กลุ่มนศ.ประวัติศาสตร์ มช.เผยแถลงการณ์ ค้านส.ว.ไม่เคารพเสียงประชาชน ชี้ทำลายความหวังแห่งประชาธิปไตย

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา กลุ่มนักศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เผยแพร่แถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ ที่ไม่เคารพฉันทามติของประชาชน ในการลงคะแนนโหวตผู้ดำรงดำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมือวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีส.ว.เพียง 13 คนเท่านั้นที่สนับสนุนและลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีตามแนวทางประชาธิปไตย

ในส่วนของส.ว.ที่งดออกเสียงทางกลุ่มนักศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย ชี้ว่าแม้ส.ว.บางคนคิดว่าการงดออกเสียงจะถือเป็นการแช่แข็งอำนาจของตัวเอง แต่แท้จริงแล้วเป็นการกระทำที่แสดงถึงความขี้ขลาดและไร้กระดูกสันหลัง พร้อมย้ำเตือนถึงที่มาของเงินเดือนของเหล่าส.ว.ที่มาจากภาษีของประชาชน


แถลงการณ์จากกลุ่มนักศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“เนื่องด้วยการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ที่ผ่านมาได้มีการเสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรี โดยเป็นไปตามแนวทางในระบอบประชาธิปไตยที่ยึดมติของพรรคเสียงข้างมากซึ่งหมายถึงฉันทามติของประชาชนเป็นสาคัญ ในครั้งนี้พรรคก้าวไกลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดและได้เป็นผู้นาในการจัดตั้งรัฐบาล มีเสียงสนับสนุนรวมทั้งสิ้น 312 เสียง จาก 8 พรรคการเมือง ในขณะที่การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องใช้เสียงอย่างน้อย 375 เสียง เพื่อที่จะกลายเป็นมติที่ถูกต้องตามข้อบังคับการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ความคาดหวังจากหลายฝ่ายจึงเป็นการที่พรรคเสียงข้างมากได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกวุฒิสภา ทว่าในความเป็นจริงที่ทราบกันนั้น การลงมติดังกล่าวกลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกวุฒิสภาอย่างที่ควรจะเป็น

แม้มีสมาชิกวุฒิสภาถึง 13 ท่านที่ให้การสนับสนุนและลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีตามแนวทางประชาธิปไตย แต่การกระทำของสมาชิกวุฒิสภาโดยส่วนใหญ่กลับขัดต่อเจตจำนงของประชาชน และได้ทำลายความหวังแห่งประชาธิปไตยลงอย่างน่าเสียดาย โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่การรัฐประหารนั้น ประเทศไทยได้ถูกแช่แข็งด้วยกลไกโครงสร้างของรัฐที่กำหนดกติกามากมายผ่านรัฐธรรมนูญซึ่งเอื้อต่อคณะรัฐประหารเอง จวบจนวันนี้ฝ่ายที่ได้รับเสียงข้างมากสามารถรวบรวมเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร กลับต้องพ่ายแพ้ต่อสมาชิกวุฒิสภาจนไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ในวาระการประชุมแรกและจำต้องเลื่อนออกไปในอีกวาระที่จะถึงคือ ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566

ด้วยเหตุนี้ ในนามของ “กลุ่มนักศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงต้องการแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของสมาชิกวุฒิสภาที่ลงมติสวนฉันทามติ ทั้งงดออกเสียงและการไม่เห็นชอบต่อการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แม้บางท่านอาจคิดว่าการงดออกเสียงเป็นการแช่แข็งอำนาจของตนเอง แต่แท้จริงแล้วเป็นการกระทำที่แสดงถึงความขี้ขลาดและไร้กระดูกสันหลังอย่างมาก จึงจำเป็นอย่างมากที่เหล่าสมาชิกวุฒิสภาจะต้องสำเหนียกถึงที่มาที่ไปของเงินเดือนอันมาจากภาษีของพี่น้องประชาชนที่ทำงานอย่างหนักหนาสาหัส เพื่อหวังให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อตนเองและสังคมไทย พร้อมด้วยตำแหน่งที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความเป็นประชาธิปไตยน้อยที่สุดอีกฉบับของประวัติศาสตร์ไทยและยังรวมไปถึงกระบวนการปิดกั้นการประชาสัมพันธ์ที่มาและที่ไปของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 นี้ ดังนั้นจงยืนเคียงข้างฉันทามติของประชาชนโดยแท้จริง เพราะการกระทำที่ผ่านมาเป็นการทำลายความหวัง ความฝันของประชาชนและประเทศชาติโดยทั้งสิ้น ท่านไม่แม้เพียงทำลายสังคมไทยปัจจุบันที่ดำเนินอยู่ แต่มันยังส่งผลกระทบอย่างมากในอนาคตของชาติ ขอให้สมาชิกวุฒิสภาทั้งหลายจงเคารพเสียงส่วนมากของประชาชน และตั้งใจทำงานเพื่อรับใช้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริง”

พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

slot deposit pulsa
Wanita Karawang Jackpot 800 Juta dari Mahjong Ways 2