เมษายน 29, 2024

    “หมู่เฮาอาสาสมัครร่วมใจ ชุมชนฮ่วมย๊ะ” เยาวชนชวนถกความปลอดภัยบนถนน-พื้นที่สูบบุหรี่

    Share

    26 มีนาคม 2566

    เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา Komol Youngvolunteer ได้จัดกิจกรรมชมผลงานนิทรรศการศิลปะในหัวข้อ “หมู่เฮาอาสาสมัครร่วมใจ ชุมชนฮ่วมย๊ะ” เป็นการแสดงผลงานของผู้เข้าร่วมเยาวชนในโครงการอาสาสมัครร่วมใจ ชุมชนร่วมทำภาคเหนือ ซึ่งจะจัดขึ้นบนลานประตูท่าแพ แต่เกิดเหตุการณ์ฝนตก พายุเข้า จึงมีความจำเป็นต้องย้ายสถานที่ไปยังบ้านเตื่อมฝัน กลุ่มคนไร้บ้านเชียงใหม่

    นอกจากนิทรรศการแล้ว ภายในงานยังมีกิจกรรมเสวนา 2 หัวข้อ โดยหัวข้อแรกคือ “ความปลอดภัยและการจัดการถนนในพื้นที่เมือง-ชนบทของประเทศไทย” ผู้ร่วมวงเสวนาได้แก่ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, สุทธิพงศ์ ปันสา สมาคมกู้ภัยอัมรินทร์ตอบโต้ภัยพิบัติ เชียงใหม่, ณัฐชยา ภักดี ละอ่อนต๊ะต๊อนยอน, ธนาธร วิทยเบญจางค์ พรรคนักศึกษาเปลวเทียน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อุดมศักดิ์ คำมาเมือง กลุ่ม The Next Gen และ ณัฐพล ศรีภูมิ กลุ่มเยาวชนดงเจริญ จังหวัดพิจิตร ดำเนินรายการโดย ประภัสสร คอนเมือง

    ณัฐชยา ภักดี กลุ่มละอ่อนต๊ะต่อนยอน กล่าวว่า กลุ่มต๊ะต่อนยอนเป็นกลุ่มที่พยายามรวบรวมเด็กและเยาวชนในพื้นที่อ.สันกำแพง เข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่สาธารณะในอ.สันกำแพง ซึ่งพื้นที่ที่กลุ่มสนใจกันอยู่มันคือถนน “ถนนมันไม่ใช่พื้นที่ที่แค่ให้รถอย่างเดียวในการสัญจร แต่มันเป็นพื้นที่ที่สำหรับคนและรถที่ต้องมาออกแบบร่วมกันว่าเราจะใช้งานพื้นที่สาธารณะตรงนี้ได้อย่างไรบ้าง” กลุ่มต๊ะต่อนยอนพยายามที่จะสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมระหว่างรัฐกับประชาชน กลุ่มพยายามออกแบบการทำงานที่สร้างการมีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด 

    ธนาธร วิทยเบญจางค์ พรรคนักศึกษาเปลวเทียน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เราทำในพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นหลัก กิจกรรมที่เราทำคือการตรวจเช็คสภาพรถ “เราต้องการสร้างความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน แต่เมื่อได้เริ่มทำกิจกรรมแล้วก็พบว่าปัญหาที่เรามองว่าเป็นปัญหาอาจไม่ได้เป็นปัญหาในมุมมองของคนอื่นก็ได้ การสร้างการมีส่วนร่วมที่เราพยายามผลักดันมันอาจสร้างการฝืนบังคับคนมากเกินไป ซึ่งเราอาจจะต้องมองหาวิธีใหม่ ๆในแก้ไขปัญหา” 

    อุดมศักดิ์ คำมาเมือง กลุ่ม The Next Gen กล่าวว่า ได้ทำไฟสัญญาณเตือนกระพริบในช่วงกลางคืน ทำร่วมกับเทศบา ด้านณัฐพล ศรีภูมิ กลุ่มเยาวชนดงเจริญ จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า พิจิตรเป็นบ้านเกิดของตน เราเริ่มลงมือทำกับชาวบ้าน โดยปัญหาได้จากการสะท้อนของชาวบ้าน ปัญหาคือไฟไม่สว่างตามรายทางในเวลากลางคืน ทำให้ชาวบ้านที่ต้องใช้ถนนในการเดิน มีความกลัวในการใช้ 

    ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กล่าวว่า ด้วยความเป็นนักวิชาการสายประวัติศาสตร์ สนใจเรื่องประวัติศาสตร์สังคมใกล้ตัว ที่ส่งผลกระทบกับเรา ประวัติศาสตร์เรื่องการศึกษา และพึ่งออกหนังสือชื่อว่า ไฮเวยาธิปไตย คือพยายามอธิบายว่ามันมีการเมืองในการออกแบบถนนอย่างไร มันเกี่ยวข้องอย่างไรกับอุบัติเหตุที่มันเกิดขึ้น 

    โดยวงได้พูดคุยเกี่ยวกับภาพความทรงจำของเมืองกับชนบทเป็นอย่างไรในสายตาของแต่ละคน และได้พูดคุยเกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องผังเมืองกับประชาชนมีความสำคัญมากน้อยอย่างไรด้วย สามารถดูไลฟ์สดเพิ่มเติมได้ทาง https://fb.watch/juQDgBhONG/ 

    ต่อมา วงเสวนาในหัวข้อที่สองคือ “การจัดพื้นที่สูบบุหรี่และนักสูบหน้าใหม่ในสถานศึกษา” ผู้ร่วมวงเสวนาได้แก่ ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์ ประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นาวินธิติ จารุประทัย กลุ่ม SAAP24:7, ณัฐพล รอดภัย กลุ่มลูกพระยาพิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และพรนัชชา จิ๋วกาย กลุ่มลูกพระยาพิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ดำเนินรายการโดย วิเชียร ทาหล้า 

    โดยวงได้พูดคุยเกี่ยวกับสาเหตุอะไรที่ทำให้คนสูบบุหรี่  ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์ ประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าเป็นคำถามเดียวกันกับคำว่าทำไมคนถึงกินข้าว “เราไม่รู้หรอกว่าทำไมคนถึงสูบบุหรี่ มันหาคำตอบที่เป็นคำตอบสุดท้ายของมันไม่ได้ มันมีความต้องการที่จะขาย และโฆษณาเพื่อจะมีการให้เกิดการซื้อ” เช่นเดียวกับความเห็นของนาวินธิติ จารุประทัย กลุ่ม SAAP24:7 ที่มองว่ามันเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ มนุษย์คนหนึ่งที่จะสูบบุหรี่ได้มันมีแรงจูงใจหลายอย่างมาก 

    ณัฐพล รอดภัย กลุ่มลูกพระยาพิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กล่าวว่า “จากการสำรวจคือมักเกิดจากการลอกเลียนแบบ บริบทสังคมที่อยู่ สภาพแวดล้อมที่อยู่ ด้านพรนัชชา จิ๋วกาย กลุ่มลูกพระยาพิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มองเช่นเดียวกันว่า “บริบทสังคมมันเอื้อให้เกิดการสูบบุหรี่ ไม่มีใครมากล่าวโทษ กลายเป็นความเคยชิน เป็นเรื่องปกติ”

    สามารถดูไลฟ์สดเพิ่มเติมได้ทาง https://fb.watch/juRpshDIpu/ และหลังจบวงเสวนา ยังมีดนตรีจากผู้เข้าร่วมเยาวชนอีกด้วย

    Related

    สมาคมฅนยองจัด ‘มหาสงกรานต์ล้านนา’ มุ่งอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นคนยอง

    เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา สมาคมฅนยอง ร่วมกับ บริษัท ผึ้งน้อยเบเกอรี่...

    Lanner Joy : การเดินทางของซุปเปอร์ฮีโร่ Healthtech สตาร์ทอัพสัญชาติเชียงใหม่ กับการรักษาโรคไมเกรนด้วยจิตวิญญาณนวัตกร

    เรื่องและภาพ: ศุภกานต์ วรินทร์ปราโมทย์ เมื่อเดินลัดเลาะเข้าไปในย่านศิริมังคลาจารย์ นอกจากคาเฟ่ในตรอกซอกซอยที่หลบซ่อนจากความวุ่นวายในโซนนิมมานฯ หากสังเกตดี ๆ ย่านแห่งนี้เป็นฐานทัพของบริษัทสตาร์ทอัพและเทคโนโลยีอยู่ไม่น้อย  ไม่น่าเชื่อว่าในพื้นที่เพียงไม่กี่ตารางกิโลเมตรในหัวมุมด้านทิศตะวันตกของคูเมืองเชียงใหม่ จะเป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมทางสุขภาพที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตผู้คนมากมาย และในพื้นที่เล็ก...