มีนาคม 19, 2024

    “แม่น้ำโขง สายน้ำที่เปลี่ยนแปลง” งานวิจัยของชาวบ้านริมโขงจังหวัดเชียงราย การอยู่ร่วมกันระหว่างคนและธรรมชาติ

    Share

    หน่วยงานภาคประชาชนที่ทำงานประเด็นสิ่งแวดล้อมได้แก่ กลุ่มรักษเชียงของ, สมาคมแม่นํ้าเพื่อชีวิต, สถาบันชุมชนลุ่มนํ้าโขง ร่วมกับคณะนักวิจัยชาวบ้านริมโขงจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมกันเขียนงานวิจัยเรื่อง “แม่น้ำโขง สายน้ำที่เปลี่ยนแปลง งานวิจัยของ ชาวบ้านริมโขงจังหวัดเชียงราย” ซึ่งมีความสําคัญอย่างมาก 5 ประการ ได้แก่

    1.การนําเสนอเรื่องเล่า และรายละเอียด เกี่ยวกับ “ความรู้และภูมิปัญญาทองถิ่นเกี่ยวกับระบบนิเวศแม่นํ้าโขง” ทั้งจากแมน้ำ โขงสายหลักและสาขาของแมน้ำ โขงในส่วนที่ไหลผ่านจังหวัดเชียงราย อย่างเช่นแม่นํ้าอิง ได้แก่ภูมินิเวศ ความรู้เกี่ยวกับปลาและนิเวศปลาแมนํ้าโขง ในฐานะที่เป็นพืชน้ำโขงที่สำคัญต่อระบบนิเวศ  รายได้และอาหาร และเกษตรพืชผักริมโขง องค์ความรู้นี้เป็นความรู้เฉพาะถิ่นที่สะสมอยู่ในคนหลายรุ่นและมีความเป็นพลวัตสูง เพราะถูกส่งทอด ถ่ายทอด แลกเปลี่ยน แบ่งปัน ตั้งคําถามใหม่ๆ การนําไปใช้เพื่อสร้างรายได้ อาหาร และวัฒนธรรมท้องถิ่น การปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง อีก ทั้งยังทําให้เห็นว่าองค์ความรู้นี้มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันทั้งจังหวัด เพราะระบบนิเวศแม่น้ำโขงในส่ว นที่ผ่านจังหวัดเชียงราย มีระบบนิเวศย่อยๆที่หลากหลายมากมาย

    2.ความเชื่อมโยงระหว่างนิเวศกับวัฒนธรรมชาวบ้าน หรือเรียกอีกอยางหนึ่งว่าความสัมพันธ์ระหว่างนิเวศและสังคม ข้อมูลที่ปรากฏในงานชิ้นนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าผู้คนและสังคมไม่ได้แยกออกจากธรรมชาติหรือระบบนิเวศอย่างเด็ดขาด การนําเสนอผ่านการอธิบายระบบนิเวศของชาวบ้านนั้นทําควบคู่กันไประหวางคน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และนิเวศอยางชัดเจน เช่น การหาไกและปลาจากน้ำโขงและแม่นํ้าอิง เพื่อประกอบและขายอาหาร การอาศัยความสมบูรณ์ของตะกอนดินที่ไหลพัดพามาตามแม่นํ้าโขงเพื่อให้ผักชนิดต่างๆงอกงามด้วยธาตุอาหารจากธรรมชาติ จนสามารถเก็บเกี่ยวเป็นอาหาร แลกเปลี่ยน และสร้างรายได้ตามฤดูกาลทั้งปี การสร้างวัฒนธรรมความเชื่อที่สัมพันธ์กับแม่นํ้าสําหรับการอยู่ร่วมกันตามความเชื่อและบรรทัดฐานท้องถิ่น เช่น ประเพณีไหลเรือไฟ การแข่งเรือ และการเลี้ยงผี

    3.ปัญหาของระบบนิเวศแม่น้ำ โขงที่กระทบต่อความสมบูรณ์ของแม่น้ำโขงและคนริมโขง งานวิจัยชาวบ้านชิ้นที่ทําให้เห็นว่าปัญหาของระบบนิเวศแมนํ้าโขงได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันเหมือนเดิม เนื่องจากการสร้างเขื่อนในลําน้ำโขงตอนบนที่เกิดมาแล้วเป็นเวลา 30 ปี มีปัญหาสําคัญคือ การหายไปของพื้นที่เกษตรริมโขง เพราะการพังทลายของตลิ่งจากระดับนํ้าโขง ที่ขึ้น-ลงอย่างไม่เป็นธรรมชาติ หรือที่ชาวบานเรียกว่าปรากฏการณ์ “โขงรวน” การหายไปของนกแม่น้ำโขงเพราะขาดที่วางไข่และทํารังริมตลิ่ง ตลิ่งหายไป พืช อาหารบางชนิดที่หายไป ฤดูอพยพที่คลาดเคลื่อนของปลา ปลาหาได้ยากขึ้น การเปลี่ยนรปูร่างของปลาบางชนิด ขนาดของปลาทเล็กลง การหายไปของดอนขนาดใหญ เป็นต้น

    4.การใช้ภูมิปัญญาและความรู้ในการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด แน่นอนว่าปัญหาที่เกิดกับระบบนิเวศแม่น้ำโขงและการใช้ความรู้ทั้งแบบใหม่ และแบบดั้งเดิมในการปรับตัวของชาวบ้านริมโขงจังหวัดเชียงรายเพื่อให้อยู่ร อด ได้รับการบันทึกอย่างเป็นระบบผ่านกระบวนการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวด้านอาชีพ เช่น การค้าขายชายแดน รับจ้าง การปรับวิธีการปลูกพืชและ

    5. งานวิจัยชิ้นนี้สร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีพลัง ชาวบ้านและองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมสามารถตั้งคําถามในการศึกษา ตั้งวัตถุประสงค์ หาวิธีการรวบรวมความรู้ และสรุปองค์ความรู้ ออกเป็นหมวดหมู่ได้อย่างกระชับและเข้าใจง่าย งานวิจัยแนวนี้ถือเปนความรู้ภาคพลเมืองที่สะท้อนความเป็นอยู่หรือการมีชีวิตอยู่ของประชาชนริมโขงท่ามกลาง ปรากฏการณ์ “โขงรวน” 

    สามารถดาวน์โหลดหนังสืองานวิจัยได้ที่ http://www.mekongci.org/images/publication/book-Mekong-Taibaan-research-2023.pdf

    Related

    7 ปี ‘ชัยภูมิ ป่าแส’ ยุติธรรมไม่คืบหน้า

    ภาพ: มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมจัดงานเสวนา...

    ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ แจงงบแก้ฝุ่นยังไม่ออก ชี้ “ประกาศภัยพิบัติ” ไม่ใช่ทางออกตอนนี้

    เมื่อวันที่ 17 มี.ค.2567 ที่ผ่านมา สำนักข่าวไทย รายงานการชี้แจงของ นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่...

    ครบ 7 ปี ‘ชัยภูมิ ป่าแส’ ถูกทหารวิสามัญฆาตกรรม ความยุติธรรมยังไม่คืบ

    เช้าวันที่ 17 มี.ค. 2560 เจ้าหน้าที่ทหารประจำด่านตรวจบ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้ทำการตรวจค้นรถยนต์ของ...