มีนาคม 29, 2024

    แม่สาย ไร้จุดความร้อน ฝุ่นกลับปกคลุมทั่วอำเภอ

    Share

    26 เมษายน 2566

    แม้ฝุ่นควันแม่สายจะเริ่มจางลง แต่ปัญหาฝุ่นควันจะวนเวียนกลับมาในทุก ๆ ปีของเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ทางเทศบาลตำบลแม่สายจึงร่วมกับกรีนพีซ ประเทศไทย, อบจ.เชียงราย, ห้องเรียนสู้ฝุ่น, สภาลมหายใจเชียงราย, ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล “ฝุ่นพิษ แม่สาย” ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารดับเพลิง เทศบาลตำบลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย

    “แม่สายมีควันข้ามแดนมาเยอะ เราต้องการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับผลกระทบที่มากระทบกับพื้นที่อ. แม่สายโดยตรง” ชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สายกล่าวถึงที่มาและความสำคัญของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

    “จากภายในประเทศ 30% แต่นอกประเทศกว่า 70% ในส่วนของภาคราชการ ต้องเร่งคิดว่าทำอย่างไรเพื่อลดการเผา สาเหตุเกิดจากประชากรที่ทำไร่ในป่าสงวน การปลูกพืชเชิงเดี่ยว เปรียบเทียบกับการปลูกพืชผสมผสาน จะไม่ค่อยมีการเผา ไม่ว่าจะเป็นดอยช้างหรือภูชี้ฟ้า” วราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าเชียงรายฯ กล่าวเปิดงาน

    ด้านรัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ ตัวแทนจากกรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า อยากชวนคุยถึงนโยบายที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลให้ฝุ่นควันรุนแรงขึ้นทุกปี แม่สายไม่ได้มีจุดความร้อน แต่กลับมีค่าฝุ่นควันที่สูง รวมถึงได้แลกเปลี่ยนเรื่องการลงทุนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยในรายงานของกรีนพีซระบุข้อมูลที่เกิดขึ้นในปีนี้ และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นการรวบรวมข้อมูลผ่านดาวเทียม มีสมมติฐานว่าช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีปัญหาฝุ่นควันพิษเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีจำนวนการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งเรื่องจุดความร้อนและพื้นที่ป่าที่เปลี่ยนแปลงไป 

    จากภาพด่านแม่สาย รถบรรทุกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นภาพที่คุ้นชินตามานาน และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยกเว้นภาษี 0% ทำให้เกิดการนำเข้า

    “เรามักจะพูดว่าเรานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อ แต่ไทยส่งออกเนื้อสัตว์ ไก่เป็นอันดับสี่ของโลก หมายความว่าทรัพยากรต่าง ๆ ที่ลงทุนใช้ไปนั้น คนในพื้นที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการสูญเสียพื้นที่เพื่อปลูกข้าวโพด” รัตนศิริกล่าว

    จากข้อมูลงานวิจัยของกรีนพีซ ประเทศไทย พบว่าการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยตั้งแต่ปี 2561-2564 มีการนำเข้าจากเมียนมาร์มากถึง 98% รวมถึงมีนโยบายอนุญาตให้มีภาษีนำเข้าวันละ 0% ทำให้เศรษฐกิจเติบโต แต่กลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 

    “เรานำเข้าเป็นอันดับสอง แต่อันดับหนึ่งคือพลังงานไฟฟ้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มันเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว เชียงรายเป็นอันดับสอง ของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” รัตนศิริกล่าว

    จากรายงานมีข้อสันนิษฐานว่า บริบทในสังคมยังมองว่าชาวบ้านเป็นผู้สร้างฝุ่นควัน อย่างไรก็ดีพบว่าเพียงแค่ 5-6 ปี พื้นที่ป่าไม้ในภูมิภาคแม่น้ำโขง 10.6 ล้านไร่ หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ จุดเปลี่ยนด้านนโยบายที่น่าสนใจคือ 2546 มีการนำเกษตรพันธสัญญา มีการเปิดโอกาสให้บริษัทเกษตรของไทยเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านได้ และนำผลผลิตกลับมายังประเทศได้

