พฤษภาคม 17, 2024

    เสวนา วลัญชทัศน์ : คลื่นประชาธิปไตยก่อนถึง 14 ตุลา

    Share

    ​13 ตุลาคม 2565

    12 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.30 น. คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ “วลัญชทัศน์ : คลื่นประชาธิปไตยก่อนถึง 14 ตุลา” ณ ห้องสืบค้น อาคาร 50 ปี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา

    ​ ​ 1.รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุกัณศีล อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    ​ ​ 2.ชีรชัย มฤคพิทักษ์ ​ อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนักศึกษาภาคเหนือ (2516-2517) และอดีตรองเลขาธิการฝ่ายการเมืองยังศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2517-2518)

    รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุกัณศีล เล่าถึงกลุ่มวลัญชทัศน์ว่า “กลุ่มวลัญชทัศน์ เดิมทีเนี่ยไม่มีชื่อกลุ่ม แต่ได้ชื่อกลุ่มมาจากหนังสือชื่อ วลัญชทัศน์ เป็นหนังสือที่ขายเล่มละ 1 บาท เป็นหนังสือที่วิพากษ์วิจารณ์เผด็จการทหาร มีการแปลหนังสือภาษาต่างประเทศลง งานเขียนส่วนใหญ่เป็นของอาจารย์โดยนักศึกษาแทบไม่มีงานเขียน โดยเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือวลัญชทัศน์ เล่มที่ 2 กล่าวว่า “กองทัพต้องเดินด้วยท้อง แต่ท้องที่ทำให้ กองทัพ เดิน กลับมิใช่ท้องของข้าทหารทั้งปวง หากเป็นของ ขุนทหารเพียงไม่กี่นาย” “ในที่นี้ ท้อง เห็นจะกินความเพียง พุง ที่ยื่นล้ำออกมาจนมองไม่เห็นหัวแม่เท้า และเป็นพุงที่เลี้ยงไว้ด้วยอามิสอันเป็นผลได้ของอำนาจที่ฉกฉวยเอามาจากผู้คนผู้ปราศจากอาวุธ” จากเนื้อหาและรูปที่มุ่งโจมตีไปที่ จอมพลประภาส จารุเสถียร 1 ใน 3 ทรราชที่มีอำนาจอย่างมากในช่วงเวลานั้น ทำให้หนังสือเล่มที่ 2 นั้นถูกยึดโดยคณาจารย์ผู้บริหารมหาวิทยาลัย”

    ก่อนที่จะเล่าถึง วลัญชทัศน์ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุกัณศีล ได้เล่าถึงสถานการณ์โลกและในประเทศ ณ ช่วงเวลานั้น ว่า “สถานการณ์โลกในช่วงนั้น โลกอยู่ในภาวะของสงครามเย็น สงครามเวียดนาม จึงเกิดขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามและขบวนการหนุ่มสาว (บุปผาชน) ในช่วงปี 2510 และเกิดแนวคิดและขบวนการฝ่ายซ้ายขึ้นในประเทศโลกที่สาม จีน คิวบา ขบวนการนักศึกษาเกิดขึ้นจึงเริ่มไปศึกษาแนวคิดฝ่ายซ้าย ส่วนสถานการณ์ในประเทศนั้น 3 ทรราช เผด็จการทหารมีอำนาจอย่างมากในการปกครองประเทศ เกิดการฉ้อฉลเป็นอย่างมาก มีการใช้อำนาจต่อนักศึกษาอยู่ตลอดๆ เช่น ไล่ออก (นิสิต จิรโสภณก็โดนไล่ออกเพราะเหตุนี้) เกิดการต่อต้านคอมมิวนิสต์ (ภัยแดง) การต่อต้านอเมริกา (ภัยขาว) การต่อต้านญี่ปุ่น (ภัยเหลือง) และการต่อต้านทหาร (ภัยเขียว) จึงเกิดการตื่นตัวของนักศึกษา เกิดเป็นกลุ่มต่างๆ พระจันทร์เสี้ยว วรรณศิลป์ สภาหน้าโดม เล็บ วลัญชทัศน์ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลา

    หลังจากเล่าถึงสถานการณ์โลกและในประเทศเสร็จ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา จึงเล่าถึงกลุ่มวลัญชทัศน์ “กลุ่มวลัญชทัศน์เป็นกลุ่มนักศึกษาหลากหลายคณะ เริ่มรวมตัวกันในปี 2510 – 2516 ส่วนใหญ่ อยู่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีความรู้สึกแปลกแยก ต่อต้านชีวิต,การเรียนมหาวิทยาลัยและการเมือง และสมาชิกส่วนใหญ่มีลักษณะพิเศษคือ 5 ย. (ผมยาว กางเกงยีน สะพายย่าม เสื้อยืด รองเท้ายาง) ซึ่งเป็นลักษณะการต่อต้านหน่อยๆ จับกลุ่มกันอ่านหนังสือพูดคุยกัน ทำกิจกรรม (นิทรรศการ เสวนา การอภิปราย ละคร การรณรงค์ ชมรมพัฒนาชนบท ฟังเพลงต่อต้านสงคราม เพลงเพื่อชีวิต เพลงโฟร์คซองคำเมือง) และสร้างเครือข่ายข้ามมหาวิทยาลัย โดยการทำงานนั้นเป็นการทำงานแบบกลุ่มเล็กๆ แต่เน้นพบปะกันบ่อย”

    โดยได้เล่าถึงบริบทในมหาวิทยาลัยในช่วงนั้นว่า “เป็นช่วงปีที่มีความครุกรุ่นของสงครามเย็นและการเกิดขึ้นของ 3 ทรราช ปี 2513 มีนักศึกษา 185,000 คน จากประชากรทั้งหมด 27,000,000 คน คิดเป็นสัดส่วน 0.7% โดยห่วงเวลานั้นกระแสและการต่อต้านระบบรับน้องรับน้องเริ่มก่อตัวและบรรยากาศสาบลมแสงแดด แหล่งข้อมูลจำกัด ไม่มีมือถือ ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มี Social media”

    จากนั้น ชีรชัย มฤคพิทักษ์ ได้เล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กลุ่มวลัญชทัศน์ ว่า “กลุ่มวลัญชทัศน์เป็นหัวเชื้อของกลุ่มนักศึกษาหัวก้าวหน้า เริ่มรวมกลุ่มกันจริงจังช่วงปี 2513 -2516 หัวเรือใหญ่ คือ นิสิต จิรโสภน และ สถาพร ศรีสัจจัง (เข้าเรียนปี 2511) มีสมาชิกกลุ่มประมาณ 10 คน ซึ่งกลุ่มวลัญชทัศน์นั้นโดนกีดกันไม่ได้รับการต้อนรับเพราะกิจกรรมที่จัดในขณะนั้นถูกมองว่าเป็นพวกว้ายจัดจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ‘แนวร่วมนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่’ ไปวุ่นวายภายในมหาวิทยาลัย เช่น กินเหล้า เมา ไปฉี่ที่ศาลาธรรม , จัดนิทรรศการอินโดจีนเพื่อเปิดโปงและต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกาที่ศาลาธรรม แต่มีกลุ่มนักศึกษาจากคณะเกษตรศาสตร์ มาเผาทำลายนิทรรศการ (เป็นการคุกคามครั้งแรกและครั้งเดียวก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม) , ​ ปล่อยข่าวลวงว่ามีการวางระเบิดในงานบอลของมหาวิทยาลัย จึงไม่ได้รับการต้อนรับอีกครั้ง จึงเปลี่ยนเป็น ‘พรรคประชาธรรม’เป็นพรรคสโมสรนักศึกษาส่งสมัครนายกในทุกคณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และได้รับเลือกทุกคณะและสร้างผลงานได้ดีและลดความก้าวร้าวลงจึงได้รับการต้อนรับของนักศึกษาอีกครั้ง โดยในปี 2516 จาตุรนต์ ฉายแสง เป็นนายกสโมสรคนสุดท้ายของพรรค”

