เมษายน 27, 2024

    ‘หยุดสร้างปัญหา’ ชาวกะเบอะดินไม่รับ EIA สายส่งไฟอุโมงค์ผันน้ำยวมตั้งแต่เริ่ม!

    Share

    เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)และบริษัทที่ปรึกษา ได้เดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านกะเบอะดิน อ. อมก๋อย เชียงใหม่ เพื่อจัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าแรงสูงขนาด 230 กิโลโวลต์ เพื่อสนับสนุนอุโมงค์ผันน้ำยวมของกรมชลประทาน โดยจะจัดขึ้นที่วัดแม่อ่างขาง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีแผนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้าฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการผันแม่น้ำยวม

    ทีมสื่อเยาวชนกะเบอะดินรายงานไว้ว่าไม่มีชาวบ้านกะเบอะดินมาเข้าร่วม เนื่องจากไม่ได้เห็นด้วยกับการผันแม่น้ำยวม รวมไปถึงการศึกษาผลกรทบสิ่งแวดล้อมโครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้าฯดังกล่าวด้วย 


    ภาพ : ทีมสื่อเยาวชนกะเบอะดิน

    นอกจากนี้ ตามรายงานยังมีการรวมตัวแสดงออกของชาวบ้านกะเบอะดินด้วยการถือป้ายเขียนข้อความไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว รวมไปถึงเจตนารมณ์ที่จะปกป้องทรัพยากรและวิถีชีวิตในชุมชนของตัวเองที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ อีกทั้งชาวบ้านกะเบอะดินยังมองโครงการนี้ว่าเป็นโครงการที่เอื้อนายทุน

    ในส่วนของผู้แทนกฟผ. หลังจากที่ได้รับรู้จุดยืนของชาวบ้าน ก็ได้กล่าวไว้ว่า “ผมจะบอกไว้ก่อนว่าโครงการของรัฐบาลนั้น หากเขาจะทำยังไงเขาก็ทำ แต่เราที่ไม่ได้รับประโยชน์ ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเห็นด้วย เรื่องที่เราอยากรู้ว่าความกังวลของชาวบ้านคืออะไร หากไม่เอาก็เป็นความเห็นของเรา” 


    ภาพ : ทีมสื่อเยาวชนกะเบอะดิน

    ทั้งนี้โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุนโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล (ผันน้ำยวม) ของกรมชลประทาน ซึ่งผลการศึกษาโครงการ โครงการศึกษาวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล และกฟผ.มีบทบาทในการส่งไฟฟ้าแรงสูงเพื่อสูบน้ำ (ที่สถานีสูบน้ำแม่เงา จ.แม่ฮ่องสอน) โดยเอกสารระบุว่ามูลค่าการลงทุน ค่าใช้จ่ายโครงการ งานดำเนินงานและบำรุงรักษา และค่าลงทุนโครงการ อยู่ที่ราว 172,200.34 ล้านบาท

    โครงการประกอบด้วย เขื่อนน้ำยวม จ.ตากและแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอย่างน้อย 5 แห่ง ได้แก่ ป่าแม่แจ่มและป่าแม่ตื่น ป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย-ขวา ป่าอมก๋อย และป่าท่าสองยาง สถานีสูบน้ำบ้านสบเงา จ.แม่ฮ่องสอน ระบบอุโมงค์ส่งน้ำ (โครงสร้างใต้ดิน) ระยะทาง 61.52 กิโลเมตร จาก อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ผ่าน อ.อมก๋อย ไปยัง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วย อุโมงค์อัดน้ำ อุโมงค์พักน้ำ และอุโมงค์ส่งน้ำ คาดว่าจะผันน้ำเฉลี่ยปีละ 1,795 ล้านลูกบาศก์เมตร

    Related

    อยู่-ระหว่าง-เหนือล่าง : เหนือล่างกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ภูมิภาคเหนือตอนล่างคือพื้นที่ระหว่างภาคกลาง (กล่าวโดยนัยคือกรุงเทพฯ) กับภาคเหนือ ภายใต้ประพัฒนาการของรัฐไทยที่เริ่มต้นในช่วงรัชการที่ 5 มาจนถึงตอนนี้ ภูมิภาคเหนือตอนล่างถูกละเลยไปจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ไปจนหาความต่อเนื่องได้ยาก...

    ล้านนาบ่แม่นก้าคนเมือง : สังคมพหุวัฒนธรรมในล้านนา

    เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Lanner ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา...

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...