เมื่อ 7 มีนาที่ผ่านมา ณัฐวุติ ตติเวชกุล ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึก เรื่องความไม่ชอบมาพากลในการประเมินบทความของเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 15 ผ่านเฟซบุ๊ก Nattawut Tatiwetchakun ซึ่งเกี่ยวกับบทความที่ชื่อว่า “วชิราลงกรณ์” ในฐานะรูปสัญญะ ที่เขียนโดย ณัฐวุติ โดย ณัฐวุติได้เสริมว่า บทความนี้มุ่งประเด็นในเรื่องรูปสัญญะตัวคำและเสียงของ “วชิราลงกรณ์” หรือก็คือ “วะ-ชิ-รา-ลง-กอน” ในฐานะรูปสัญญะ ในบริบทสังคมและการเมืองไทย ที่ทำให้เสียงดังกล่าวไม่อาจถูกเปล่งได้โดยปกติหรือไม่อาจเปล่งได้ ทั้งที่ไม่ผิดกฏหมาย ซึ่งตรงกับประเด็นหัวข้อใหญ่ “เสียงที่ไม่(อยาก)ได้ยิน” ของการประชุมวิชาการเวทีวิจัย “มนุษยศาสตร์สดับสรรพเสียง ถกเถียงเพื่ออยู่ร่วม” ประจำปี พ.ศ. 2566 นี้
โดยนาย ณัฐวุติ ได้สอบถามถึงทางเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ฯ แต่กลับไม่มีการตอบกลับใด ๆ จากเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ฯ มีเพียงข้อความแจ้งว่า “บทความอยู่ในขั้นตอนพิจารณาและจะแจ้งผลประเมินในภายหลัง” จนล่วงเลยเป็นเวลานาน และเมื่อ ณัฐวุติ ได้สอบถามอีกครั้งว่า “กระบวนการตอนนี้ถึงไหนแล้ว มีอุปสรรคอะไรจึงล่าช้า” แต่ก็ไม่ได้รับการตอบกลับใด ๆ
จนกระทั้งวันที่ 4 มีนาคม 2566 ณัฐวุติ ได้รับแจ้งจากทางอาจารย์ พ.(ชื่อย่อ) ว่าทางเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ฯ มีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องข้อกฎหมายประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่บทความนี้เข้าข่ายอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำให้เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ฯ ไม่รับบทความนี้ในท้ายที่สุด ทำให้ ณัฐวุติ ตติเวชกุล ออกมาชี้แจงว่าบทความนี้ว่าบทความนี้ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมายมาตรา 112 พร้อมปรับปรุงแก้ไขตามความเห็นต่าง ๆ ทั้งตั้งคำถามต่อเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ฯ ถึงเสรีภาพทางวิชาการและกระบวนการขั้นตอนการทำงาน มีเนื้อหาดังนี้





เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย เป็นเวทีวิชาการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางศิลปกรรมศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อเป็นเวทีการเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบศิลปะที่หลากหลาย อันจะเป็นการเสริมสร้างและขยายเครือข่ายนักวิชาการทางศิลปกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ให้กว้างขวางมากขึ้น ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...