    ชีรชัย ได้กล่าวถึงบริบทภายนอกเพิ่มเติมว่า “มีสามสิ่งที่นักศึกษาในยุคนั้นต้องเผชิญ 1.เผด็จการทหารปกครองมาแล้วกว่า 10 ปี 2.จักรวรรดินิยมอเมริกาขยายตัวเข้ามาในคาบสมุทรอินโดจีนเพื่อต่อต้านการขยายตัวของ Communist หลังจากการปฏิวัติในประเทศจีน 3.พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจับปืนเข้าป่าในปี 2508 (วันเสียงปืนแตก) และบริบทในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในยุคนั้นเป็นยุคสายลมแสงแดด ยุคแห่งความบันเทิงเริงรำ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐชอบเพราะห่างเหินจากการเมือง”

    หลังจากนั้น ได้เล่าถึงสถาบันการศึกษาที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับวลัญชทัศน์ ที่มีอุดมการณ์ร่วมคือ 1.สภาหน้าโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนหนังสือ ‘ภัยขาว’ ที่เปิดโปงและต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา 2.Sotus ใหม่จุฬาฯ 3.เกษตรศาสตร์บางเขน/สภากาแฟเกษตร เขียนหนังสือภัยเหลืองวิพากษ์วิจารณ์การรุกรานทางเศรษฐกิจของจักรวรรดิญี่ปุ่น 4.รามคำแหงชมรมคนรุ่นใหม่ โดย กลุ่มวลัญชทัศน์ นั้นได้พิมพ์หนังสือ ‘ภัยเขียว’ เป็นหนังสือที่มีความแหลมคมทางเนื้อหามากที่สุดใน 3 เล่ม เป็นการเปิดหน้าชนกับเผด็จการโดยตรงไม่อ้อมค้อม และกลุ่มวลัญชทัศน์นั้นเป็นกลุ่มเดียวที่เคลื่อนไหวอยู่ในภูมิภาค โดยการเคลื่อนไหวในยุคก่อน 14 ตุลานั้นไม่มีการสื่อสารกัน เป็นการเคลื่อนไหวแบบกลุ่มยังไม่ได้เป็นเครือข่ายหรือเป็นขบวนการ

    สุดท้ายเป็นช่วงถามตอบจากผู้เข้าร่วมว่า กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มเกษตรชาวนามีบทบาทการทำงานร่วมกันยังไงบ้าง

    ชีรชัยกล่าวตอบคำถามว่า ขบวนการนักศึกษาในช่วงนั้นไม่ได้เป็นขบวนการเดียวกันเป็นกลุ่มย่อมๆ เท่านั้น ซึ่งขบวนการนักศึกษาเกิดขึ้นต้นปี 16 ตอนนั้นกลุ่มวลัญชทัศน์ ไม่มีแล้ว กลุ่มเกษตรภาคเหนือนั้นมีแค่ ชาวนาจากเชียงใหม่และลำพูนเท่านั้นที่เคลื่อนไหว มีประเด็นเดือดร้อนคือการขูดรีดค่าเช่านาจากนายทุน มีประโยคที่ชาวนาเรียกกันว่า “ยะนาผ่ากึง” คือชาวนาเช่านา 1 ไร่ ได้ข้าว 100 ถัง นายทุนเอาไป 50 ถัง ซึ่งตระกูลเจ้าราชบุตรเป็นตระกูลใหญ่ที่มีที่นาจำนวนมาก

    และคำถามสุดท้ายคือ การที่นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หยิบยกประเด็นของวลัญชทัศน์มาพูด อะไรที่เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้น ?

    รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา กล่าวว่า ทุกสังคมมีคนหนุ่มสาวตลอด ในปัจจุบัน Network Monarchy มีความผูกพันธ์กันไปหมด ครอบคลุมและหนาแน่นเป็นอย่างมาก ซึ่งข้อมูลข่าวสารก็มีมากตาม แถมยังเข้าถึงง่าย เยอะและกว้างขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก ซึ่งความเป็น วลัญชทัศน์ นั้นเป็นช่วงเวลาสั้นๆแต่มันกระจายแตกหน่ออ่อนไปได้อย่างมาก ต่างจังหวัดเขาทำกันไหม ? เป็นคำถามที่นักศึกษาต้องการหาคำตอบ ซึ่งไม่ได้เป็นการโหยหาอดีตแต่เป็นการหาจุดกำเนิดเพื่อศึกษาและเรียนรู้

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...