พฤษภาคม 15, 2024

    ‘ลำลองเฟส’ ผุดพื้นที่สร้างสรรค์กลางเมืองลำปาง ชูพื้นที่สาธารณะของทุกคน

    Share

    9 มกราคม 2566

    เรื่องและภาพ : พินิจ ทองคำ

    ลำลอง – LamLong จัดกิจกรรม “ลำลอง เฟสติวัล LamLong Festival” ณ ห้าแยกหอนาฬิกาลำปาง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 7 – 8 มกราคม 2566

    ภาพ : พินิจ ทองคำ

    “ลำลอง” ถือเป็นพื้นที่ของนักทดลองที่ต้องการทดลองในสิ่งที่ไม่เคยทำ เรียนรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในลำปาง เปิดโลกทัศน์ของมุมมองใหม่ที่มีต่อเมืองลำปาง สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ มาในรูปแบบของเทศกาลเฟสติวัลที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรม อาทิ การ Workshop การทำตุงเทศกาล, การปักผ้า (Embroidery), Create Your Public Space โดยการทำ Linocut Printing หรือกิจกรรมเวทีเสวนาในหัวข้อ “ลองสูงวัยในเมืองสูงอายุ” “แรงบันดาลใจเมือง” ทั้งยังมีการแสดงจากกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ เช่น การร้องเพลง, การเต้นประกอบเพลง และอื่น ๆ ภายในงานยังมีบูธจำหน่ายสินค้าทำมือจากกลุ่มประชาชนคนลำปาง


    “ส่วนตัวเรามาอยู่ลำปางได้ประมาณครึ่งปี ก่อนหน้านี้ลำปางเป็นเมืองเงียบ พอเกิดกิจกรรมแบบนี้ทำให้เมืองดูมีความคึกคัก ผู้คนได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกัน สามารถเข้ามาใช้งานในพื้นที่สาธารณะได้ เมื่อวานเรามาร่วมเปิด Workshop ด้วย ชวนคนออกมาพิมพ์ผ้า ชวนคุยเรื่องพื้นที่สาธารณะที่เป็นการปลดล็อกทำให้พื้นที่สาธารณะใช้งานได้จริง คนที่มาร่วมงานนี้เป็นกลุ่มคนหลายรูปแบบ แต่ละกลุ่มมีการสะท้อนแง่มุมที่หลากหลาย พื้นที่สาธาณะจึงต้องการเป็นจุดศูนย์รวมบุคคลอย่างแท้จริง” ผู้เข้าร่วม Workshop เล่าสะท้อนภาพของกิจกรรมนี้


    ด้านผู้เข้าร่วมกิจกรรมลำลอง เล่าว่า “เป็นเรื่องดีที่มีพื้นที่สาธารณะที่ให้ทุกคนมาแสดงศักยภาพของตัวเอง  มาร่วมพูดคุยกับคนแปลกหน้า ทำให้บรรยากาศของเมืองไม่เงียบเหงา ทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ในพื้นที่ เนื่องจากมีพ่อค้าแม่ค้ามาขายสินค้า มีการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในพื้นที่ ลำปางไม่ควรเป็นเมืองเงียบ”

    Related

    สำรวจความนิยมการใช้ ‘รถแดงเชียงใหม่’ ผ่านงานวิจัย

    เรื่อง : วิชชากร นวลฝั้น ถือเป็นอีกเรื่องร้อนแรงในโซเชียลมีเดียเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสข้อความตัดพ้อว่ารถตุ๊กตุ๊กและรถแดงในจังหวัดเชียงใหม่ที่ใกล้ถึงทางตัน เมื่อ 11 พฤษภาคม...

    ประณามศาล-รัฐ เพิกเฉย ก่อการล้านนาใหม่แถลงการจากไป ‘บุ้ง เนติพร’

    14 พฤษภาคม 2567 คณะก่อการล้านนาใหม่ - NEO LANNA ร่วมกับ กลุ่มนิติซ้าย...

    มองศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์พะเยา (ตอนจบ) ของกิ๋นพะเยา ไประดับโลกได้ไหม

    เรื่อง: กมลชนก เรือนคำ ชุดบทความนี้อยู่ภายใต้โครงการจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้วยพันธกิจที่ 4 ของมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่นของชุมชนวัฒนธรรมระเบียงกว๊านพะเยา อ่าน เมดอินพะเยา: มองศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์พะเยา (ตอน...