คณาจารย์ ประชาชนและสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมลงชื่อส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ,เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ,เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง หลังรัฐบาลทหารเมียนมาได้ประกาศบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหาร ไปเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สร้างความกังวลในความปลอดภัยต่อประชาชนเมียนมาโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่ต้องถูกบังคับให้กลับไปยังเมียนมา โดยมีเนื้อหาดังนี้
“ตามที่ได้มีการทำรัฐประหารในเมียนมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 และสภาบริหารแห่งรัฐเมียนมา (State Administration Council, SAC) ที่ปกครองประเทศหลังจากนั้นได้ทำการต่อสู้ทางอาวุธกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยและฝ่ายต่อต้านที่เรียกร้องประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายงานว่าการโจมตีของกองทัพพม่าหลายครั้งเป็นการละเมิดหลักปฏิบัติสากลเกี่ยวกับการต่อสู้ด้วยอาวุธ เช่น การทิ้งระเบิดใส่โรงพยาบาล โรงเรียน หรือเขตที่พักของพลเรือน จับกุม ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ ส่งผลทำให้ประชาชนชาวเมียนมาต้องหลบหนีภัยสงครามออกจากประเทศเป็นจำนวนมาก และสหประชาชาติประมาณการณ์ว่าทำให้เกิดผู้ลี้ภัยหนีการสู้รบไปยังประเทศเพื่อนบ้านรวมกว่า 59,700 คน และมีผู้ผลัดถิ่นภายในประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 2,574,500 คน ทำให้ผู้ที่อพยพหนีมาอยู่ตามชายแดนไทย-พม่ามีจำนวนสูงยิ่งขึ้น ในขณะที่ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมยังคงมีอยู่อย่างจำกัด
ล่าสุด ได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ว่าจะบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหาร ที่กำหนดให้ผู้ชายอายุ 18-35 ปี และผู้หญิงอายุ 18-27 ปี ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารเป็นเวลาอย่างน้อยสองปี และในกรณีผู้ประกอบวิชาชีพที่ใช้ความเชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ วิศวกร อายุเกณฑ์ทหารขยายเป็น 45 ปีสำหรับผู้ชาย และ 35 ปีสำหรับผู้หญิง จนทำให้ประชาชนชาวเมียนมาโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวเกิดความกังวลใจในสวัสดิภาพของตนและคนในครอบครัว เนื่องจากปัจจุบันกองทัพพม่ากำลังสู้รบกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยและกองกำลังปฏิวัติอื่นๆ ที่ต่อต้านการยึดอำนาจและเรียกร้องให้ประเทศกลับคืนสู่ประชาธิปไตย
แม้ทางการเมียนมาจะประกาศว่าจะเริ่มการบังคับเกณฑ์ทหารในช่วงปลายเดือนเมษายนหลังจากช่วงเทศกาลปีใหม่ (Thingyan) แต่ในบางพื้นที่ได้เริ่มมีการสำรวจประชากรตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ หรือประกาศเรียกให้ประชากรมารายงานตัว รวมถึงมีรายงานว่ามีการเกณฑ์ทหารเกิดขึ้นแล้วในบางชุมชน ชาวเมียนมาจำนวนมากที่อายุอยู่ในเกณฑ์พยายามเดินทางออกนอกประเทศหรือหนีไปในเขตพื้นที่ควบคุมของกองกำลังชนกลุ่มน้อยและฝ่ายต่อต้านรัฐบาล จำนวนหนึ่งพยายามเข้ามาในประเทศไทยโดยสมัครเข้าศึกษาต่อหรือทำงาน หรือโดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว
สถานการณ์ดังกล่าวยังทำให้ชาวเมียนมาที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงนักศึกษาชาวเมียนมาที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจำนวนหลายพันคน มีความกังวลต่อความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ไม่ต้องการเดินทางกลับประเทศจนกว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลง จึงทำให้พวกเขามีความเสี่ยงจะกลายเป็นผู้ไม่มีสถานะตามกฎหมายมากขึ้นหากสถานะนักศึกษาหรือการทำงาน และวีซ่าหมดอายุลง
ด้วยความกังวลถึงความปลอดภัยของคนหนุ่มสาวทั้งในเมียนมาและในประเทศไทย และด้วยการเล็งเห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาชาวเมียนมาที่สามารถนำมาช่วยพัฒนาประเทศที่พวกเขาพำนักอยู่ได้ หน่วยงานการศึกษา และด้วยความตระหนักถึงพันธกรณีและศักยภาพของประเทศไทยในการให้ความคุ้มครองเยาวชนเหล่านี้ องค์กรและผู้มีรายชื่อด้านล่างนี้ จึงขอเรียกร้องให้
1. รัฐบาลไทยยึดมั่นในหลักการไม่ส่งบุคคลกลับไปยังประเทศที่พวกเขาจะถูกประหัตประหารหรือถูกทรมาน (non-refoulement) อันเป็นหลักการตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ รวมถึงเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยมีตามอนุอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และตามมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ที่ระบุว่า “มาตรา 13 ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐขับไล่ ส่งกลับ หรือส่งบุคคล เป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้น จะไปตกอยู่ในอันตรายที่จะถูก กระทำทรมาน ถูกกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือ ถูกกระทำให้สูญหาย” โดยผ่อนผันให้ชาวเมียนมาที่อายุอยู่ในวัยถูกเกณฑ์ทหาร สามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวได้
