พฤษภาคม 18, 2024

    เปิดปากคำ อรรถจักร์-สมชาย ’ประกาศคณะราษฏร‘ ผิดหรือไม่? เหตุ ‘ก่อการล้านนาใหม่’ อ่านประกาศเปิดวาระกระจายอำนาจ

    Share

    “การกล่าวหาโดยนำเรื่องประกาศคณะราษฎร และประกาศข้อเรียกร้องของคณะก่อการล้านนา มาเชื่อมโยงกัน เพื่อทำให้กลายเป็นความผิดตามกฎหมายนั้นเป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผลใด ๆ รองรับเลย” 

    ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

    เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 พ.ต.ท.ทนงศักดิ์ จันทร์เจือแก้ว พนักงานสอบสวน สภ.เมืองเชียงใหม่ เข้าสอบปากคำ ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ ในคดี 4 นักกิจกรรมและนักศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารกล่าวหาในข้อหาหลักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จากกรณีอ่าน “ประกาศคณะราษฎร 2475” ระหว่างกิจกรรม “แห่ไม้ค้ำประชาธิปไตย ปักหมุดกระจายอำนาจ” ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2566

    (อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
    (สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

    ในคดีดังกล่าว ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ ชาติชาย ธรรมโม, วัชรภัทร ธรรมจักร, ธีราภรณ์ พุดทะสี และ เบญจภัทร ธงนันตา เมื่อวันที่ 2 พฤษจิกายน 2566 ทั้งหมด 6 ข้อกล่าวหา ทั้ง “ยุยงปลุกปั่นฯ” ตามมาตรา 116, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ, พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ, กีดขวางทางสาธารณะ, ใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต และ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ หลังการอ่านประกาศของคณะราษฎร ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2475 และคำประกาศของคณะก่อการล้านนา โดยผู้กล่าวหาอ้างว่าทำให้เข้าใจได้ว่า ผู้ต้องหากับพวก มีแนวคิดเชิญชวนบุคคลที่ได้รับฟัง เกิดความกระด้างกระเดื่อง ไม่เคารพกฎหมายหรืออาจล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน 

    หลังรับทราบข้อกล่าวหาและให้การปฏิเสธ ทางผู้ต้องหาได้ยื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือ โดยยืนยันว่าประกาศทั้งสองฉบับไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 116 เป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออก อยู่ในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ประกาศคณะราษฎรก็เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ มีการเผยแพร่อยู่ทั่วไป ไม่ได้ถูกห้ามเผยแพร่ ทั้งยังได้ขอให้พนักงานสอบสวนสอบพยานนักวิชาการเพิ่มเติมในสาขาต่าง ๆ ทั้งทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ โดยเสนอชื่อ อรรถจักร์ และ สมชาย ทางตำรวจจึงได้นัดหมายสอบปากคำนักวิชาการทั้งสองคน

    ประเด็นหลักทางตำรวจได้สอบถามว่านักวิชาการทั้งสองว่าเคยอ่านประกาศคณะราษฏรฉบับที่ 1 มาก่อนหรือไม่ และอ่านแล้ว คิดว่าประชาชนที่ได้รับฟังจะออกไปกระทำผิดกฎหมายหรือไม่

    นักวิชาการทั้งสองคนได้ให้ความเห็นว่า ประกาศดังกล่าวเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่รับรู้กันโดยทั่วไป และเผยแพร่อย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ถูกใช้ในการเรียนการสอนทั้งทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยหรือวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ถูกใช้ศึกษาในแง่มุมต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ คิดไปไม่ได้ว่าเป็นความพยายามชักจูงให้ไปผิดกฎหมายใดๆ อีกทั้งการอ่านประกาศในโอกาสครบรอบการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน ก็เป็นเพียงการสร้างความรับรู้ในประวัติศาสตร์เท่านั้น

    ส่วนประกาศคณะก่อการล้านนา ก็พบว่ามีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ อันเป็นเรื่องปกติในระบอบเสรีประชาธิปไตย ทั้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจ และการสร้างสวัสดิการให้ประชาชน ซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมไทยควรร่วมกันคิดและไตร่ตรองมากกว่า

    อรรถจักร์กล่าวเพิ่มเติมว่า การกล่าวหาโดยนำเรื่องประกาศคณะราษฎร และประกาศข้อเรียกร้องของคณะก่อการล้านนา มาเชื่อมโยงกัน เพื่อทำให้กลายเป็นความผิดตามกฎหมายนั้นเป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผลใด ๆ รองรับเลย

    โดยการเข้าสอบปากคำของเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากวันที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 15.00 น. กลุ่ม ‘ก่อการล้านนาใหม่’ จัดกิจกรรม “แห่ไม้ค้ำประชาธิปไตย ปักหมุดกระจายอำนาจ” เคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยมุ่งหน้าสู่อนุสาวรีย์ลานสามกษัตริย์ โดยประกาศ 3 ข้อเรียกร้องได้แก่ การแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ, กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และผลักดันรัฐสวัสดิการ

    ภายในกิจกรรมแห่ไม้ค้ำประชาธิปไตย ปักหมุดกระจายอำนาจมีขบวนบรรทุกไม้คำสะหรี (ไม้ค้ำโพธิ์) และสัญลักษณ์หมุดราษฎร ปี 2563 ไว้บนรถกระบะกว่า 10 คัน โดยระหว่างทางตัวแทนกลุ่มได้กล่าวถึงความสำคัญของวันอภิวัฒน์สยาม เมื่อปี 2475 ที่นำโดยกลุ่มคณะราษฎร และพูดถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจจากรัฐส่วนกลาง เพื่อการกำหนดชีวิตด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอคอยอำนาจจากรัฐส่วนกลางหรือกรุงเทพฯภายในกิจกรรมมีขบวนบรรทุกไม้คำสะหรี (ไม้ค้ำโพธิ์) และสัญลักษณ์หมุดราษฎร ปี 2563 ไว้บนรถกระบะกว่า 10 คัน โดยระหว่างทางตัวแทนกลุ่มได้กล่าวถึงความสำคัญของวันอภิวัฒน์สยาม เมื่อปี 2475 ที่นำโดยกลุ่มคณะราษฎร และพูดถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจจากรัฐส่วนกลาง เพื่อการกำหนดชีวิตด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอคอยอำนาจจากรัฐส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ

    ทั้งนี้ในช่วงท้ายของกิจกรรมที่ลานสามกษัตริย์ ตัวแทนได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 และอ่านคำประกาศคณะก่อการล้านนาด้วยคำเมือง ก่อนร่วมกันจุดเทียนวางไว้หน้าสัญลักษณ์ราษฎร 2563 ทั้งนี้ในช่วงท้ายของกิจกรรมที่ลานสามกษัตริย์ ตัวแทนได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 และอ่านคำประกาศคณะก่อการล้านนาด้วยคำเมือง ก่อนร่วมกันจุดเทียนวางไว้หน้าสัญลักษณ์ราษฎร 2563

    ข้อมูล 

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...