คนรุ่นใหม่แนะ ภาครัฐอย่าให้เกิดภาวะสมองไหล สร้างโมเดลมีส่วนร่วมพัฒนาเชียงใหม่

ภาพ: สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล

13 กุมภาพันธ์ 2566

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 กลุ่ม Chiang Mai Urban Link (เยาวชนริทัศน์เชียงใหม่) และขนสุขสาธารณะ ได้ร่วมกันจัดงาน Youth Festival ตวยละอ่อนผ่อเมือง Chiang Mai Youth Cityscape ณ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ 

โดยช่วงเช้าได้มีการนำเสนอภาพรวมของโครงการริทัศน์ (ReThink Urban Space ประกอบไปด้วยเนื้อหาของตัว youth festival ตัวอย่างงานเยาวชนยุโรปและเครือข่ายริทัศน์, รวมถึงข้อเสนอด้านนโยบายการทำงานเมืองจากภาคเยาวชน ได้แก่กลุ่ม SYNC SPACE กลุ่มนักสร้างสรรค์ที่อยากเห็นพื้นที่สาธารณะ, กลุ่ม Wonderjuey กลุ่มละครเวทีที่สร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อให้ผู้คนได้เป็นส่วนหนึ่งอย่างเป็นมิตร, กลุ่ม Design Soulciety เหล่าดีไซน์เนอร์และ soulcialist และกลุ่ม Chiang Mai Universal Design ออกแบบเพื่อคนทั้งมวล และกลุ่มขนสุขสาธาณะ ที่เชื่อมั่นในพลังเสียงของผู้คนที่ต้องการให้เกิดระบบขนส่งสาธารณะที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม

ภาพ: สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล

1. กลุ่ม Shan Youth สะท้อนว่าเมื่อได้รับการสนับสนุนเรื่องการศึกษาแล้ว มันนำไปสู่โอกาสที่เกิดขึ้นในชีวิต และมีการชักชวนเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมแห่งประชาธิปไตย โดยส่งเสริมให้เข้าถึงการศึกษาที่มีศักยภาพ กิจกรรมในกลุ่มที่สนับสนุนเยาวชนไทใหญ่คือ มีทุนการศึกษาของเด็กปวช. และปวศ. รวมถึงโรงเรียนสายสามัญ ปัจจุบันรุ่นที่ 8 แล้ว และมีการอบรมให้ความรู้เรื่องสิทธิสถานะบุคคล เปิดโรงเรียนในพื้นที่แคมป์งานก่อสร้าง 

“เราต้องการพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่ ถ้ามองอีก 10 ปี เรามองว่าเขาจะยังอยู่ที่นี่ หากเราพัฒนาศักยภาพเขาในรูปแบบไม่ใช่ภาระ ทำให้เยาวชนไทใหญ่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาเมืองเชียงใหม่ด้วย”

ตัวแทนจากกลุ่ม Shan Youth เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ เยาวชนชาวไทใหญ่ วัตถุประสงค์เพื่อทำงานร่วมกัน เป็นศูนย์กลาง หาความรู้ให้กับเยาวชนที่เข้าไม่ถึงการศึกษา เกิดจากปัญหาในเรื่องการเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา 

ภาพ: สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล

2. กลุ่ม Sync space กลุ่มที่อยากสร้างพื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะในเชียงใหม่ พื้นที่คนรุ่นใหม่ กิจกรรมของเราคือ การรวมข้อมูล รวมเครือข่าย และการสร้างโมเดล และได้นำเสนอ Sync Model เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มคน ชุมชน และ เมือง ลดภาวะสมองไหลออกจากเมืองเชียงใหม่

ภาพ: สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล

3. กลุ่ม ขนสุขสาธารณะ มองเรื่องปัญหาในเรื่องนี้ เกิดจาก บทบาทของเยาวชนที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้เรื่องการรณรงค์สื่อสารกับผู้คน เราอยากจะเห็นคนเชียงใหม่ได้ใช้ขนส่งสาธารณะอย่างมีความสุข ด้วยศักยภาพของเยาวชน เราอาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่เราสามารถสร้างจินตนาการร่วมกับสังคมได้ เรามีการจัดงาน interactive activity กับประชาชนทั่วไปเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ เราต้องการ information เราอยากสร้างความทรงจำร่วมกันกับประชาชน พอทำงานเก็บข้อมูลดูแล้ว มันไม่สามารถมองได้ในระนาบเดียว แต่มันมีหลายมิติที่เกี่ยวข้อง จึงเกิดการเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ด้วย 

ความท้าทายที่กลุ่มขนสุขฯ เผชิญคือ มันเกิดหลายมิติ อย่างเรื่องความผันผวนของราคาน้ำมัน ความเปลี่ยนแปลงในสภาพอากาศ, Urban spraw รวมถึงเรื่อง Transport poverty 

