เมษายน 27, 2024

    วงคุยชาติพันธุ์ปลดแอก จุดเริ่มต้นและวิกฤตการเคลื่อนไหวในพื้นที่

    Share

    เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 ได้มีการจัดกิจกรรม ‘พิธีสืบชะตาแม่น้ำสาละวิน’ เนื่องในวันหยุดเขื่อนโลกสากล ณ บ้านสบเมย ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งนอกจากกิจกรรมทำพิธีและการจัด Action Performance ไปแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมเสวนาพูดคุยถึงปัญหาในการทำงานขับเคลื่อนในแต่ละพิ้นที่ ในบทบาทของชาติพันธุ์ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ ร่วมพูดคุยโดยชาติพันธุ์ปลดแอก

    การพูดคุยเสวนานี้มีจุดประสงค์เพื่อเล่าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่ภาครัฐได้ลุกล้ำเข้ามาในพื้นที่อยู่อาศัยของพี่น้องชาติพันธุ์ โดยจากการที่เข้ามาก็ได้นำเอากฎหมายเข้ามาคุกคาม และยังได้นำโครงการการสร้างเขื่อนและเหมืองเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งการกระทำเหล่านี้ได้ส่งผลไปถึงระบบนิเวศและวิถีชีวิตของผู้คนที่ได้อยู่อาศัยร่วมกับแหล่งน้ำอันเป็นที่อยู่อันสำคัญที่ดำรงอยู่ร่วมกันมาก่อนที่กฎหมายด้านป่าไม้จะถือกำเนิดขึ้นมาเสียอีก ทำให้เยาวชนชาติพันธุ์ปลดแอกในแต่ละพื้นที่จะต้องร่วมกันเข้ามาเคลื่อนไหวและต่อกรกับความอยุติธรรมจากรัฐ เพื่อให้ทุกคนได้อาศัยอยู่ร่วมกันบนพื้นแผ่นดินร่วมกับแหล่งน้ำตลอดไป โดยที่ยังมีลมหายใจและรอยยิ้มอยู่เสมอ

    จุดเริ่มต้นในการที่เข้ามาขับเคลื่อนปัญหา

    ลาหมึทอ ดั่งแดนวิมาน ตัวแทนจากบ้านท่าตาฝั่งได้เล่าว่า เมื่อสมัยเรียนจากการที่ตนนั้นเป็นคนไร้สัญชาติที่ไม่สามารถที่จะเข้าถึงสิทธิบางอย่างเหมือนคนอื่นได้ ทำให้เราได้เกิดข้อสงสัยว่าทำไมเราถึงไร้สัญชาติทั้งที่เราก็เกิดที่นี่ และจากการได้เห็นกระบวนการของ EIA ที่มีการยืนยันว่าชาวบ้านได้เห็นด้วยกับโครงการ ทั้งที่ชาวบ้านไม่ได้ทราบถึงข้อกำหนดใด ๆ หรือกระทั่งสิทธิของตนเลย จากจุดนี้ทำให้เราสามารถเข้าถึงปัญหาและตระหนักว่าเราต้องลุกมาขึ้นสู้

    เยาวชนจากกะเบอะดินเล่าว่า หลังจากที่ได้ทราบว่าจะการโครงการทำเหมืองจากภาครัฐบนพื้นที่ ตนก็มีความรู้สึกกลัวถึงผลกระทบที่รุนแรงที่อาจจะส่งผลถึงพื้นที่ทำกินและพื้นที่อยู่อาศัยของเรา

    ปราโมทย์ เวียงจอมทอง ตัวแทนจากบ้านแม่ปอคี ได้เล่าว่าในพื้นที่ของตน ได้มีชาวบ้านถูกจับกุมไปในข้อหาว่าได้เข้าบุกรกทำลายป่า ซึ่งเป็นพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ทำให้เรารู้สึกไม่ดีกับเรื่องนี้ หลังจากนั้นก็ได้มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้และอุทยานเข้ามาในพื้นที่ทุกวัน ทำให้ชาวบ้านมีความกังวลว่าจะโดนอะไรบ้าง ถ้าเราไม่ออกมาเรียกร้องอะไรมันไม่ได้แล้ว

