทย ในจังหวัดเชียงใหม่มีแรงงานเกือบแสนคนก่อนโควิด-19 แต่ช่วงปลายศตวรรษ 20 ต้นจนถึง ศตวรรษ 21 แรงงานอยู่นอกโรงงาน เกิดความปรับเปลี่ยนในความสัมพันธ์ในการจ้างงาน เช่น ยืดหยุ่น หรือตามยุทธศาสตร์ ไม่ใช่เฉพาะในภาคเอกชน แต่ในหน่วยงานรัฐก็มีการจ้างงานแบบนี้เกิดขึ้นเยอะมาก

    วันนี้เรามาพูดถึงงานที่มีคุณค่า แต่โลกปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับ Precarious Work หรืองานที่ไม่มั่นคง ทำให้เกิดการทบทวน ตรวจสอบ การนิยามความหมายของงานและความสัมพันธ์ของมนุษย์

    เมื่อท้องถนนกลายเป็นโรงงาน โรงงานมันครอบชีวิตของเรา มันไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีนายจ้าง แต่นายจ้างมันมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนขึ้น ยกตัวอย่างอาชีพไรเดอร์ การเรียกลูกจ้างว่า partner ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเท่า ๆ กัน แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่

    เวลาถามเรื่องคุณค่าของงานหรือคุณค่าของคน เราต้องพิจารณาปัจจัยดังนี้

    1. ควรพูดถึงคุณค่าของงานต้องถูกมองจากคนทำงานด้วย ต้องกลับมาคิดว่าคนทำงานมองเรื่องนี้อย่างไร

    2. การสร้างเครือข่ายคนทำงาน การรวมกลุ่มและแนวร่วมแบบใหม่ เราต้องออกแบบหน้าตาของ “สหภาพแรงงาน” ใหม่ที่สอดคล้องกันในแต่ละกลุ่ม

    3. ​ “แรงงานคือแรงงาน” มายาคติในปัจจุบันมีความหลากหลายมาก เราไม่ควรแบ่งแยก แยกย่อยของแรงงาน ทำให้เราไกลจากกันและลดอำนาจการต่อรองลง

    4. “แรงงานคือมนุษย์” แรงงานไม่ใช่แค่คนทำงาน แต่การจ้างงานต้องสัมพันธ์กับชีวิตระยะยาว ระบบสวัสดิการหลังวัยทำงาน การยอมรับให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้น ๆ ระบบ ”บำนาญประชาชน” ต้องได้รับการผลักดันในเรื่องนี้”

    ส่วนหนึ่งจากปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “คุณค่าของคน คุณค่าของงาน” เนื่องในวันงานที่มีคุณค่า โดยรศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล

    คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมฮอลิเดย์การ์เด้น จังหวัดเชียงใหม่

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...