พฤษภาคม 18, 2024

    กรีนพีซปล่อยแถลงการณ์ จี้รัฐต้องประกาศพื้นที่ประสบฝุ่นพิษเป็น ‘เขตภัยพิบัติ’ ทันที

    Share

    เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา กรีนพีซประเทศไทยได้เผยแพร่แถลงการณ์ ดันข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลรักษาการ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาฝุ่นควันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะฝุ่นพิษข้ามพรมแดนอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่ส่งผลให้ประชาชนในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ต้องประสบกับผลกระทบทางสุขภาพ รวมถึงอาการหายใจติดขัด แสบตา เจ็บคอ บ้างมีอาการเลือดกำเดาไหล และไอเป็นเลือด จากการรับสัมผัสฝุ่นพิษในระดับที่เป็นอันตรายจนกลายเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ส่งผลอย่างร้ายแรงต่อสังคมในวงกว้างและต้องมีมาตรการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยเร่งด่วน

    โดยข้อเรียกร้องที่กรีนพีซประเทศไทยเสนอต่อรัฐมนตรีและรัฐบาลรักษาการมีดังนี้

    • เพื่อให้สอดคล้องกับการเตือนภัยของศูนย์อุตุนิยมวิทยาเฉพาะทางแห่งอาเซียน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีรักษาการณ์สามารถใช้กลไกทางกฎหมายที่มีอยู่ ต้องประกาศเขตภัยพิบัติในพื้นที่ที่มีผลกระทบจากฝุ่นพิษในระดับที่เข้มข้นต่อเนื่องกันอย่างน้อย 5 วันขึ้นไป โดยใช้เกณฑ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่มากกว่า 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงภายใต้มาตรฐานคุณภาพอากาศ PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไปที่จะมีการบังคับใช้ภายในเดือนมิถุนายน 2566 ตามที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา [3]
    • ใช้กลไกทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ให้ภาคอุตสาหกรรมเกษตรโดยเฉพาะผู้เล่นรายใหญ่มีความโปร่งใสและภาระรับผิด (accountability) ตลอดห่วงโซ่อุปทานของการทำลายป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ(commodity-driven deforestation) โดยมีระบบตรวจสอบย้อนกลับการรับซื้อสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการเผาทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมถึงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ บริษัทอุตสาหกรรมเกษตรจะต้องรับภาระความเสียหายรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการบำบัด เยียวยา และฟื้นฟูคุณภาพอากาศ สุขอนามัยและความเสียทางเศรษฐกิจ หากสินค้าเกษตรที่จะนำเข้าหรือส่งออกเกี่ยวข้องกับการเผา และการทำลายสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่อุปทาน [4] แทนที่จะผลักภาระทั้งหมดไปยังเกษตรกรที่อยู่ทั้งในระบบและนอกระบบเกษตรพันธะสัญญา
    • ยุติโครงการเหมืองถ่านหินและโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศทุกโครงการ และยุติการสนับสนุนการลงทุนหรือความเกี่ยวข้องใดๆ ของโครงการเหมืองถ่านหินและโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้าน เหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นพิษ PM2.5 และปรอทซึ่งเป็นหนึ่งในมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนด้วย [5]

    สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมของแถลงการณ์ได้ที่

    https://www.greenpeace.org/thailand/press/26931/food-agriculture-pr-critical-transboundary-haze-northern-thailand/?fbclid=IwAR1l8z54RdROfuWXiaLks3F61O_jkemKIJT1Mm2r3MzEbeP4hIb4MkU88c8

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...