สหภาพแรงงานบาริสต้าเชียงใหม่-ก้าวไกล จัดเวที “ทำงาน พักผ่อน ใช้ชีวิต” แลกเปลี่ยนเรื่องราวของคนทำงาน

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567 เวลา 17.30 – 20.00 น. สหภาพแรงงานบาริสต้า เชียงใหม่ ร่วมกับพรรคก้าวไกล จัดงานหรือเราต้องทำงานไปจนตาย “ทำงาน พักผ่อน ใช้ชีวิต” และได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรื่องราวของคนทำงาน เพื่ออนาคตที่มีความหวังของคนทำงาน และคนทำงานเป็นผู้กำหนดอนาคตของตนเอง ณ ลานท่าแพ จ.เชียงใหม่

ภายในงานมีการเปิดงานด้วยวงดนตรี หลังจากนั้นเข้าสู่ วงสนทนา “ทำงานพักผ่อนใช้ชีวิต”กฎหมายคุ้มครองแรงงานก้าวไกล “ว่าด้วยกฎหมายแรงงานฉบับใหม่แกะกล่องที่ถูกปัดตกไป นำมาสู่การพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกฎหมายฉบับดังกล่าว และประเด็นปัญหาของคนทำงานในจังหวัดเชียงใหม่” ดำเนินรายการโดย สหัสวัต คุ้มคง สมาชิกผู้แทนราษฎรชลบุรี เขต 7

ด้าน เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชียงใหม่ เขต 1 กล่าวว่า ถ้าพูดถึงในเมืองเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการบริการ การท่องเที่ยว หรือการนวดสปา แต่ถ้าเทียบภูเก็ตกับเชียงใหม่ ภูเก็ตจะมีค่าแรงที่สูงกว่าเชียงใหม่ เท่าที่เราได้ไปสอบสัมภาษณ์แม่บ้านในเชียงใหม่ เขาบอกว่าได้ค่าแรงวันละ 314 บาท ซึ่งต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำและคาดว่าน่าจะโดนหักค่าประกันสังคมออกไปแล้วด้วย ถ้าหากหักออกไปซื้อแมสก์กันฝุ่น PM.2.5 วันละ 100 บาท ก็คงเหลือรายได้ต่อวันเพียง 214 บาท สำหรับการจ้างงานในเชียงใหม่ก็มีทั้งในระบบและนอกระบบ ส่วนใหญ่จะเป็นฟรีแลนซ์มากกว่า

“เชียงใหม่เป็น 1 จังหวัดเศรษฐกิจเขตพิเศษที่มติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกมาแล้ว แต่ยังไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างครบทุกมิติเท่าที่ควรและอยู่ในขั้นตอนดำเนินการศึกษา ซึ่งเชียงใหม่จะประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคแต่ว่ายังไม่สามารถที่จะมีงบประมาณมาให้แรงงานของเราเพื่อ Up Skill หรือ Re skill เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมเป้าหมาย แรงงานสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมติจิตอล รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่างๆ และรัฐบาลก็ยังไม่มีแผนที่จะทำอย่างไรต่อไป” เพชรรัตน์กล่าว

ขณะที่ ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สมาชิกผู้แทนราษฎรเชียงใหม่ เขต 8 กล่าวว่า ปัจจุบัน PM.2.5 นั้นหลัก ๆ คือ 1.มาจากไฟป่า 2.การเผาพื้นที่การเกษตร 3.มลพิษทางอากาศที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เชียงใหม่เราต้องอยู่ในสภาวะหมอกควันเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี และทำลายสถิติทุก ๆ ปี และเรื่องสิ่งแวดล้อมสืบเนื่องจากมีพระราชบัญญัติการเกิดโรคจากการประกอบวิชาชีพและสิ่งแวดล้อม

ภัทรพงษ์ กล่าวต่อว่า พระราชบัญญัตินี้จะระบุชัดเจนว่าผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับแรงงานที่ป่วยจากโรคที่เกิดจากการประกอบวิชาชีพและสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ยุ่งยากมาก โดยต้องให้แพทย์เป็นผู้ระบุว่าเจ็บป่วยต่อเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งเราต้องทำงานมาเป็น 10 ปีกว่าจะเกิดผลกระทบให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยซึ่งแพทย์หลายๆ คนก็ไม่กล้าระบุเพราะว่าเป็นสิ่งที่ผิด 