“แต่เราจะทำให้เกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีภาครัฐ เอกชนมาร่วมกันแก้ไขปัญหาได้ มันเกิดระยะห่างของการทำงานของเยาวชน การเข้าถึงข้อมูลของรัฐและเกิดระยะห่างของเยาวชนการและเข้าถึงพื้นที่และแหล่งทุนสนับสนุน”

กลุ่มขนสุขฯ คาดหวังให้เกิดวงแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐ เยาวชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และมองว่ารูปแบบขนส่งสาธารณะอาจจะไม่จำเป็นจะต้องมีรูปแบบเดียว จึงจำเป็นต้องสอบถามและพิจารณาคนเชียงใหม่รอบนอกด้วย 

ภาพ: สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล

4. กลุ่ม Design Soulciety เหล่าดีไซน์เนอร์และ soulcialist เราเชื่อว่าทุกคนมีปัญหา มีประเด็น ช่วยออกแบบเมือง ส่งเสริมพื้นที่ของเมืองเพื่อให้มีการสนับสนุนทุกมิติ มีโมเดลที่นำเสนอคือ การสร้างหย่อมพื้นที่สาธารณะเพื่อความต้องการที่หลากหลาย การเชื่อมโยงพื้นที่ที่มีความกระจายมากขึ้น 

ภาพ: สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล

5 กลุ่ม universal design การออกแบบเมืองสำหรับผู้พิการ สร้างพื้นที่ให้ทุกคนเข้าถึงได้ สามารถเข้ามามีบทบาทในการเสนอ แสดงความคิดเห็น วางแผน และพัฒนา วางแผนไว้ว่าควรมีการออกแบบพื้นที่ให้มีการ universal design จัดสรรพื้นที่สำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียม และสร้างพื้นที่สาธารณะให้เข้าถึงผู้คนมากขึ้น และจะตระหนักถึงความสำคัญของ universal design โดยธรรมชาติ 

ด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “จริง ๆ แล้ว การมารับฟังความคิดเห็น เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ผ่านมาเรายอมรับตรง ๆ ว่าการพัฒนาประเทศ หรือการพัฒนาเมือง จะคิดเพียงแค่คนที่มีความรับผิดชอบ หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เราลืมไปว่าการพัฒนาคือการสร้างอนาคตข้างหน้า แต่เราลืมมองว่าคนที่ใช้พื้นที่ตรงนั้น คือเยาวชน ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ เราต้องมองว่าบทบาทเยาวชน เขาคิดอะไร การแก้ไขปัญหามันต้องมีหลายภาคส่วน ทุกคนในเมืองล้วนต้องมีเสียงสะท้อนในการพัฒนา เรากำลังจะมีแผนพัฒนา 20 ปีในการพัฒนาเชียงใหม่ จึงอยากชวนกลุ่มเยาวชนที่สนใจมาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น จะรับข้อเสนอของน้อง ๆ ไปและเอาไปพัฒนาต่อ”

ด้านตัวแทนจาก Chiang Mai Learning City เสนอว่า อยากให้การเชิญชวน ให้เพื่อน ๆ เข้ามาร่วมกับตัวเองเรื่อย ๆ ในฐานะนักวิชาการ เราสามารถสร้างสถานการณ์จำลองหรือ model และแผ่ขยายอาณาเขตการทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ด้วย 

ด้านพลอย-เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู ว่าที่ผู้สมัครส.ส. พรรคก้าวไกลได้มาร่วมฟังข้อเสนอในวันนี้ มองว่า บทบาทเยาวชนมีความสำคัญในการสร้างจิตนาการทางสังคม เราเข้าใจดีว่าการทำงานของภาครัฐ มีข้อจำกัดที่จะจัดการ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ พรรคก้าวไกลกำลังจะผลักดันในเรื่องการกระจายอำนาจ ผู้บริหารจังหวัดต้องมาจากการเลือกตั้ง งบประมาณต่าง ๆ ต้องสามารถตรวจสอบได้ เพชรรัตน์ มองว่าในฐานะตัวแทนพรรคการเมืองก็อยากจะผลักดันเรื่องนี้ให้สำเร็จให้ได้ 

กาย สมาชิกกลุ่มริทัศน์เชียงใหม่ มองว่า “เราเห็นคนจากหลากหลายวิชาชีพ ตั้งแต่นักศึกษา คนทำงาน เรากำหนดไว้ 18-25 ปี มันเลยมีความหลากหลาย มีคนมองเมืองรูปแบบต่าง ๆ เราพยายามทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน หลาย ๆ กลุ่มมีความชัดเจนของเขา เราเริ่มสร้างเครือข่ายขึ้นมาและเราสามารถร่วมกันทำงานได้ และมันทำให้สิ่งที่เราพูดมันจะใหญ่ขึ้น สร้างจินตนาการร่วมกันได้” กายย้ำว่า Open data สำคัญต่อการทำงานต่อไป เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ และจะทำให้ลดการทำงานแบบซ้ำซ้อนลงได้

ภาพ: สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง