เมษายน 27, 2024

    ขอ ศ.นานที่สุดในโลก! ‘สมชาย’ ฟ้อง มช. เหตุล่าช้าต่อหน้าที่

    Share

    20 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. ที่ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์และหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เดินทางมายื่นคำฟ้องต่อ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับพวกรวม 4 คน กรณีขอตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ยื่นขอไปเมื่อปี 2558 แต่ยังไม่มีการดำเนินการยาวนานกว่า 100 เดือน

    สมชาย กล่าวว่าตนได้ขอตำแหน่งศาสตราจารย์ไปเมื่อปี 2558 และสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ได้มีคำอนุมัติเมื่อปี 2562 แต่ภายหลังจากนั้นเป็นต้นมาทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ได้ส่งหนังสือขอเอกสารหลายชิ้นเพิ่มเติมหลังผ่านไปแล้วกว่า 6 ปี ทั้งที่ในตอนยื่นเอกสารในตอนแรกหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้มีข้อโต้แย้งใด ๆ และที่ผ่านมา สมชาย ได้ค้นหาหลักฐานและส่งกลับให้ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นที่เรียบร้อย แต่กระบวนการก็ยังไม่มีความคืบหน้า

    “การขอตำแหน่งผ่านมาร้อยกว่าเดือนแล้ว ก็ยังไม่เห็นความคืบหน้า นี่น่าจะเป็นการขอตำแหน่งศาสตราจารย์ยาวนานที่สุดในสยามประเทศนี้”

    ด้าน วัชลาวลี คำบุญเรือง ทนายความในคดีดังกล่าว ได้กล่าวว่า หลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการไม่ได้มีกำหนดระยะเวลากฎหมายที่ชัดเจน ในทางปกครองจึงถือว่าหลักเกณฑ์ระยะเวลาที่สมควรแก่เหตุก็คือ 90 วัน แต่การที่ สมชาย ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์จากทางสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2562 กระบวนการยังไม่แล้วเสร็จจนกระทั้งปี 2567 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ จึงเห็นว่าการกระทำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 จึงล่าช้าต่อหน้าที่ เป็นเหตุให้มาฟ้องคดีในครั้งนี้

    สมชาย กล่าวต่ออีกว่า “นี้เป็นปัญหาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จริงๆ เรื่องนี้มันเป็นเรื่องปกติของความก้าวหน้า ผมคิดว่ามีนักวิชาการจำนวนมากที่ยื่นขอตำแหน่งหลังผม แต่ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นที่เรียบร้อย แต่กรณีของผมเป็นข้อยกเว้นทำให้เกิดคำถามว่ามันเกิดอะไรขึ้น ถ้าถามว่าถูกกลั่นแกล้งหรือเปล่าตนไม่สามารถตอบได้ แต่ตอบได้ว่านี้เป็นภาวะที่ไม่ปกติ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ควรแสดงความรับผิดต่อเรื่องนี้มากกว่าที่เป็นอยู่ ตนได้ไปปรึกษาหารือกับผู้บริหารหลายท่านแล้ว แต่ผลปรากฎว่าผลก็ยังเหมือนเดิม”

    “ถ้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประกาศตัวว่าเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกผมคิดว่ากรณีของผมน่าจะถือระดับโลกเหมือนกัน ในเรื่องความล่าช้าที่สุดในโลกในการขอตำแหน่งศาสตราจารย์ เพื่อนนักวิชาการญี่ปุ่นได้ยินเรื่องของผม ตกใจมาก มันมีเรื่องแบบนี้อยู่โลกได้ด้วยหรือ”

    “แรก ๆ กะจะไปขอกินเนสบุ๊กให้ทำสถิติขอตำแหน่งศาสตราจารย์ที่นานที่สุดในโลก แต่ต้องเสียเงิน เลยไม่เอาละ” สมชายกล่าวปิดท้าย

    รวมผลงานวิชาการ รศ.สมชาย ทำไมยังไม่ได้ ศ.

    รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล บรรจุเข้าเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2541 และมีผลงานทางวิชาการทั้งในรูปแบบงานวิจัยและหนังสือในช่วงปี 2543 – 2561 มากมาย แบ่งเป็นงานวิจัย 11 หัวข้อ และหนังสืออีก 9 เล่ม

    งานวิจัยวิชาการ

    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2546 โครงการทบทวนองค์ความรู้ระบบความ ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม.
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2547 บทสำรวจ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535: สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2551 เพศวิถีในคำพิพากษา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระพีพัฒนศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ CIDA และโครงการ UNIFEM CEDAW SEAP ประเทศไทย
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2551 การติดตามและประเมินผลโครงการจัดตั้งคณะอนุกรรมการประสานงาน ป.ป.ช. ประจ าจังหวัด (ภาคเหนือ) โครงการน าร่องจังหวัดล าพูนและสุโขทัย. 2551.
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2556 บุคคลเพศหลากหลายในระบบกฎหมาย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ
    • Somchai Preechasinlapakun. 2013 (2556) Dynamics and Institutionalization of Coups in the Thai Constitution. Japan: Institute of Developing Economies.
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล และคณะ. 2557 การศึกษาพัฒนาการการรับรอง และคุ้มครองสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล และคณะ. 2557 เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธตามบทบัญญัติของกฎหมาย.
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2558 ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 – 2550
    • นิฐิณี ทองแท้ และสมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2559 กรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญชื่อ “ป๋วย” ใน ประจักษ์ ก้องกีรติ และปกป้อง จันวิทย์ บรรณาธิการ ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล (2561). โครงการการเมืองเชิงตุลาการและศาลรัฐธรรมนูญไทย: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

    หนังสือ / ตำรา / เอกสารคำสอน

    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2543 สิทธิการดื้อแพ่งต่อกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการเมือง
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2546 ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของบิดาแห่งกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2546 นิติปรัชญาทางเลือก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2548 นิติศาสตร์นอกคอก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2548 นิติศาสตร์ชายขอบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2549 นิติศาสตร์ไทยเชิงวิพากษ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2550 อภิรัฐธรรมนูญไทย ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2550 วัน อาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2550 ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2552 ระบบกฎหมายไทยและสภาวะแม่เลี้ยงเดี่ยว ใน โสภิดา วีรกุล เทวัญ บรรณาธิการ. เป็นพ่อแม่หลังชีวิตคู่แยกทาง: มุมมองด้านกฎหมาย, มิติหญิงชายและวาท กรรม. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์
    • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. 2558 การวิจัยกฎหมายทางเลือก: แนวคิดและพรมแดนความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน

    Related

    อยู่-ระหว่าง-เหนือล่าง : เหนือล่างกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ภูมิภาคเหนือตอนล่างคือพื้นที่ระหว่างภาคกลาง (กล่าวโดยนัยคือกรุงเทพฯ) กับภาคเหนือ ภายใต้ประพัฒนาการของรัฐไทยที่เริ่มต้นในช่วงรัชการที่ 5 มาจนถึงตอนนี้ ภูมิภาคเหนือตอนล่างถูกละเลยไปจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ไปจนหาความต่อเนื่องได้ยาก...

    ล้านนาบ่แม่นก้าคนเมือง : สังคมพหุวัฒนธรรมในล้านนา

    เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Lanner ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา...

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...