พฤษภาคม 20, 2024

    ไพโรจน์ โชติศรีพันธ์พร ผู้เดินทางตามอุดมการณ์จนถึงวินาทีสุดท้ายของชีวิต

    Share

    ข่าวเศร้าจากกรณีที่ ไพโรจน์ โชติศรีพันธ์พร หมดสติไประหว่างร่วมเดินยื่นหยุดขังของกลุ่มทะลุฟ้า เพื่อยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหาทางการเมืองที่ควรได้รับสิทธิตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายเฉียบพลันเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา

    เพื่อประกาศนามของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยกว่า 20 ปีของไพโรจน์ เราจึงเรียบเรียงเนื้อราวส่วนหนึ่งเพื่อย้ำเตือนกันว่าทุก ๆ ความเคลื่อนไหว ล้วนมีชีวิตและลมหายใจ ดำรงอยู่

    ไพโรจน์ โชติศรีพันธ์พร พื้นเพเป็นคนจังหวัดพิจิตร แต่เข้ามาทำธุรกิจ และอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ โดยไพโรจน์นั้นมีความสนใจเรื่องการเมืองอย่างเข้มข้น เข้าร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาตลอด ตั้งแต่สมัยกลุ่มคนเสื้อแดงจนถึงขบวนการของคนรุ่นใหม่ตั้งแต่ปี 2563 จวบจนปัจจุบัน แม้ช่วงที่ผ่านมาจะเป็นช่วงที่การเคลื่อนไหวแผ่วเบาลงไปบ้าง แต่ไพโรจน์ก็ยังคงมีร่วมกิจกรรมอยู่บ่อยครั้ง

    ไพโรจน์เป็นคนจิตใจดี มักจะคอยถามไถ่เด็ก ๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวอยู่บ่อย ๆ ว่าต้องการให้ตนช่วยสนับสนุนอะไรได้บ้าง หลายครั้งที่ไพโรจน์นำอาหารมาแจกจ่ายผู้คนที่มาร่วมการชุมนุม จนหลายคน ๆ คุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี

    ไพโรจน์ มีโรคประจำตัวคืออาการปวดหลัง รวมไปถึงโรคหัวใจ และสถานการณ์ในช่วงเวลาที่ ”ตะวัน” และ “แบม” อดอาหารประท้วงในเรือนจำ รวมไปถึงการยื่นข้อเสนอทั้ง 3 ข้อเรียกร้อง ไพโรจน์ก็ไม่รอช้าที่จะก้าวออกมาส่งเสียงแสดงออก

    วันที่ 29 ม.ค. 2566 ลุงไพโรจน์ก็ได้ร่วมขบวนเดินเท้าจากรัชโยธินถึงศาลอาญา เพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้นักโทษการเมือง ผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่า ลุงไพโรจน์เกิดอาการเป็นลม หมดสติ ล้มศีรษะฟาดพื้นหน้าศาลอาญา โดยมีความพยายามปฐมพยาบาลเบื้องต้นและเร่งส่งโรงพยาบาล ก่อนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน

    “เพื่อนอีกคนหนึ่งของลุงไพโรจน์เล่าว่าในวันนั้น ลุงไพโรจน์เดินทางมาด้วยรถไฟฟ้า MRT ลงที่สถานีลาดพร้าวก่อนจะเดินมาที่ศาลอาญา จนอาจจะทำให้มีอาการเหนื่อย จึงนั่งพักคุยกับตนที่ป้ายรถเมล์ โดยลุงไพโรจน์บอกข่าวว่าอาการปวดหลังที่เรื้อรังมาตลอดนั้นหายแล้ว แต่ว่าตอนนี้เจอโรคใหม่แทน นั่นคือโรคหัวใจ”

    ถึงแม้ลุงไพโรจน์จะทราบถึงอาการป่วยไข้ของตนเองอย่างดีก็ตาม แต่ด้วยไฟแห่งอุดมการณ์ที่ยังสุมอยู่ในใจ ไม่แปลกใจทึ่ลุงไพโรจน์ตัดสินใจเดิมตามเส้นทางแห่งความฝันจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต

    โดยวันนี้ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 16.00 น. จะมีพิธีฌาปนกิจ ณ วัดตะพานหิน ต.ตะพานหิน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร

    เรียบเรียงและอ้างอิงจากคุยกับแก๊งเพื่อน ‘ลุงไพโรจน์’: เขาคือใคร และเกิดอะไรขึ้น

    https://prachatai.com/journal/2023/01/102532?mibextid=Zxz2cZ

    -https://www.facebook.com/100001089986492/posts/pfbid0tHkvNFenHXwFq7TmLFhgP5Cy1ceVwEMPSrCCDS8udykWb5cgrw4hJCdKeexsYVLPl/?mibextid=cr9u03

    Related

    ไกลศูนย์กลาง: กลับไปอ่าน “แก้วหยดเดียว” ของศรีดาวเรือง: การตั้งคำถามต่อการไม่มีสวัสดิการของแรงงานไทยเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีวันสำคัญของสามัญชนคนธรรมดาที่น้อยนักจะปรากฏได้ในปฏิทิน นั่นคือวันแรงงานสากล หรือเมย์เดย์ (May Day) ผู้เขียนจึงนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ได้ถ่ายทอดชีวิตและน้ำเสียงของแรงงานจากวรรณกรรม แม้ว่าวรรณกรรมชิ้นนี้จะเก่าไปสักหน่อย แต่ก็ยังคงนำพาให้ได้เห็นร่องรอยเคล้าลางบางอย่างที่แช่แข็งและไปไม่ถึงไหนจวบจนปัจจุบัน...

    “ฝันเราไม่เคยจนตรอก” เชียงใหม่ส่งพลังบอลเกงกิ สมัครเพื่อโหวต สว. เปลี่ยนอนาคตประเทศ

    19 พฤษภาคม 2567 เครือข่าย Senate67 จัดกิจกรรม สมัครเพื่อเปลี่ยน: จังหวะนี้มีแต่พี่ที่ทำได้ บริเวณประตูท่าแพ...