“นี่เป็นสิ่งที่เรากำลังศึกษาเรื่อง พ.ร.บ.อากาศสะอาด เราเห็นแล้วว่าที่ผ่านมากฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้เลย เราจะเอาข้อผิดพลาดมาเติมเต็มอย่างไรได้บ้าง ในพรบ.อากาศสะอาดให้บังคับใช้ได้จริง ทั้งนี้ทั้งนั้นเรื่องฝุ่นหรือเรื่อง PM 2.5 ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วย พ.ร.บ.อากาศสะอาด เพียงอย่างเดียว กฎหมายเป็นส่วนสำคัญ แต่เรื่องการบริหารและงบประมาณนั้นสำคัญกว่ากฎหมายด้วยซ้ำไป”ภัทรพงษ์กล่าว

ด้าน ศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร เขต 2 สมาชิกผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในปัจจุบันถ้าเป็นคนรุ่นเราทำงานในช่วงชีวิตนึงแล้วก็รู้สึกว่าเราต้องการพักผ่อนกับชีวิตแบบที่ภาครัฐมีสวัสดิการให้เรา เราคือผู้เสียภาษีและในช่วงเวลาที่เราเสียไปควรที่จะได้กลับมาหาเราในบั้นปลายชีวิตที่ดีกว่านี้ ดีกว่า 600 บาท เดือน ในอนาคตผมมองว่าประเทศของเราควรที่จะล้างระบบสวัสดิการใหม่ให้กว่านี้ เพราะสิ่งที่เราได้เห็นคือพี่น้องประชาชนอยู่ในความยากลำบาก 

“สำหรับคนที่เกษียณอายุการทำงานหรือผู้สูงอายุต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า เงิน 600 บาทไม่มีความเพียงพอ เขายังคงรับจ้างหารายได้มาจุนเจือในบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้นภาครัฐควรมองเห็นชีวิตของประชาชนให้มากกว่านี้และควรจะจัดสรรงบประมาณ จัดสรรสวัสดิการให้คลอบคลุมทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกลได้เสนอ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ไป แต่กลับถูกรัฐบาลปัดตกคว่ำร่างฉบับนี้ไป แต่สำหรับ พ.ร.บ. ที่ผ่านมีเพียงการแก้ไขสิทธิการลาคลอดและการคุ้มครองแรงงานภาครัฐเท่านั้น” ศิริโรจน์กล่าว

ขณะที่ เริงฤทธิ์ ละออกิจ สหภาพแรงงานบาริสต้า เชียงใหม่ กล่าวว่า  ความหวังเขาแรงงานอย่างเราคืออะไร ความหวังในการได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนทำงานคืออะไร ก็เหมือนอีกหลายคนที่ตอบคำถามนี่ด้วยคำว่าก็คือความขยัน Work hard ไม่เลือกงาน ยังไงล่ะ ณ ช่วงเวลาที่ผมเองตะบี้ตะบันทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย 7 ชั่วโมงเข้ายันเที่ยงคืน ไม่หยุดเลยลากยาว 3 เดือนกว่า ตอนนั้นผมไม่เคยตั้งคำถามถึงลักษณะหรือองค์ประกอบใดบ้างที่จะช่วยทำให้ชีวิตเรามีความมั่นคงคิดได้ตาตาอย่างเดียวคือต้อง ทำงาน ทำงาน ทำงาน ความเปราะบางในชีวิตไม่เคยถูกตั้งคำถามถึงเลย หลักประกันที่จะคอยค้ำยันความเป็นมนุษย์ที่ได้มีโอกาสใช้ชีวิต ได้ทำตามความฝันคืออะไร จนเมื่อโควิดเข้ามาทำให้ความเปราะบางและไร้ซึ่งเสถียรภาพของชีวิตผมได้ปรากฏชัดขึ้น

เริงฤทธิ์ กล่าวต่อว่า ผมคือคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่อาจจะเข้าถึงการช่วยเหลือหรือเยียวยาใด ๆ จากภาครัฐ ได้แต่ใช้ชีวิตไปวัน ๆ ด้วยเงินเก็บสะสมที่มี ตอนนั้นผมได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นที่เชียงใหม่และได้ติดตามสถานการณ์ที่กรุงเทพฯ ได้ฟังหลานคนพูดในสิ่งทีเราไม่เคยได้ยินมาก่อน หนึ่งในนั้นคือคำว่าสิทธิ์แรงงานและรัฐสวัสดิการ ตัวผมเข้าสู่ตลาดแรงงานตอนปี 58 ค่าแรงที่ผมได้คือ 200 บาท ก่อนจะเปลี่ยนงานไปอีกที่ได้ค่าแรง 67 บาทและ 100 บาท ผมทำอยู่ 4-5 ปี ก่อนจะออกมาทำงานกลางวัน ช่วงเวลานั้นผมไม่เคยรับรู้เลยว่าแรงงานมีสิทธิ์อะไรบ้าง จนเมื่อผมทราบผมจึงลองคิดว่าหากเราได้ค่าแรงและสิทธิตามกฎหมายเราจะเข้าใกล้ความฝันหรือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมากแค่ไหนกันนะ