2. รัฐบาลไทยขยายอายุวีซ่าให้แก่นักศึกษาชาวเมียนมาที่ใกล้จะสำเร็จการศึกษา เพื่อให้พวกเขาสามารถอยู่ในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งพิจารณาการปรับเงื่อนไขการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราวีซ่ามาเป็นประเภทนักศึกษา หรือวีซ่าทำงานประเภททักษะวิชาชีพ โดยให้ดำเนินการขอเปลี่ยนในประเทศไทยได้ (ไม่ต้องกลับไปดำเนินการในประเทศต้นทาง) เป็นกรณีเฉพาะ รวมทั้งอนุญาตให้นักศึกษาเหล่านี้สามารถขออนุญาตทำงานระหว่างการศึกษาเป็นกรณีพิเศษ
3. รัฐบาลไทยอำนวยกระบวนการขอวีซ่าให้ผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศไทย โดยเฉพาะสำหรับเข้ามาศึกษาต่อ เพื่อให้ขั้นตอนและกระบวนการรวดเร็วยิ่งขึ้น และปลอดภัยสำหรับพลเมืองเมียนมาที่อยู่ในพื้นที่สู้รบและไม่สามารถเดินทางไปยื่นเอกสารด้วยตนเองได้ เช่น การเปิดให้สามารถยื่นเอกสารและขอวีซ่าทางออนไลน์ได้
4. สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือหลักสูตรวิชาชีพต่างๆ พิจารณารับนักศึกษาชาวเมียนมาเข้าศึกษาเป็นการพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพิจารณารับโอนหน่วยกิตกรณีนักศึกษาที่ไม่จบการศึกษาจากประเทศเมียนมาเนื่องจากเข้าร่วมขบวนการพลเมืองขัดขืน (civil-disobedience) ให้เทียบเท่ากับเกณฑ์การศึกษาหรือการรับเข้าศึกษาของสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เพื่อให้เยาวชนเมียนมาสามารถสำเร็จการศึกษาหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้
5. รัฐบาลควรมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้กลุ่มนักศึกษาชาวเมียนมาที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทาง แต่ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย (วีซ่า) และ/หรือหนังสือเดินทางหมดอายุ ไม่สามารถดำเนินการต่อหรือทำใหม่กับทางการเมียนมาได้ สามารถอยู่ในประเทศไทยและศึกษาต่อ รวมทั้งพิจารณาอนุญาตให้ทำงานเป็นการเฉพาะตามทักษะหรือความรู้เป็นการชั่วคราว อย่างน้อย 2 ปี หรือจนกว่าสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในประเทศต้นทางจะสิ้นสุดลง”
โดยที่จดหมายเปิดผนึกดังกล่าว ได้มีการรวบรวมรายชื่อนักวิชาการจำนวนถึง 69 คน และบุคคลทั่วไปอีก 58 คน โดยมีรายชื่อดังนี้
นักวิชาการ
1. อ.ดร.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
2. อ.ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. อ.ดร.ศิรดา เขมนิฏฐาไท คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. ผศ.ดร. ภาณุภัทร จิตเที่ยง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ
5. ผศ.ดร. ชาลี เทม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. ผศ.ดร. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7. ผศ.ดร. ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
8. อ.ธนศักดิ์ โพธิ์ศรีคุณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
9. ผศ.ดร.สุริยะใส กตะศิลา วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
10. อ.กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11. อ.อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
12. ผศ.ดร.ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. อ.ชวพล ช้างกลาง วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
14. ดร.อันธิฌา แสงชัย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15. ผศ.สุนี ไชยรส วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
16. อ.อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
17. รศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18. ผศ.ดร.วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
19. ผศ.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20. ผศ.นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
21. อ.ดร.ณีรนุช แมลงภู่ มานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
22. รศ.ดร.วราภรณ์ เรืองศรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
23. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง นักวิชาการอิสระ
24. อ.ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
25. ผศ.อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
26. อ.ดร.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
27. รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28. ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29. อ.เฉลิมเกียรติ ตะดวงดี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30. อ.ดร.นลินี ณ นคร รักธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
31. ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
32. ผศ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
33. รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
34. รศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35. รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
36. รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
37. ผศ.พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
