พฤษภาคม 17, 2024

    ‘​PATANI COLONIAL TERRITORY’​ สิทธิ​ ความทรงจำ​ และความยุติธรรม​ ในภาวะอาณานิคม

    Share

    เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์​ 2566 มีการจัดกิจกรรมร่วมเล่นบอร์ด​เกมและฟังเสวนาในหัวข้อ​ ‘สิทธิ​ ความทรงจำ​ และความยุติธรรม​ ในภาวะอาณานิคมผ่านการเล่นกระดานเกม​ PATANI COLONIAL TERRITORY’​ ณ​ ห้อง LB1401  มหาวิทยาลัย​เชียงใหม่​ เวลา​ 13.00 -​ 16.00 น.​ จัดโดย​ กลุ่มนิติซ้าย​ -​ Law​ of​ Left ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย​ อารีฟีน โสะ คณะทำงานกลุ่ม Chachiluk Boardgame, รศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์​ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,​ ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดร.ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



    โดยมีจุดประสงค์เพื่อตั้งคำถามกับ Board Game ว่าทำไมเจ้าหน้าที่ถึงเข้ามาและถกเถียงระหว่างประเด็นประวัติศาสตร์ปาตานีและประวัติศาสตร์สยาม กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมครั้งก่อน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 แต่ไม่ได้จัด เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามากดดันจนต้องยกเลิกไป ซึ่งเป็นประเด็นจาก ‘การ์ดเจาะเอ็นร้อยหวาย’ ว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่มีความจริงและเป็นเพียงเรื่องเล่า

    ศรยุทธได้เสนอมุมมองจากกิจกรรมในครั้งก่อนที่ได้จัดไปนั้น ทีมผู้จัดประสบความสำเร็จอย่างมาก ที่ทำให้หน่วยความมั่นคงหยิบงานวิจัยเรื่องเอ็นร้อยหวายที่ไม่เป็นที่รู้จักมากขึ้นมาตอบโต้ จุดนี้ทำให้เห็นว่างานวิจัยจะมีพลังมากขึ้น เมื่อมีเหตุการณ์มากระทบ

    ขวัญชนกเสนอว่าความน่าสนใจของคนมลายูในพื้นที่คือ วัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับศาสนาที่ผูกกับวิถีชีวิต ซึ่งจุดที่น่าสังเกตคือ รัฐไทยไม่ได้มีการบัญญัติให้ศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ แต่มีกฎหมายว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นพุทธมามกะเท่านั้น ทำให้เป็นประเด็นให้คนมลายูไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในสังคมและทำให้เรื่องเล่าของตนไม่ได้ไปคู่กับประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งก่อให้เกิดรอยแยกที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มต่อสู้เพื่อประวัติศาสตร์ จนเกิดข้อเรียกร้องว่า ทำอย่างไรจึงจะเกิดการถกเถียง ซึ่งเกมนี้ก็เป็นอีกหนึ่งการถกเถียง 

    กระบวนการทางประวัติศาสตร์และความทรงจำ

    ศรยุทธตั้งข้อสงสัยว่า กระบวนการค้นหาความรู้ทางประวัติศาสตร์ มีผลกระทบกับความทรงจำของชาวบ้านหรือไม่ ซึ่งผมคิดว่าความทรงจำนั้นไม่ได้มีความหมายว่ามันถูกหรือผิด ชีวิตมนุษย์มีความสามารถในการเลือกที่จะจดจำเหตุการณ์ได้ ดังนั้นการใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์กับความความทรงจำเป็นคนละเรื่องกัน

    ศรยุทธเสนออีกว่าหากมองความทรงจำจะเห็นว่ามันคือ วิธีการจัดการอดีตที่ไม่สามารถจัดการประวัติศาสตร์ของตนได้ ซึ่งเนื้อของการเล่ามันคือการเปิดพื้นที่ให้คนได้เล่าเพิ่ม แต่ปัญหาคือเราจะเล่ามันอย่างไรได้บ้าง เอ็นร้อยหวายไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แต่เป็นข้อเท็จจริงในความทรงจำของผู้คน