    รัตนศิริ กล่าวว่า ในรายงานได้เสนอว่าต้องมีกฎหมายที่สร้างความรับผิดกับผู้ประกอบการที่นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
    ด้าน ชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย กล่าวว่า มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ มีเนื้อหาว่าให้นำเข้าข้าวโพด 0 บาท/ตัน มองว่าส่งเสริมการส่งออกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด จึงมีการนำเข้าที่สูงมากขึ้น จึงทำให้เชื่อว่าควันข้ามแดนมันส่งผลกระทบโดยตรงต่อพื้นที่ของเรา 

    ผศ.นิอร สิริมงคลเลิศกุล ประธานโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น ชวนเน้นเรื่องควันข้ามแดน และเราจะขยับต่ออย่างไร โดยนำเสนอข้อมูลของ GISDA ว่าค่าเฉลี่ยของฝุ่นมีฤดูกาล ช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน และไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยที่มีค่าฝุ่นสูง 

    “จากผลการรายงานของสำนักนายกฯ เรามีไฟกองใหญ่ในพื้นที่ด้วย เพราะฉะนั้นต้องทำควบคู่ไปด้วย แก้ไขในพื้นที่ในประเทศด้วย” นิอรกล่าว

    สันติพงษ์ ช้างเผือก บรรณาธิการข่าวไทยพีบีเอส กล่าวว่า “เรากำลังใช้เงื่อนไขของการเลือกตั้ง ทำให้ประเด็นเรื่องฝุ่นมันถูกเคลื่อนไหวอยู่ในนโยบายของพรรค ในทางการเมืองค่อนข้างชัดว่ามีนโยบาย แต่ถามว่าจับต้องได้ไหม ก็ยัง”

    “เราต้องการให้เกิดการดีเบตของผู้สมัคร สถานการณ์การเมืองมันเปลี่ยน เราต้องทำเวทีในการติดตามนโยบายหลังจาก form รัฐบาลแล้ว และเรื่องการสื่อสาร เราคุยเรื่องแผนฝุ่นชาติที่ต้องทบทวน สภาลมหายใจภาคเหนือพยายาม lead ประเด็นนี้ แต่ในทางการเมืองยังไม่ชัดในเรื่องแผนฝุ่นชาติ” สันติพงษ์กล่าว

    ด้านไพสิฐ พาณิชย์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าต้องให้อำนาจของตลาดโลกมาช่วยควบคุมดูแลเรื่องนี้

    ด้านดร.ชูเกียรติ น้อยฉิม อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มองว่าเราไม่สามารถแก้ไขได้แค่ประเทศไทย แต่เราต้องร่วมมือกับระหว่างประเทศ มองว่าอาเซียนแสดงบทบาทน้อยไป อาเซียนต้องเข้ามาเล่นบทบาทนี้ ต้องมาตั้งศูนย์การดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นเมียนมาร์ ลาว ไทย ต้องให้เจ้าหน้าที่อาเซียนลงพื้นที่ ประสานงาน ประชุม วางแผนให้เป็นระบบในการแก้ไขปัญหานี้

    ด้านทรงศรี คมขำ รองนายก อบจ.เชียงรายฯ กล่าวว่า วันนี้ได้ข้อมูลใหม่ในเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เห็นด้วยว่าต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ กลไกของภาคประชาชน ช่วยกันผลักดันอย่างเข้มข้นกับรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารต่อไป

    ไพสิฐ มองว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตวย์เป็นเพียงแค่มุมหนึ่งของธุรกิจ แต่ข้อมูลที่น่าสนใจนั้นคือต้นทางของธุรกิจนี้คือ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง นั้นมีมูลค่ามหาศาลมาก และมีผลต่อการตัดสินใจของเขา

    ด้านรัตนศิริ เสริมว่า หนึ่งในข้อเรียกร้องของกรีนพีซคือ อยากให้มีความโปร่งใส ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล สามารถตรวจสอบได้ ภาครัฐมีข้อมูลในเรื่องเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับ การเข้าถึง supply chian อยากให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ด้วย

    “และถึงแม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เราสามารถมีทางเลือกในการปลูกอย่างอื่นได้ พืชพื้นเมือง ที่สร้างความหลากหลายได้ อยากให้ฝากเป็นหนึ่งในนโยบายด้วย” รัตนศิริทิ้งท้าย

    แม่สายเจอวิกฤติมาหลายครั้ง วิกฤติที่สำคัญคือหมู่ป่า แต่วิกฤติหมอกควันครั้งนี้ เป็นที่รู้จัก ให้ชาวโลกได้ศึกษา หรือให้ทางภาครัฐ อบจ. ได้ผลักดับให้เกิดศูนย์ช่วยเหลือ ศูนย์หมอกควัน การแก้ไขปัญหาขอให้เริ่มต้นจากอ.แม่สายไปสู่ทั่วโลก

    วราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าเชียงรายฯ กล่าวว่า ข้าวโพดที่เกิดจากการเผา ไม่ได้อยู่ในระบบ มองว่าหากจะให้คนพม่าเลิกปลูกข้าวโพดแล้ว เราจะมีทางออกให้เขาปลูกอะไร อาจจะต้องมานั่งหาทางออก ข้อเสนอร่วมกัน การรวบรวมความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน 

    ด้าน จุลารักษ์ ขันสุธรรม หรือทนายหญิง ผู้สมัครส.ส.พรรคก้าวไกล เชียงราย เขต 6 (อ.แม่สาย, อ.แม่ฟ้สหลวง และอ.แม่จัน 4 ตำบล) มองว่า เราเห็นเรื่องความชัดเจนในเรื่องความร่วมมือมากขึ้น เห็นทิศทาง ข้อเสนอ กลไกด้านต่าง ๆ ความร่วมมือในหลาย ๆ ภาคส่วน

    “ในพรรคก้าวไกล เราได้นำเสนอนโยบายเรื่อง PM2.5 ในเรื่องการแก้ไขต้นเหตุของปัญหา ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องแก้ไขเรื่องทุน การผูกขาด กระบวนการเหล่านี้ต้องมีให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย และเรื่องเกษตรก้าวหน้า เราสามารถลดการเผา เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักร เราจะมีสินเชื่อ 0% แก่เกษตรกร เป็นทางออกหนึ่งในการลดการเผาของภาคเกษตรกร ส่วนเรื่องการเผาขยะ การเปลี่ยนขยะที่ต้องเผา ให้เป็นเงินเข้ากระเป๋าเกษตรกร” จุลารักษ์กล่าว

    ด้านชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย ให้สัมภาษณ์ว่า ประเทศไทยไม่เคยเล็งเห็นปัญหาเรื่องฝุ่นควัน PM2.5 ที่สะสมมาอย่างยาวนานซึ่งควรจะมีการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ 15 ปีที่แล้ว 

    “เมื่อเรามานั่งคิดว่ามันมาจากไหน เนื่องจากไม่มีจุดความร้อนปรากฏขึ้นในอ.แม่สายเลย มีเพียงไฟป่าที่เกิดในพื้นที่ข้ามพรมแดน และจากข้อเท็จจริงเรื่องการส่งเสริมการส่งออกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด และมีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวนมากกว่าความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ภายในประเทศ ถือเป็นอันดับสองรอบจากประเทศสหรัฐอเมริกา” ชัยยนต์กล่าว

    ชัยยนต์ยังย้ำว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาสุขภาพไม่ใช่ปัญหาปากท้อง มันจึงไม่สามารถเทียบกันได้ และมองว่าต้องให้ผู้ประกอบการและภาคเอกชนมาร่วมแก้ไขปัญหา ปรับแผนการบริหารจัดการต้นเหตุของไฟป่าร่วมกัน


    สามารถรับชมวิดีโอถ่ายทอดสดย้อนหลังได้ทางเพจ Facebook เทศบาลตำบลแม่สาย

    Related

    ‘ครรภ์ใต้บงการ’ ในเงาสะท้อนรัฐเจริญพันธุ์

    เรียบเรียง: ธันยชนก อินทะรังษี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดงาน...

    อยู่ระหว่างเหนือล่าง ‘เซ็นทรัลนครสวรรค์’ เมื่อ “ห้างใหญ่มีชื่อ” กลายเป็นมาตรวัดการพัฒนา

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลนครสวรรค์ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ กระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้นและตื่นตัวแกบรรดาผู้คนในจังหวัดนครสวรรค์รวมถึงผู้คนในจังหวัดรอบข้างอย่างมาก ประกอบกับการโปรโมทห้างเซ็นทรัลนครสวรรค์ที่เราจะพบเห็นได้ในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะ...

    ต่า โอะ มู วิถีชีวิตปกาเกอะญอ

    เรียบเรียง: กรองกาญจน์ เกี๋ยงภาลัก, สุทธิกานต์ วงศ์ไชย, อิทธิเดช วางฐานภาพ: จิราเจต จันทร์คำ,...