38. อ.ดร.ภราดา แก้วภราดัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
39. ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
40. ผศ.ดร.ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
41. ผศ.ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
42. ผศ.เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
43. อ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
44. รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
45. อ.เบญจ์ บุษราคัมวงศ์ คณาจารย์โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
46. รศ.ดร.สุดารัตน์ มุสิกะวงศ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
47. รศ.ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
48. อ.ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
49. ผศ.ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
50. อ.อาริยา เทพรังสิมันต์กุล University of Iceland
51. อ.ดร.พิมพ์ปฏิมา นเรศศิริกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
52. อ.คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
53. ผศ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาสิทยาลัยศิลปากร
54. อ.ดร.กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
55. อ.ดร.องค์ บรรจุน คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
56. ผศ.ดร.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
57. อ.จักรกริช ฉิมนอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
58. ผศ.ดร.เสาวนีย์ อเลกซานเดอร์ นักวิชาการ
59. ผศ.ดร.นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์เเละรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
60. อ.ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
61. อ.ดร.ชมเกตุ งามไวกัล สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
62. อ.กานน คุมพ์ประพันธ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
63. อ.ดร.นงนุช จินดารัตนาภรณ์ สถาบันวิจัยประชาการและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
64. ผ.ศ. ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
65. ผ.ศ. ดร.นภารัตน์ กรรณรัตนสูตร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
66. อ. ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
67. อ. ดร.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
68. อ. ดร.ชมเกตุ งามไวกัล สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
69. อ.งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
บุคคลทั่วไป
1. บารมี ไชยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน
2. สิริกาญจน์ บรรจงทัด นักการละคร
3. จารุนันท์ พันธชาติ นักการละคร
4. ลัดดา คงเดช นักการละคร
5. รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง นักการละคร
6. คานธี วสุวิชย์กิต นักการละคร
7. สายฟ้า ตันธนา นักการละคร
8. ภาวิณี สมรรคบุตร นักการละคร
9. เอเลียร์ ฟอฟิ นักกิจกรรมทางสังคม
10. ธงชัย พิมาพันธุ์ศรี นักการละคร
11. ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ นักการละคร
12. สุพงศ์ จิตต์เมือง นักจัดกระบวนการเรียนรู้
13. เยาวเรศ กตัญญูเสริมพงศ์ นักจัดกระบวนการเรียนรู้
14. วิชย อาทมาท นักการละคร
15. เพียงดาว จริยะพันธุ์ นักการละคร
16. จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ฐ นักการละคร
17. วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล นักแสดง
18. นัสรี ละบายดีมัญ นักการละคร
19. ธนพล วิรุฬหกุล นักการละคร
20. นวลปณต ณัฐ เขียนภักดี นักการละคร
21. วสุ วรรลยางกูร นักการละคร
22. ธีระวัฒน์ มุลวิไล นักการละคร
23. สุธารัตน์ สินนอง นักการละคร
24. ประภามณฑล เอี่ยมจันทร์ นักการละคร
25. ศุรัณยา ปุญญพิทักษ์ นักการละคร
26. เผ่าภูมิ ชีวารักษ์ นักการละคร
27. ปองจิต สรรพคุณ Free Theatre, Australia
28. เขมฌัษ เสริมสุขเจริญชัย นักการละคร
29. ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักการละคร
30. ดวิษ นิชฌานธามัน นักการละคร
31. ศรุต โกมลิทธิพงศ์ นักการละคร
32. สินีนาฏ เกษประไพ นักการละคร
33. ทวิทธิ์ เกษประไพ นักการละคร
34. อัจจิมา ณ พัทลุง นักการละคร
35. วศิน พงษ์เก่า
36. จักรพล มรดกบรรพต
37. พิชญ์สินี ชัยทวีธรรม
38. กฤต แสงสุรินทร์
39. กนกวรรณ มีพรหม
40. วุฒิกาญจน์ ศรีรักษา
41. ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย
42. ธเนศ ศิรินุมาศ
43. ศิริพร ฉายเพ็ชร
44. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
45. พจมาลย์ วงษ์พันธุ์
46. วศินี บุญที
47. สุขศรี ชิติพัทธ์
48. เมติมา เมธาธรรมชน
49. กนกพร จันทร์พลอย
50. ภูรินทร์ ลิขิตเลิศ
51. วัชรพล นาคเกษม
52. บุณฑริกา มีชูชีพ
53. จักรินทร์ ศิริมงคล
54. มณีวรรณ พลมณี
55. เพจสัตว์ไรนิ
56. เบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย นักการละคร
57. เววิรี อิทธิอนันต์กุล นักการละคร
58. สุรีย์ฉาย แก้วเศษ นักการละคร
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...