    ขวัญชนกเสนอว่า ความทรงจำคือกระบวนการที่สามารถเลือกที่จะจดจำได้และสามารถกำหนดทางเลือกชีวิตเราได้ ฉะนั้นความทรงจำเลยมีความสำคัญจนรัฐต้องออกมาห้ามและกำกับ โดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการให้ก่อเกิดความขัดแย้ง ในมุมมองของรัฐไทยจะเห็นว่าประวัติศาสตร์ไทยได้ถูกท้าทายมาก ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการความทรงจำ โดยการให้หลายกลุ่มออกมาร่วมแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์ถึงข้อเท็จจริง การที่รัฐปิดกั้นจะนำไปสู่การจำกัดอิสรภาพทางความคิด

    โดยอารีฟีนเล่าว่า ในความทรงจำของเรา ในฐานะของคนปาตานี สิ่งที่เรารู้สึกและสิ่งที่ยุยงปลุกปั่นเราคือ สถานการณ์ความขัดแย้ง “ผมเชื่อว่ามีคนส่วนมากที่คิดเหมือนกับเรา แต่ก็มีวิธีการขับเคลื่อนทางการเมืองที่แตกต่างกัน เราคิดว่าสิ่งที่เราเลือกสามารถเปลี่ยนแปลงผู้คนได้”

    Right to self determination ในประเทศไทย



    ทศพลได้เสนอเรื่อง Right to self-determination ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิในการกำหนดอนาคตตัวเอง สิทธิในการแสดงเจตจำนงความต้องการในระดับปัจเจก และในระดับกลุ่มที่มีนัยยะว่าเป็นความต้องการของประชาชนทั้งหลาย ทศพลจึงหันมามองถึงประเทศไทยที่ถือว่าเป็นแนวหน้าที่เข้าร่วมสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนว่ามีการพูดถึงเรื่อง Self-determination อย่างไร 

    ทศพลเผยว่า ประเทศไทยได้ใส่พลังกับมันอย่างเข้มข้น จากในตอนที่เข้าร่วมกติกาสิทธิพลเมืองและการเมือง ประเทศไทยมีท่าทีปฎิเสธ Self-determination ไปเลย ทั้งที่มันอยู่ในข้อกำหนดช่วงต้นสนธิสัญญา ซึ่งรัฐไทยได้ทำการ ‘ทำถ้อยแถลงตีความ’ คือการที่รับข้อกำหนดเท่าที่ไม่กระทบต่อบูรณะภาพแห่งดินแดน มันจึงนำมาสู่นวัตถกรรมหนึ่งในรัฐธรรมนูญปี 2540 นั่นก็คือ สิทธิชุมชน มันเป็นยืนยันวิถีการปฏิบัติเฉพาะในพื้นที่ ที่วิถีปฏิบัติอาจไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติใด ซึ่งจะเห็นได้ว่ารัฐไทยได้นำเข้ามาในรัฐธรรมนูญนานแล้ว แต่หากมันถึงระดับที่รัฐไทยปฏิเสธการมีส่วนร่วมของรัฐใดอย่างรุนแรงแล้ว ก็จะมีการดำเนินในระดับชาติและตีตัวออกจากรัฐไทยเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐไทยก็ทำอะไรไม่ได้ แต่ปรากฏว่ารัฐไทยได้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้มาตลอดคือ จะไม่มีการแยกขบวนการอย่างชัดเจน โดยจะถูกถือว่าเป็นกลุ่มองค์กรอาชญากรรมหรือก่อการร้าย ไม่ใช่กองกำลังที่นำไปสู่การแยกดินแดนหรือคู่ขัดแย้ง นอกจากนี้รัฐไทยยังให้สิทธิการลงสมัครเลือกตั้งสส. หรือสิทธิในการเลือกตั้งแก่คนในพื้นที่ ทำให้จากข้อเหล่านี้ถือว่าไม่เข้าข่ายตามกฎหมายสิทธิมนุษยธรรม แต่เห็นจากการที่ทหารได้ดำเนินคดีกับคนในพื้นที่เรื่องนี้ ก็ถือว่าเป็นกรณีที่ย้อนแย้งมาก

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...