21 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์เรียนชุมชน หมู่ 15 ตำบลพระนอน อำเมือง จังหวัดนครสวรรค์ นักศึกษาสาขารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ร่วมกับเครือข่ายชุมชนคนรักเขากะลา จัดวงคุยสนทนาปัญหาชุมชน
จำแนกข้อมูลเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย
1.บริบททั่วไปและภูมินิเวศวัฒนธรรม
2.ประวัติศาสตร์ชุมชน ประเพณีวิถีชีวิตและระบบเศรษฐกิจชุมชน
3.สถานการณ์และความคืบหน้า กรณีโครงการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมและโรงโม่
4.ผลกระทบที่เกิดกับชุมชนในมิติด้านเศรษฐกิจ/สังคม/วัฒนธรรม/และสุขภาพ รวมถึงการเคลื่อนไหวและข้อเรียกร้องกรณีการคีดค้านการทำเหมืองแร่
เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน ชาวบ้าน และองค์กรวิชาการทั้งคณาและนักศึกษา ในการศึกษาทบทวนข้อเท็จจริงตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการยกระดับให้เครือข่ายชุมชนด้วยฐานข้อมูล การทำข้อมูลชุมชนทำให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจในการที่จะสื่อสารและเป็นเครื่องมือช่วยเสริมพลังของชุมชน
เครือข่ายชุมชนและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และยังคงต้องการให้ชาวบ้านและชุมชนกลับมาทบทวนอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับลูกหลานและทุกคนในชุมชน
อนึ่งการจัดวงคุยสนทนาปัญหาชุมชนในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการคัดค้าน โครงการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง วัดธารลำไย หมู่ 5 ตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจัดโดยบริษัท ตถาตาสิ่งแวดล้อม จำกัด (บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม) คำขอประทานบัตรที่ 5/2564 หมายเลขหลักหมายเลขเขตเหมืองแร่ที่ 32333 ของบริษัท ศิลาพระนอน จำกัด
โดยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา เวลา 09.00 น. เครือข่ายชุมชนกลุ่มรักเขากะลา ได้รวมกลุ่มออกมาเคลื่อนไหว ณ วัดธารลำไย ตำบลเขากะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อคัดค้านเวทีการประชุมรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 (EIA) ของบริษัทดังกล่าว
#คนเขากะลาไม่เอาเหมือง
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...