พฤษภาคม 6, 2024

    Alliance Against the Haze เพื่อน/สู้/ควัน วงคุยประชาชน หวังฝ่าวิกฤต Climate of Fear

    Share

    9 เมษายน 2566

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    ท่ามกลางสถานการณ์ของฝุ่น PM2.5 ที่ปกคลุมในหลายพื้นที่ทั่วภาคเหนือ ในขณะที่ภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ยังคงมองปัญหาแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่เชื่อมกัน การหาผู้ร้ายในวิกฤตนี้จึงเป็นทางออกในแบบของรัฐราชการรวมศูนย์ที่ผลักปัญหาไว้ที่ประชาชน จนต้องฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยตัวเอง

    แต่ยังมีความพยายามของประชาชนตัวเล็ก ๆ ที่สร้างความร่วมไม้ร่วมมือในการค้นหาทางออก แสวงหาข้อเสนอ เพื่อฝ่าวิกฤตนี้ไป โดยเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ร้าน Goodcery จ.เชียงใหม่ The Goodcery TH, Surin Pitsuwan Foundation และ School of Public Policy Chiang Mai University ร่วมกันจัดกิจกรรม Alliance Against the Haze เพื่อน/สู้/ควัน เพื่อร่วมฟัง ทำความเข้าใจ จากผู้คนในทุกบทบาทที่กำลังพยายามผลักดัน ฟื้นฟู ต่อสู้ ปรับเปลี่ยน ต่อสถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 ภายในงานมีทั้งวงคุยนโยบายของประชาชนเพื่อประชาชน,“อาหารการกิน และห่วงโซ่อุปทาน สายป่านแข็งแรงเพื่อประชาชน” จากจานข้าว จากคำทุกคำที่รับประทาน มันคือวิตามินป้อนให้ฝุ่นควันได้เติบโตขึ้นทุกปีๆ อย่างไร? และพรรคการเมืองที่มาส่งต่อไม้ความหวังของการจัดการฝุ่นที่ “จริงจัง” ให้กับบ้านของเรา รวมถึงการแสดง Performance Art 

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    นโยบายของประชาชนเพื่อประชาชน พูดคุยในมิติการมีนโยบายที่ดูแลป้องกันและเยียวยาพื้นที่ประสบภัย PM 2.5 ในเชียงใหม่และภาคเหนือ

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    เริ่มต้นโดย ผศ.ดร.อรอร ภู่เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พูดถึงพัฒนาการของสังคมที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและผลกระทบของฝุ่นควัน PM 2.5 และช่วงแรก ๆ ที่รัฐออกมาตรการมา ส่วนใหญ่คือการห้ามเผา ต่อมาก็เป็นมาตรการในเชิงความร่วมมือมาขึ้น เข้าอกเข้าใจมากขึ้น คือเริ่มเข้าใจวิถีชีวิตของชาวบ้านมากขึ้น มองว่าในจังหวะต่อไปหรือโจทย์ต่อไปควรมองว่า เราจะร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และพูดถึงระบบห่วงโซ่อาหารที่มันเกี่ยวโยงกันนี้อย่างไร

    ด้าน ชนกนันทน์ นันตะวัน กลุ่มสม-ดุล เชียงใหม่ มองว่าปรากฎการณ์นี้มันไม่ได้พึ่งเกิด แต่นโยบายที่ออกมาควบคุมดูแลมันยังไม่เป็นรูปธรรม เราเห็นเพียงประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหว แต่เรายังไม่เห็นว่ารัฐออกมา action แม้จะมีความพยายามของภาครัฐที่จะควบคุมฝุ่น แต่ก็เป็นเหมือนนามธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ค่าฝุ่นเมื่อเป็นสีเหลือง เราพบว่าทุกอย่างมันนิ่ง เมื่อผ่านไปเป็นสีส้ม เราก็เห็นว่ามันยังนิ่งอยู่ ไม่มีมาตรการใด ๆ มาบอกกับประชาชนว่าค่าฝุ่นมันเกินมาตรฐาน รัฐก็ยังนิ่ง 

    “เวลาเราจะพูดถึงเรื่องนี้ มันไม่ใช่แค่ควัน แต่มันเป็นสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศทั้งระบบ รวมถึงตัวเราด้วยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดิน น้ำ ป่า … คิดว่าการกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เชื่อมโยงกัน”

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจ เราเชื่อว่า PM 2.5 มันเกิดขึ้นในพื้นที่ป่า และในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน มันสัมพันธ์กับการเติบโตของประเทศ และเชื่อว่าข้อมูลที่ถูกต้องที่ชัดเจนจะต้องปรากฎให้ประชาชนได้เข้าถึง รับรู้มากพอ การแก้ไขปัญหาเฉพาะแบบ event ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างยั่งยืน เสนอว่าต้องมี พ.ร.บ.อากาศสะอาด และมีทีมในการควบคุมดูแล

    “ที่ผ่านมามันใช้ระบบคำสั่ง ไปเป็นทอด ๆ มันต้องเป็นกระบวนการการมีส่วนร่วมขนาดใหญ่ ต้องให้คนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วม รวมศูนย์ตรงกลาง แยกส่วนกันมาทำงานในพื้นที่ มันไม่สามารถแก้ได้ ดังนั้นเราอยากเห็นการบูรณาการ และการทำงานที่สอดคล้องกับในพื้นที่”

    บทเรียนจากสิงคโปร์ สู่ Climate of Fear ของไทย

    อรอร กล่าวว่า Climate of fear บรรยากาศแห่งความกลัวโดยรวมของประเทศไทย ที่สิงคโปร์จะไม่มี มีเพียงถ้ารัฐบาลไม่ทำอาจจะตายกันหมด เพราะประเทศสิงคโปร์ต้องพึ่งพาในเรื่องการดึงดูดคนเข้ามาลงทุนเป็นหลัก สิงคโปร์ในตอนนั้นมีหลักการและทิศทางในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยขาด

    “ตอนนั้นที่สิงคโปร์ เรามองไม่เห็นตึกเลย แต่เขาใช้เวลาไม่นานใน 24 ชั่วโมงในวันนั้น ประกาศห้ามออกข้างนอก มีการใช้มาตรการนั้น ๆ ทันที และไม่ได้พยายามทำให้ภาคส่วนไหนพอใจเป็นพิเศษ รัฐบาลสิงคโปร์มีการเก็บข้อมูลทันทีว่าไฟมาทิศทางไหน พื้นที่เหล่านั้นส่วนใหญ่มาจากมาเลเซีย และมองถึงห่วงโซ่ความรับผิดไปถึงบริษัทที่ลงทุนนั้นมาจาดที่ไหน มีการ take action ด้วยการคว่ำบาตร ไม่ซื้อ ไม่บริโภคสิ่งนั้น ๆ ที่ก่อให้เกิด PM 2.5 ทำให้ปัญหาหายไปภายใน 2 ปี”

    ด้านชัชวาลย์ มองว่า ต้องยอมรับปัญหานี้ซับซ้อนมาก การประกาศเขตภัยพิบัติในเชียงใหม่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากรัฐไม่รู้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมันมีอะไรบ้าง มีคนเสียชีวิตจาก PM 2.5 ปีละ 40,000 คน มันมีวิธีการแก้ไขหลายระดับ 

    “ถ้าชุมชนไม่มีส่วนร่วมเข้ามาจัดการ เอาไม่อยู่แน่ เนื่องจากป่าผลัดใบ มีเชื่อเพลิงสะสม 2,000 กก. ต่อไร่”

