เมษายน 18, 2024

    Rocket Media Lab ชวนสำรวจสัดส่วนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของภาคเหนือและจำนวนที่นั่งของส.ส.

    Share

    จากการประกาศการแบ่งเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี 2566 ของ กกต. พบว่า กกต. นำเอาข้อมูลจำนวนประชากรที่นำมาใช้ในการคำนวณจำนวน ส.ส. รายเขต ทั้ง 400 เขต โดยนำมาจากประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานทะเบียนราษฎร เมื่อ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งมีจำนวนประชากร 66,090,475 คน

    ทาง Rocket Media Lab มีการสำรวจสัดส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรายภาค และรายจังหวัด จำแนกตามช่วงอายุ รวมถึงย้อนดูว่า ส.ส.เขต ที่ได้รับเลือกตั้งเมื่อปี 2562 มาจากพรรคใดกันบ้าง และเลือกตั้ง 66 รอบนี้ มีที่นั่งกี่ที่สำหรับบรรดาพรรคการเมือง

    ภาคเหนือ จากจำนวนประชากรที่ กกต. นำมาใช้ในการคำนวณจำนวน ส.ส. รายเขต 400 เขต เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง โดยจำแนกรายภาคพบว่า ภาคเหนือ มีจำนวนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้ง 4,926,427 คน

    ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 330,760 คน คิดเป็นร้อยละ 6.71 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

    ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58 ปีขึ้นไป จำนวน 1,613,639 คน คิดเป็นร้อยละ 32.75 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

    เมื่อจำแนกตามเจเนอเรชั่น ซึ่งจำแนกตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา พบว่า

    เจเนอเรชั่น Z ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 18-25 ปี มี 556,794 คน คิดเป็นร้อยละ 11.30 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

    เจเนอเรชั่น Y ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 26-41 ปี มี 1,352,921 คน คิดเป็นร้อยละ 27.46 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

    เจเนอเรชั่น X ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 42-57 ปี มี 1,403,073คน คิดเป็นร้อยละ 28.48 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

    Boomers ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58-76 ปี มี 1,369,777 คน คิดเป็นร้อยละ 27.80 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

    Silent ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 77 ปีขึ้นไป มี 243,862 คน คิดเป็นร้อยละ 4.95 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

    เมื่อเปรียบเทียบในภาคเหนือ จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 10.32 อันดับ 2 เชียงใหม่ ร้อยละ 7.16 อันดับ 3 เชียงราย ร้อยละ 7.15 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

    จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ (58 ปีขึ้นไป) ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ลำปาง ร้อยละ 35.58 อันดับ 2 ลำพูน ร้อยละ 35.44 อันดับ 3 แพร่ 35.09 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

    จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเจเนอเรชั่น Z ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 เชียงราย ร้อยละ 11.95 อันดับ 2 เชียงใหม่ ร้อยละ 11.79 อันดับ 3อุตรดิตถ์ ร้อยละ 11.68 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

    จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Y ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 33.51 อันดับ 2 เชียงใหม่ ร้อยละ 28.79 อันดับ 3 เชียงราย ร้อยละ 27.97 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

    จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเจเนอเรชั่น X ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 อุตรดิตถ์ ร้อยละ 30.92 อันดับ 2 น่าน ร้อยละ 29.67 อันดับ 3 พะเยา ร้อยละ 29.52 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

    จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Boomers ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ลำพูน ร้อยละ 30.24 อันดับ 2 ลำปาง ร้อยละ 29.99 อันดับ 3 แพร่ ร้อยละ 29.69 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

    จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Silent ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 อุตรดิตถ์ ร้อยละ 5.75 อันดับ 2 ลำปาง ร้อยละ 5.58 อันดับ 3 แพร่ ร้อยละ 5.4 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

    ในการเลือกตั้งปี 2562 ภาคเหนือมี ส.ส. เขตรวม 33 คน พรรคที่ได้จำนวน ส.ส.มากที่สุดคือ เพื่อไทย 26 คน อันดับ 2 อนาคตใหม่ 4 คน อันดับ 3 พลังประชารัฐ 4 คน

    สำหรับการเลือกตั้งในปี 2566 ภาคเหนือมีจำนวน ส.ส. เขตรวม 39 คน

    โดยสามารถดูข้อมูลของภาคอื่นๆได้ที่ https://rocketmedialab.co/election-66-3/?fbclid=IwAR1-hcJfK0aIaEG0f-2Gr2-NkedTv0ik4vKcqY1n353ocXLYBkbF-ujXk3I

    Related

    จากบ่อน้ำบำบัดความกระหายจนถึงดินแดนเสรีภาพทุกตารางนิ้ว: ประชาธิปไตยจะงอกงามอย่างไรในรั้วมหาวิทยาลัยไทย

    เรื่อง: อติรุจ ดือเระ /Activist Journalist “ต่อไปนี้นักศึกษาจะจัดกิจกรรมชุมนุมรวมกลุ่มกัน จะต้องได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยก่อนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขอีกสารพัด นี่หรือมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสถาบันทางวิชาการ แม้แต่การรวมตัวยังต้องขออนุญาต...

    ลืมเวียง มาหลงดง ที่บ้านปงห้วยลาน

    วิดีโอและเรื่อง: ศุภวิชญ์ สุทธิ, ขวัญเพชร กันฟัก /Activist Journalist บ้านปงห้วยลานที่ทุกคนรู้จัก เป็นอย่างไร? หากพูดถึงแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ก็เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงามทั้งภูเขา...

    บวชเรียน  ทางเลือกที่อยากจะมีชีวิตที่ดีกว่านี้

    เรื่อง: ศักรินทร์ สุยแก้ว /Activist Journalist สถานการณ์ความยากจน ของประเทศไทย ยังเป็นหนึ่งปัญหาสำคัญที่ยังไม่สามารถแก้ไขให้เสร็จสิ้น แม้ว่ารัฐบาลและหลายหน่วยงานจะพยายามระดมสรรพกำลังลงไปแก้ปัญหา พร้อมทั้งหาแนวทางช่วยเหลือผ่านนโยบายหลายอย่าง แต่ท้ายที่สุดก็ยังพบจำนวนในประเทศอีกจำนวนมาก ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการดูแล และยังคงเพิ่มจำนวนคนจนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เยาวชนไทยบางกลุ่มไม่ได้รับโอกาสทางด้านการศึกษา เนื่องจากฐานะของครอบครัวยากจน และสิ่งที่เกิดใหม่ในยุคปัจจุบัน คือ เด็กไม่ชอบระบบการเรียนการสอน และรูปแบบการเรียนการสอนที่ตายตัว อรรถพล สังขวาสี...