    พิบูลย์ ธุวมณฑล เครือข่ายชาติพันธุ์อมก๋อยเล่าว่า การที่ตนได้เห็นความอยุติธรรมที่เกิดบนพื้นที่ ก็คิดว่าถ้าเราไม่ออกมามันจะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งบริษัทที่เข้ามา ทั้ง EIA ที่ชาวบ้านไม่ได้ทราบถึงเรื่องนี้และไม่ได้มีส่วนร่วม ทำให้พวกเราต้องออกมาสู้กับความอยุติธรรม การที่ได้มาทำงานขับเคลื่อนนี้ยังทำให้ได้รู้จักกับเครือข่ายที่คิดเหมือนกับเราและร่วมสู้ไปด้วยกัน

    ความกังวลในการทำงานขับเคลื่อนในพื้นที่

    ปราโมทย์เล่าว่าตนมีความกังวลถึงชาวบ้านที่ยังไม่มีความเข้าใจในปัญหาของพื้นที่มากพอ ชาวบ้านในชุมชนยังคงมีความหวาดกลัวที่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาในพื้นที่ โดยคิดว่าการที่เจ้าหน้าที่เข้ามา มันเกิดจากการที่ตนได้สร้างปัญหาหรือเปล่า 

    ลาหมึทอได้เล่าเสริมจากประเด็นของปราโมทย์อีกว่า จากประสบการณ์ของตนที่เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาสั่งห้ามการทำกิจกรรมในพื้นที่ จนเป็นเหตุให้ต้องมีการเปลี่ยนหัวข้อกิจกรรม ทำให้เห็นปัญหาของการที่เป็นคนไร้สัญชาติที่ถูกกฎหมายควบคุมการทำงานเคลื่อนไหวของตน จุดนี้ทำให้เราไม่สามารถเชื่อใจกฎหมายได้เลย 

    พิบูลย์เสนอว่าปัญหาที่แท้จริงคือ เราไม่รู้ข้อกฎหมายที่ชัดเจน ชาวบ้านดำเนินวิถีชีวิตเช่นนี้มายาวนานแล้วก่อนที่รัฐจะเข้ามาดำเนินเสียอีก แต่รัฐกลับบอกเราว่า เรามีความผิดข้อหาบุกรุกป่าและต้องมีการขออนุญาตก่อน ซึ่งในตอนนั้นเราไม่สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลบางอย่างได้ จนกระทั่งได้รู้จักกลับเครือข่ายอื่นและมีการแบ่งปันข้อมูลกัน

    ลาหมึทอเล่าถึงปัญหาอีกประเด็นคือ การถูกคนในพื้นที่มองว่าเป็นตัวปัญหา ทำให้ในบางครั้งก็มีความรู้สึกว่าความตั้งใจที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง มันกลายเป็นความรู้สึกกังวลว่าที่ทำอยู่นี้ มันยังเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ กลายเป็นว่าเราไม่ได้รับการปกป้องจากคนในพื้นที่เลย 

    พิบูลย์เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่า มีคำสั่งไม่ให้ชาวบ้านมีการสื่อสารกัน โดยผู้ใหญ่บ้านที่มีการรับเงินสินบนมาจากผู้อื่น ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่มีการขาดการรับข่าวสารมากยิ่งกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีผลให้เกิดการแบ่งแยกเป็นกลุ่มที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ทำให้สถานการณ์ในพื้นที่มีความขัดแย้งยิ่งขึ้นกว่าเดิม 

    ปราโมทย์เสริมจากประเด็นของพิบูลย์ว่า การที่คนในพื้นที่มีความขัดแย้งกันออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายที่เห็นด้วยกับรัฐ และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐ นอกจากในพื้นที่ก็ยังมีชุมชนรอบข้างที่เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐและมองว่าการต่อสู้ของเรานั้นไม่มีความหมาย จุดนี้แสดงให้เห็นถึงปัญหาของการไม่มีความเข้าใจถึงปัญหาอย่างชัดเจน

    Related

    อยู่-ระหว่าง-เหนือล่าง : เหนือล่างกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ภูมิภาคเหนือตอนล่างคือพื้นที่ระหว่างภาคกลาง (กล่าวโดยนัยคือกรุงเทพฯ) กับภาคเหนือ ภายใต้ประพัฒนาการของรัฐไทยที่เริ่มต้นในช่วงรัชการที่ 5 มาจนถึงตอนนี้ ภูมิภาคเหนือตอนล่างถูกละเลยไปจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ไปจนหาความต่อเนื่องได้ยาก...

    ล้านนาบ่แม่นก้าคนเมือง : สังคมพหุวัฒนธรรมในล้านนา

    เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Lanner ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา...

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...