เมษายน 20, 2024

    ‘พื้นที่’ ที่ความฝันมารวมตัวกัน บทเรียนจากอเมริกา​ ญี่ปุ่น​และเชียงใหม่​ ว่าด้วย “เมืองกับพื้นที่แห่งความหวัง”

    Share


    เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ChiangmaiTrust จัดการเสวนาในประเด็น “เมืองกับพื้นที่แห่งความหวัง “ ​บทเรียนจากอเมริกา​ ญี่ปุ่น​และเชียงใหม่​ ขึ้น ณ ร้าน Mahoree City Of Music งานเสวนานี้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองของความเป็น ‘พื้นที่แห่งความหวัง’ ในเมืองและบริบทที่แตกต่างกันออกไป โดยมี อายุ จือปา , ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา และ ภราดล พรอำนวย ร่วมแลกเปลี่ยน


    อายุ จือปา

    เอกชน-ประชาสังคม พื้นที่แห่งความฝันด้วยน้ำมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

    อายุ จือปา บอกเล่าถึงมุมมองของเขาต่อ ‘พื้นที่แห่งความหวัง’ ในสหรัฐอเมริกาจากประสบการณ์ของตัวเอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยภาคเอกชนและประชาสังคม เพื่อร่วมมือกันออกแบบนโยบายและกระบวนการต่างๆโดยมีรัฐเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งอายุมองว่านี่เป็นหนึ่งในความฝันของคนไทยที่พยายามเอื้อมให้ถึง

    อายุ เล่าต่อ ยกข้อสงสัยว่าการที่ภาคเอกชนและประชาสังคมเข้ามาอยู่ในพื้นที่เดียวกันแบบนี้จะนำไปสู่การผูกขาดผลประโยชน์ในตลาดหรือไม่ ก่อนจะอธิบายให้เข้าใจว่าจริงๆแล้วทั้งสองภาคส่วนไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่อยู่ภายใต้นโยบายที่พยายามจะแยกทั้งสองส่วนออกจากกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างในข้อสงสัยเกิดขึ้น พื้นที่ที่ถูกใช้ร่วมกันระหว่างสองส่วนนี้เป็นเพียงพื้นที่ในการหารือกันภายใต้การสนับสนุนของรัฐเท่านั้น

    วิกฤตการณ์ทางเศษรฐกิจในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคริฟอร์เนีย คือบทเรียนที่ อายุ ยกขี้นมาทบทวนให้ฟัง โดยในอดีตผ่านมุมมองของ อายุ ซานนฟรานซิสโกเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และผู้คนที่หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในความฝันของตัวเอง แต่สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดการเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์ ความเป็นเมืองที่ไม่เคยหลับค่อยๆจืดจางไป 

    การบูรณะเมืองซานฟรานซิสโกให้กลับมามีชีวิตใหม่กลายเป็นภารกิจของภาคเอกชน ที่รวบรวมเงินเพื่อค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูเมืองจากวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา รวมถึงปรับตัวเปิดรับนักลงทุนหน้าใหม่ๆให้เข้ามาในพื้นที่ซิลิคอนวัลเลย์ (Silicon Valley) ที่ถือเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นนำต่างๆมากมาย


    ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา

    พื้นที่แห่งการเชื่อมต่อบนกระบวนการกระจายศูนย์

    ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา บอกเล่าถึงโครงการปรับปรุง ‘โรงสาเก’ แห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลญี่ปุ่นในการปรับเปลี่ยนให้พื้นที่ต่างๆกลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีคุณค่า และสามารถสร้างประโยชน์ให้ชุมชนได้

    ผศ.ดร.จิรันธนิน ได้บอกเล่าถึงกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ที่ชี้ให้เห็นว่านี่คือการสร้างพื้นที่ที่ทุกภาคส่วนจะมีส่วนร่วมและผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแท้จริง โดยเริ่มจากการที่ภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ยื่นเสนอพื้นที่ของตนเองเข้าสู่โครงการ ซึ่งต้องแสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่ควรอนุรักษ์ไว้ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเสนอเงินช่วยเหลือในการบูรณะเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายแรกกับการที่ผู้ประกอบการเจ้าของพื้นที่จะต้องเป็นพื้นที่นั้นเป็นสาธารณะประโยชน์เป็นเวลา 15 ปี

    โครงการดังกล่าวกลายป็นตัวอย่างเด่นๆของกระบวนการกระจายอำนาจที่ผศ.ดร.จิรันธนิน ยกขึ้นมากล่าวถึง โดยไม่ใช่เพียงการกระจายอำนาจจากศูนย์กลางเท่านั้น แต่ผู้คนในแต่ละพื้นที่กลายเป็นจุดแต่ละจุดที่เชื่อมโยงถึงกัน

    “มันต้องคิดก่อนว่ากระจายศูนย์ ไม่ได้แปลว่าเธอไม่มีค่า เป็นแค่ผู้รับ ฉันทำได้และฉันเป็นคนกระจายต่อ ศูนย์ไม่ได้แปลว่าพาวเวอร์อยู่ที่คนอื่น แต่พาวเวอร์อยู่ที่เรา และคนเรามีพาวเวอร์ต่างกัน” ผศ.ดร.จิรันธนินกล่าว

    รูปแบบความพันธ์ระหว่างคนและพื้นที่ผ่านการกระจายศูนย์ กลายเป็นโจทย์ใหม่ในมุมมองของผศ.ดร.จิรันธนิน ว่า ‘เราจะให้อะไรกับเมือง’ ในเมื่อผู้คนไม่ได้เป็นเพียงผู้รับอีกต่อไป แต่ยังเป็นผู้ให้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นข้อทบทวนด้วยว่า ‘คนที่อาศัยอยู่ต้องการอะไร’ 


    ภราดล พรอำนวย

    พื้นที่แห่งวัฒนธรรม สื่อเชื่อมอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

    ภราดล พรอำนวย แบ่งปันมุมมองของการสร้างพื้นที่แห่งความหวังในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้บริบทของเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ที่ภราดลมองว่าเป็นความพยายามในการปรับตัวให้เข้ากับลักษณะของเศษรฐกิจในยุคปัจจุบัน

    ภราดล มองว่าสิ่งสำคัญในการปรับตัวเช่นนี้ คือศิลปะวัฒนธรรม ที่จะเป็นสื่อกลางยึดโยงคนรุ่นใหม่เข้ากับชุมชน หรือ ‘พื้นที่’ ซึ่งเป็นทั้งความท้าทายของชุมชนในแง่ของการ ’เปิดรับ’ ความสมัยใหม่และโอกาสที่พื้นที่จะได้เติบโต โดยภราดลยกตัวอย่างเทศกาล ‘ข้าวซอย’  ที่เป็นงานเทศกาลเพื่อจัดแสดง Visual art ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ก็ถือเป็นเรื่องใหม่ที่พ่วงมากับแนวคิดใหม่ๆในยุคปัจจุบัน เป็นความท้าทายที่พื้นที่ต้องเปิดรับ

    ประเด็นหนึ่งที่ ภราดล ยกขึ้นกล่าวถึง คือแรงดึงดูดร่วมกันของผู้คนต่อพื้นที่พื้นที่หนึ่ง ความต้องการที่จะสร้างพื้นที่แห่งความหวังเป็นความฝันร่วมกันของผู้คนในชุมชนต่างๆ รวมไปถึงพัฒนาชุมชนที่อยู่ ซึ่งในนมุมมองของภราดล แรงดึงดูดร่วมกันนี้อาจจะไม่ได้มีจากแค่คนที่เกิดอยู่ในชุมชนนั้นๆเท่านั้น แต่อาจเกิดขึ้นได้โดยผู้คนภายนอกได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งนี่จะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรจากภายนอกชุมชนนอกเหนือจากก้อนเงินอย่างความคิด จินตนาการ เครือข่ายต่างๆเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนต่อไป

    “มันคงจะดีถ้าเราตื่นมาแล้วไม่ได้ทำตามความฝันของเราคนเดียว แต่ช่วยกันทำตามความฝันของคนอื่นๆในสังคมด้วย” ภราดลกล่าว

    รับชมไลฟ์การเสวนาย้อนหลังได้ที่
    https://www.facebook.com/lanner2022/videos/5957302761034758 https://www.facebook.com/100083242571578/videos/147049008259060

    Related

    สงกรานต์เมียนมาในวันที่ดอกประดู่ไม่บาน

    เรื่อง: Lanner Burmaภาพ: วิศรุต แสนคำ /  ฮวาน (ไม่ใช่ชื่อจริง) /...

    ฝุ่นพิษข้ามแดนในห้วงยามที่ “ทุน” สยายปีก

    เรื่อง: กองบรรณาธิการ การเปลี่ยนเข้าสู่เศรษฐกิจทุนนิยมในนามของเสรีนิยมใหม่ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือการทำให้เอกชนเกิดแรงจูงใจเพื่อจะสามารถเข้าสู่การแข่งขันได้อย่างเสรีโดยปราศจากการผูกขาดโดยรัฐ จนเมื่อมีการเปิดให้ทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี จึงนำไปสู่ปัญหาการย้ายถิ่นฐานของธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างมหาศาล หนึ่งในปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ “ปัญหาหมอกควัน”...