พฤษภาคม 17, 2024

    เปิดข้อมูลคดีการเมือง 2566 ตอนนี้ยังมีประชาชนถูกขัง 15 ราย 7 รายถูกขังระหว่างสู้คดี 8 รายคดีสิ้นสุดแล้ว

    Share

    เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้เผยแพร่ข้อมูลของผู้ถูกคุมขังในคดีทางการเมืองในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี จำนวนอย่างน้อย 7 คน เป็นคดีตามมาตรา 112 จำนวน 2 คน

    ในจำนวนผู้ต้องขังระหว่างต่อสู้คดีทั้ง 7 รายนี้ มีอย่างน้อย 1 รายที่คดีความมีแนวโน้มว่าจะสิ้นสุดลงและจะกลายเป็นนักโทษชั้นเด็ดขาด นั่นคือ “แน็ค-ทัตพงศ์” โดยเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาจำคุก 6 ปี ในคดีที่เกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิดปิงปอง แต่ให้การรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษครึ่งหนึ่ง คงเหลือจำคุก 3 ปี เบื้องต้นทัตพงศ์แสดงความประสงค์จะไม่สู้คดีด้วยการอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไปอีก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังอยู่ในกรอบระยะเวลา 30 วันที่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา

    นอกจากนี้ในเดือนที่ผ่านมา มีประชาชนถูกคุมขังเพิ่ม 2 ราย ซึ่งล้วนเป็นคดี ม.112 ทั้งสิ้น รายแรก คือ ‘เวหา’ นักกิจกรรม อายุ 39 ปี ถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. 2566 ภายหลังศาลอาญามีคำพิพากษาในคดี ม.112 กรณีถูกกล่าวหาว่าใช้บัญชีทวิตเตอร์ “ฟ้าฝา ver.เกรี้ยวกราด” ทวีตข้อความเล่าประสบการณ์การถูกคุมขังในคุกเรือนจำชั่วคราวพุทธมณฑล เขตทวีวัฒนา หรือ ‘คุกวังทวี’ และทวีตข้อความจนเกิดกระแสใน #แอร์ไม่เย็น บนทวิตเตอร์ เมื่อช่วงปี 2564

    อีกรายคือ ‘ชลัน’ ประชาชนวัย 38 ปี ถูกจับกุมตามหมายจับ ในคดีมาตรา 112 มาจากบ้านใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2566 และถูกนำตัวมาดำเนินคดีที่ สภ.เมืองนนทบุรี ซึ่งต่อมาศาลไม่ให้ประกันตัวระหว่างสอบสวน เห็นว่าคดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าจะหลบหนี ทำให้ชรันถูกคุมขังระหว่างสอบสวนอยู่ที่เรือนจำจังหวัดนนทบุรี แต่ต่อมาในการยื่นประกันตัวครั้งที่ 2 ศาลได้อนุญาตให้ประกัน

    โดยข้อมูลจนถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566 ของทางศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ประชาชนที่ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีทางการเมือง และยังถูกคุมขังอยู่ในถึงปัจจุบันมีดังนี

    1. ถิรนัย – สองผู้ชุมนุมทะลุแก๊สถูกกล่าวหากรณีครอบครองระเบิดปิงปองก่อนการชุมนุม #ม็อบ29สิงหา64 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 6 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 3 ปี อยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา

    2. ชัยพร – สองผู้ชุมนุมทะลุแก๊สถูกกล่าวหากรณีครอบครองระเบิดปิงปองก่อนการชุมนุม #ม็อบ29สิงหา64 ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 6 ปี รับสารภาพ ลดเหลือจำคุก 3 ปี อยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา

    3. ทัตพงศ์ เขียวขาว – ถูกจับกุมหลังเดินทางผ่านด่านเช็กประวัติช่วงการประชุม APEC 2022 ที่สถานีรถไฟฟ้า BTS ราชเทวี ตามหมายจับและถูกกล่าวหาครอบครองวัตถุระเบิด ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มทะลุแก๊ซ ที่ถนนราชปรารภ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2564

    4. ชนะดล – ถูกคุมขังภายหลังถูกอัยการสั่งฟ้องในคดีครอบครองระเบิด จากเหตุชุมนุมแยกอโศกดินแดง วันที่ 20 ส.ค. 2564

    5. วุฒิ (นามสมมติ) – ถูกคุมขังภายหลังถูกอัยการสั่งฟ้องในคดีครอบครองรศาลอาญามีนบุรีไม่ให้ประกันตัว ภายหลังถูกอัยการสั่งฟ้องในข้อหามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊กจำนวน 12 ข้อความเบิด จากเหตุชุมนุมแยกอโศกดินแดง วันที่ 20 ส.ค. 2564

    6. สุวิทย์ – ศาลฎีกาไม่ให้ประกันตัว ภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุก 1 ปี 2 เดือน ไม่รอลงอาญา ในคดีครอบครองระเบิดปิงปอง กรณี #ม็อบ10สิงหา2564

    7. เวหา แสนชนชนะศึก – คดีมาตรา 112 ศาลอาญาพิพากษาจำคุกกระทงละ 3 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง ลงโทษจำคุก 3 ปี 18 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ประกันตัว

    โดยภายในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่ม We, The People ก็ได้จัดกิจกรรม ‘ยืน หยุด ขัง’ ทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 17.00 – 18.12 น. บริเวณท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการจัดกิจกรรมในสัปดาห์นี้ก็เป็นการจัดกิจกรรมเป็นสัปดาห์ที่ 52 เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมแก่เพื่อนๆนักกิจกรรมที่ถูกคุมขังเนื่องจากออกมาแสดงออกทางการเมือง เพื่อขับเคลื่อนสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น และเพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวแก่ผู้ที่ยังไม่ถูกพิพากษาความผิด เพราะสิทธิการประกันตัวก็เป็นสิทธิพื้นฐานอย่างหนึ่งตามหลักสากล

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...