“แล้วพอผมก้าวมาทำสหภาพแรงงานกับเพื่อน ๆ ได้ลุยทำกิจกรรมและให้การช่วยเหลือแรงงานหลากหลายอาชีพทั้งให้คำปรึกษาและพาเข้าสู่กระบวนการร้องทุกข์ ทำให้เห็นเลยว่าตัวกฎหมายเองก็มีปัญหาและการบังคับใช้อย่างทั่วถึงก็มีปัญหาเช่นกัน แต่ท้ายที่สุดแล้วตั้งต่อของปัญหาเหล่านี้คือการไร้ซึ่งอำนาจต่อรองของแรงงาน เราไม่กล้าแม้จะเอ่ยปากว่าสิ่งที่นายจ้างทำผิดด้วยซ้ำเพราะเราทุกคนล้วนกลัวตกงาน แต่หากเรามีองค์กรแรงงาน โดยแรงงาน และเพื่อแรงงาน ที่จะคอยปกป้องและเป็นปากเสียงแทนแรงงานทุกคน ในภายหน้าความกลัวที่ไร้ซึ่งอำนาจต่อรองที่ทำให้เราต้องยอมจำนนต่อการถูกกดขี่มันจะลดน้อยถอยลงไป การสร้างสังคมที่ดีขึ้นเพื่อคนในรุ่นถัดไปคือหน้าที่เรา การไม่ยอมให้การถูกกดขี่ส่งต่อไปถึงคนรุ่นหลังก็คือหน้าที่เราเช่นกัน มาร่วมสร้างสรรค์สังคมเพื่อคน 99% กัน เราทุกคนคือคนทำงาน” เริงฤทธิ์กล่าว

ศุภลักษณ์ บํารุงกิจ กล่าวว่า การพัฒนาเมืองเชียงใหม่และประเทศไทย ที่จะเห็นได้จากนโยบายและแนวทางในการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ อาทิ Chiang Mai Medical & Wellness City, Chiang Mai Smart City หรืออะไรก็แล้วแต่ทั้ง ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ หรือข่าวการตั้งโรงงานเทสล่า ก็ตาม คำถามคือ แรงงานได้อะไรจากตรงนั้นบ้าง แรงงานจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร คำว่าแรงงานอยู่ในนั้นหรือไม่ แล้วสิ่งที่แรงงานต้องการจริง ๆ คืออะไร เราต้องการเบาะรองรับเหมือนนายทุนเวลาล้มเหลว ไม่ใช่ว่าบริษัทหนึ่งไม่จ่ายค่าแรง 7 เดือนก็อยู่ได้ การไม่จ่ายเงินเดือนเดือนเดียวเราก็อยู่ไม่ได้แล้ว การที่บอกว่าคุณจ่ายแล้วมันลบล้างได้หรือไม่ ในระยะยาวเราต้องการรัฐสวัสดิการต่างหาก 

“เราจะเห็นว่ามีระเบียงเศรษฐกิจ หรือข่าวโรงงานเทสล่าจะมาลงทุนในเชียงใหม่ แต่ค่าแรงของแรงงานยัง 350 บาทอยู่ เอามาทำไมถ้าไม่มีแรงงานในสมการนี้ เราต้องการกฎหมายแรงงาน เราต้องการสิทธิในการรวมตัวของเรา” ศุภลักษณ์ กล่าว

สุชาติ สุริยวงศ์ ตัวแทนจากกลุ่มสื่อเพื่อการขอสัญชาติตี่ตาง ได้ขึ้นปราศัยว่าแรงงานที่ทำงานเวลาเท่ากันแต่ได้ไม่เท่ากัน แรงงานข้ามชาติได้ไม่เท่าแรงงานคนไทย ผู้หญิงได้น้อยกว่าผู้ชาย หรือแม้แต่ค่าแรงในจังหวัดเชียงใหม่ถึงไม่เท่ากับที่กรุงเทพฯ พร้อมทั้งการพูดถึงกฎหมายว่าสรุปคุ้มครองใครกันแน่

“จริง ๆ กฎหมายนั้นคุ้มครองใครกัน แรงงานหรือนายทุนกันแน่ ไม่อยากให้มีการทิ้งใครไว้ข้างหลัง แรงงานข้ามชาติเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเมือง อย่าผลักไสและอ้างว่าแรงงานข้ามชาติแย่งงานแรงงานไทย”

ทั้งนี้สุชาติยังอธิบายต่อว่า ตัวแทนประชาชนที่อยู่ในสภาได้ทำหน้าที่เพื่อคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนแล้วหรือยัง

พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง