พฤษภาคม 15, 2024

    สุ้มเสียงในวันที่ยังไม่มีชื่อเรียกLecture performance โดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และลานยิ้มการละคร

    Share

    “เวลาที่เราพูดถึงอำนาจตุลาการ เราจะคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย ในแต่ละประเทศก็มีการแบ่งสัดส่วนที่แตกต่างกัน แต่ประเด็นสำคัญคือ ความคิดนี้เพิ่งจะเข้ามาในไทยได้ไม่นานในสังคมไทย เวลาที่พูดถึงศาลหรือฝ่ายบริหาร ทั้งหมดนี้มันจะคานอำนาจกันเอง ซึ่งเป็นความคิดที่ใหม่และไม่อยู่ในความคิดของคนไทย คนส่วนมากคิดว่าอำนาจนั้นต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกระบวนการยุติธรรม การพิพากษา ไปตั้งแต่ระดับตำรวจ ทั้งหมดนี้ทำไปโดยคิดว่าอำนาจนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยไม่แบ่งแยก หากจะบอกว่าผมสามารถมีสิทธิการชุมนุมโดยสงบ เพราะรัฐธรรมนูญได้รองรับไว้ แต่ก็แสดงว่าอำนาจไม่มีอยู่จริง เพราะอำนาจได้บอกว่าห้ามมีการชุมนุม หากไม่พอใจให้เขียนจดหมายร้องเรียนมา เพื่อจะมีการแก้ไขในอนาคต การที่คุณออกมาชุมนุมในท้องถนนนั้นแสดงให้เห็นว่าอำนาจของรัฐไม่มีอยู่จริง จึงจำเป็นต้องจำกัดการชุมนุม เพื่อจะทำให้เกิดบทเรียนว่าอำนาจไม่สามารถแยกออกจากกันได้”

    “เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการตั้งรัฐบาลด้วยการรัฐประหาร กฎหมายจะเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายอีกต่อไป เพราะนี่เป็นการทำผิดกฎหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อกฎหมายนั้นไร้ความหมาย จึงมีคำพิพากษากระบวนการพิจารณาความคดีในศาลที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติมาก ๆ แต่กฎหมายของฝรั่งนั้นมีความพิเศษอย่างหนึ่งคือ เป็นกฎหมายที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานของปัจเจกบุคคลที่คุณต้องรับผิดชอบการกระทำของคุณแต่ผู้เดียว ทำให้เห็นข้อสังเกตที่ว่ากฎหมายที่ผรั่งบังคับให้เราใช้มาเป็นเวลานานนั้นจริง ๆ แล้วก็ยังไม่ได้ถูกบังคับใช้อย่างจริงจังในประเทศไทย ซึ่งโดยรูปแบบก็ไม่ได้แตกต่างจากตัวกฎหมายสมัยพ่อขุนรามคำแหงเลย ดังนั้นกฎหมายที่ไม่ชัดเจนนี้ไม่สามารถถือว่าเป็นกฎหมายได้ เพราะเราไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรที่ไม่ผิด ทำให้ต้องว่าตามที่ผู้พิพากษาเป็นผู้กำหนดการตีความตัวกฎหมาย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรจะพูดถึงในประวัติศาสตร์กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย”

    “ผมคิดว่าประเทศไทยจะมีความเปลี่ยนแปลงแน่นอน สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นว่าเราอยู่กันอย่างนี้ไม่ได้ ผมก็เข้าใจว่าฝ่ายอำนาจก็รู้ว่าเราไม่สามารถพยุงสิ่งเหล่านี้ได้ไม่นาน ถึงทำได้ก็จำเป็นที่จะต้องใช้วิธีที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ คำถามก็คือเราจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยวิธีที่เสียเลือดเสียเนื้อน้อยกว่าเดิมได้หรือไม่”

    อ่านต่อได้ที่ https://www.lannernews.com/01022566-02/

    Related

    สำรวจความนิยมการใช้ ‘รถแดงเชียงใหม่’ ผ่านงานวิจัย

    เรื่อง : วิชชากร นวลฝั้น ถือเป็นอีกเรื่องร้อนแรงในโซเชียลมีเดียเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสข้อความตัดพ้อว่ารถตุ๊กตุ๊กและรถแดงในจังหวัดเชียงใหม่ที่ใกล้ถึงทางตัน เมื่อ 11 พฤษภาคม...

    ประณามศาล-รัฐ เพิกเฉย ก่อการล้านนาใหม่แถลงการจากไป ‘บุ้ง เนติพร’

    14 พฤษภาคม 2567 คณะก่อการล้านนาใหม่ - NEO LANNA ร่วมกับ กลุ่มนิติซ้าย...

    มองศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์พะเยา (ตอนจบ) ของกิ๋นพะเยา ไประดับโลกได้ไหม

    เรื่อง: กมลชนก เรือนคำ ชุดบทความนี้อยู่ภายใต้โครงการจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้วยพันธกิจที่ 4 ของมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่นของชุมชนวัฒนธรรมระเบียงกว๊านพะเยา อ่าน เมดอินพะเยา: มองศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์พะเยา (ตอน...