    หยุดมองว่าการเผาคือมาตกร แต่มองหาแหล่งที่มาของมันได้ 

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    ในวงแลกเปลี่ยน หมอหม่อง – นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ แลกเปลี่ยนในวงว่า “เราก็ต่างเป็นจำเลยในฝุ่นควันทั้งสิ้น เราคงไปโทษใครไม่ได้ว่าไปเผา แล้วเป็นคนไม่ดี มันเป็นการพูดแบบไม่มีหัวใจ เราต้องดูว่าแหล่งที่มามาจากไหน อยากให้สื่อสารในเรื่องผลกระทบทางสุขภาพ หลายคนมองว่า ผลกระทบระยะสั้น มันมองไม่ค่อยเห็น แต่ผลกระทบระยะยาว ผลกระทบสะสมต่อเนื่อง มันไม่ได้ตายทันที มันสะสมระยะยาว เราอยู่ในเชียงใหม่ ค่าเฉลี่ย PM 2.5 ปีนี้ 60% กว่า เรามีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า เสี่ยงกับการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน เพิ่มขึ้น 2-2.5 เท่า นี่คือความกังวลที่เกิดขึ้น มันคือปัจจัยเสี่ยง มันฝืนยาก PM2.5 มันคือ 1.03 % ดูเหมือนน้อย ถ้าในระดับประชากร มันคือการคูณ 100% เพราะไม่มีใครไม่หายใจ เราต้องสื่อสารให้รัฐเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องเล็ก แม้เขาทำอยู่ก็ทำไม่เท่ากับระดับความรุนแรงของปัญหา”

    “เราอาจจะมีชีวิตที่สั้นลงในประเทศนี้ได้ เราจึงจำเป็นต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พูดให้ดังขึ้น พูดให้ผู้มีอำนาจ กลุ่มพันธมิตรกับรัฐบาล หากไม่สามารถบอกตรง ๆ ได้ มันก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้” ผู่ร่วมแลกเปลี่ยนเสริม

    นโยบาย Zero PM2.5 มันเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน 

    “ยังไงก็ต้องมีการเผา สิ่งที่สำคัญคือการบริหารจัดการไฟ เช่น แผนชิงเผา ข้อเสนอคือการ จัดการร่วม co-management ค่อย ๆ เปลี่ยน สร้างแรงจูงใจ สร้างระบบตลาดขึ้นมา มีกระบวนการสนับสนุนในแต่ละด้าน เจตจำนงค์ที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา” ชัชวาลย์กล่าว 

    รับชม Live เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/surinpitsuwanfoundation/videos/749418996913038 

    Related

    ชิวๆ กับความไม่แน่นอน: อารมณ์สายมูกับระบอบเวลาที่ยืดหยุ่น

    เรื่อง: ณีรนุช แมลงภู่* ในยุคสมัยที่การดิ้นรนทำมาหากินเพื่อให้อยู่รอดภายใต้เศรษฐกิจที่ผันผวนและอากาศแบบละติจูดเดียวกับ ‘สวรรค์’ เป็นประสบการณ์สามัญของคนทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าทำไมเพื่อน ‘สายมู’ ของเราถึงยังมีเวลาไปกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระดังทั่วไทย สวมชุดขาวร่วมพิธีกกรรมเสริมแต้มบุญ...

    โทษทีพี่ ‘ติด’ งาน

    เรื่อง: การัณยภาส ภู่ยงยุทธ์*  คุณติดโซเชียลมีเดียหรือไม่ หากคำถามนี้เกิดขึ้นก่อนปี 2009 ซึ่งเป็นปีที่เฟซบุ๊กนำปุ่มกดถูกใจมาใช้งาน คนส่วนใหญ่จะตอบปฏิเสธ หรือไม่ก็บอกว่าตัวเองก็แค่ชอบเล่นโซเชียลมีเดีย แต่ไม่ถึงกับขั้น “เสพติด”...

    ชีวิตบนเส้นด้ายของเกษตรกรหลังบ้านอีอีซี

    เรื่อง: กัมปนาท เบ็ญจนาวี เกษตรกรหลังบ้านอีอีซีส่วนใหญ่ถูกจำกัดในการเข้าถึงทรัพยากรและอำนาจหลังการปิดล้อมใหม่ โดยเฉพาะการขาดการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงอำนาจในการมีส่วนร่วมกำหนดภูมิทัศน์การพัฒนาในท้องถิ่น ทำให้เกษตรกรมีเงื่อนไขที่จำกัดในการคาดเดาและกำหนดอนาคตของตนเอง จนนำไปสู่การก่อตัวขึ้นของสถานการณ์ความขัดแย้งและความแตกต่างทางสังคม มากกว่าจะเป็นผลลัพธ์ที่นำไปสู่การกระจายผลประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม...