พฤษภาคม 8, 2024

    RedPoetry การต่อสู้ที่ยังไม่จบสิ้น ?

    Share


    เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีกิจกรรมรับชมภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘RedPoetry’ รอบปฐมทัศน์ โดยหมายิ้มสตูดิโอ ณ สวนอัญญา เฮือนครูองุ่น มาลิก จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากการรับชมภาพยนตร์ ยังมีการจัดแสดงดนตรีสด และ Performance art โดยลานยิ้มการละคร ต่อด้วยการสนทนาในหัวข้อ “ยังมีจิตใจจะใฝ่ฝัน” ผู้ร่วมสนทนาโดย ดร.ภาสกร อินทุมาร สาขาวิชาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พชร คำชำนาญ นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และผู้ชวนสนทนาโดย วัชลาวลี คำบุญเรือง

    RedPoetry คือภาพยนตร์สารคดีที่นำเสนอเรื่องราวของรามิล นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ต่อสู้และเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพ โดยการใช้บทกวีและ Performance Art จนถูกต้องโทษทางคดีความมากมาย ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ศุภโมกข์ ศิลารักษ์​ คนทำหนังอิสระ ทำให้เป็นการผสมผสานระหว่างการนำเสนอแบบภาพยนตร์และ Performance Art สนธนาหัวข้อ

    “ยังมีจิตใจจะใฝ่ฝัน”


    ภาสกรเสนอว่า ในการทำความเข้าใจPerformance art ที่ต้องอาศัยการใช้องค์ประกอบรอบ ๆ ในการแสดงนั้น ไม่สามารถจะนิยามออกมาให้เข้าใจตรงกันได้ ซึ่งอำนาจการตีความนั้นอยู่ที่ผู้ชม แต่ความน่าสนใจคือ การที่สามารถนำไปใช้กับการเคลื่อนไหวเพื่อการสื่อสาร เพราะ Performance art นั้นมีความแตกต่างจาก Performing art ตรงที่ Performance art สามารถที่จะตีความได้กว้างมากกว่า 

    ภาสกรยังกล่าวเสริมอีกว่า จำเป็นที่จะต้องสร้าง Narrative ชุดใหม่ ขอยกตัวอย่างเมื่อ 20 ปีก่อนผมเคยทำเรื่อง HIV ที่เป็นการเคลื่อนไหวแบบเรื่องราวชุดใหม่ เพื่อต่อต้านความคิดเห็นแบบกลางผ่านการจัดนิทรรศการ ซึ่งเป็นการใช้ศิลปะในการต่อสู้


    พชรยังเสริมต่อจากประเด็นภาสกรอีกว่า Social Media ก็ยังมีส่วนช่วยในการสร้าง  Narrative ชุดใหม่เช่นกัน จากที่ผมได้ทำงานประเด็นชาติพันธุ์ ได้มีการดัน Hashtag ขึ้นมา อย่าง #Saveบางกลอย ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากในการทำให้ประเด็นของเรานั้นกว้างขึ้น

    พชรกล่าวว่า กิจกรรมเหล่านี้มันมีมาตลอด ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของงาน ไม่ว่าจะเป็นละครเวทีหรือเป็นภาพยนตร์สั้น มันก็มีมาตลอดในระยะหนึ่ง แต่บางทีมันก็หายไปในช่วงรัฐประหาร

    พชรแสดงความคิดเห็นหลังจากภาพยนตร์ว่า อำนาจบางรัฐอะไรบางอย่างได้ผลักให้ให้เราไปอยู่ชายขอบ เพื่อที่จะถูกตีตราและถูกกระทำความรุนแรงโดยรัฐ


    คนในยุคผมผ่านความรุนแรงและสภาวะการต่อเผด็จการอย่างเข้มข้น ในปัจจุบันก็ยังเห็นว่ามันยังมีผู้ที่ถูกกดขี่อย่างหนัก ทำให้ตั้งคำถามว่า เราจะอยู่ในสังคมอย่างนี้จริง ๆ เหรอ ซึ่งคนรุ่นใหม่ที่ออกมาเราไม่ได้คิดแค่กับตัวเอง แต่เราคิดว่าคนเท่ากันทำให้เราสามารถก้าวเข้าไปต่อสู้กับทุกปัญหา ท่ามกลางความอยุติธรรม

    พชรยังเสนออีกว่า การทำงานกับผู้คนในพื้นที่มันมีความท้าทายสูงมาก เนื่องจากที่เราไปทำงานทุกเรื่องมันเชื่อมโยงกัน เป็นโครงสร้างที่หลีกเลี่ยงประเด็นทางการเมืองไม่ได้ อาทิ กฎหมายอุทยานที่เกิดในช่วงสงครามเย็น ทำให้เราพยายามที่จะทำงานกับคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ และเครือข่ายอีกหลากหลายเครือข่าย เพื่อที่จะทำให้ประเด็นของเราไปได้กว้าง ท้าทายมัน และกล้าที่จะนำเสนอมัน

    Related

    ไม่ได้ร้องขอ หากแต่มาเพื่อบอกกล่าว ‘บุญร่มไทร’ คนจนเมืองริมทางรถไฟ ความเจริญที่ข้ามผ่านคนริมขอบ   

    เรื่อง : ปภาวิน พุทธวรรณะ ช่วงสายของวันธรรมดาทั่วไปในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทุกอย่างดำเนินไปตามครรลองอย่างที่มันควรจะเป็น รถไฟขบวนมหาชน หมายที่ 371 ได้ชะลอความเร็วเพื่อหยุดรับผู้คนเดินทางกลับบ้านสู่ภาคตะวันออก...

    ร้อยเรียงเรื่องเชียงแสน พลวัตการพลัดถิ่นฐานของผู้คนบนสายธารประวัติศาสตร์ สงครามและสนามรบ

    เรื่อง : นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง “เชียงแสน” เป็นชื่อบ้านนามเมืองแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันในหมู่ผู้คนทั่วไปว่าคือชื่อของอำเภอชายแดนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป....

    ก้าวไปข้างหน้า กับความไม่แน่นอนของปัญหาไฟป่า-หมอกควันจังหวัดเชียงใหม่

    เรื่อง : ชยา วรรธนะภูติ ไฟ ฝุ่นและมลพิษใน “อุตสาหกรรมนิยมยุคปลาย” นับตั้งแต่เมื่อสองร้อยกว่าปีที่แล้ว ด้วยอิทธิพลของการล่าอาณานิคม การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติการเกษตรในทวีปต่างๆ...