เมษายน 16, 2024

    เมื่อพื้นถนนไร้คุณภาพ ความเสี่ยงจึงตกมาอยู่ที่ผู้สัญจร

    Share

    เรื่อง: สิทธิศักดิ์ บุญมั่น/ Louder

    หากถนนมีคุณภาพดี คงสามารถการรันตีได้ถึงเปอร์เซ็นต์ของความปลอดภัยในการเดินทางได้ไม่น้อย เพราะคงไม่มีใครรู้สึกสบายใจ เมื่อต้องสัญจรผ่านเส้นทางที่ถนนเต็มไปด้วยหลุมบ่อ ซึ่งถ้าหากขับผ่านในสถานที่ที่มีแสงไฟเพียงพอ ก็อาจจะไม่ได้เป็นปัญหาอะไรมากนัก เนื่องจากวิสัยทัศน์ยังอยู่ในระดับดี แต่เมื่อใดที่ต้องผ่านไปยังสถานที่มืดๆ นั่นหมายถึงความเสี่ยงของการเกิดอุบัติจะมีเพิ่มขึ้นมาก ผู้ขับขี่เองจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดอัตราความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น

    พื้นถนนลาดยางที่ชำรุดเป็นแอ่ง

    ตามตัวเมือง หรือเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ถนนมักได้รับการดูแลและรักษาเป็นอย่างดี แต่เมื่อห่างจากสถานที่เหล่านั้นออกมาหน่อย ความหนาแน่นของบ้านเรือนเริ่มลดลง สภาพถนนก็อาจจะมีความเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย หลุมและบ่ออันแสนขรุขระกลายมาเป็นภาระของผู้ที่สัญจรไปมา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุที่เป็นเช่นนั้น อาจมาจากระยะเวลาที่มีผลต่ออายุการใช้งาน หรือเพราะรถบรรทุกที่มีน้ำหนักขับผ่านอยู่บ่อยๆ จึงอาจทำให้ผิวถนนเริ่มสึกหรอขึ้นเรื่อยๆ ดังในข่าวที่เราสามารถพบเห็นได้อยู่บ่อยครั้ง

    อายุการใช้งานของถนนแต่ละประเภท?

    โดยปกติแล้วถนนแต่ละประเภทก็จะมีความแข็งแรงและอายุการใช้งานที่แตกต่างกันไป ตามวัสดุที่นำมาใช้ผลิต ถนนคอนกรีตนั้นจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าถนนลาดยาง ซึ่งจะสามารถคงอยู่ได้ประมาณ 40 – 50 ปี เพราะด้วยโครงสร้างที่เสริมความแข็งแกร่งจากเหล็ก และการอัดพื้นถนนที่สามารถเลือกระดับได้ ต่างจากถนนลาดยางที่ต้องอาศัยความแข็งแรงของหินกับยางมะตอยเป็นหลัก จึงทำให้มีอายุการใช้งานได้เพียงแค่ 20 – 30 ปี เท่านั้น

    ถึงแม้จะมีตัวเลขกำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่ก็ดูเหมือนว่าถนนในบ้านเราจะมีอายุการใช้งานที่น้อยกว่านั้นมาก หากสังเกตจากการซ่อมแซมที่มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ เช่น การปะหลุมถนนด้วยคอนกรีตหรือยางมะตอย การแกไข้ปัญหาที่ไม่ค่อยจะได้ผลมากนัก เพราะเมื่อเวลาผ่านไปวัสดุดังกล่าวที่นำมาใช้ปะ กลับมีความนูนขึ้นมามากกว่าที่ควรจะเป็น จนในบางครั้งกลายเป็นก้อนเนินสูงที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน สร้างเป็นภาระและความอันตรายให้ผู้ถนนมากกว่าเดิม

    การปะผิวถนนลาดยางด้วยคอนกรีต

    ดูเหมือนผลลัพธ์ของการซ่อมแซมผิวถนนในหลายๆ ครั้งจะออกมาไม่ต่างกันมากนัก และเมื่อเวลาผ่านไปไม่นานก็จะกลับมาเป็นเช่นเดิม ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่การประคองอาการไปเท่านั้น เพราะสุดท้ายแล้วก็ต้องรื้อทิ้งเพื่อทำขึ้นมาใหม่ แต่จะดีกว่าไหมหากวัสดุที่นำมาใช้มีคุณภาพมากพอ ที่จะทำให้อายุการใช้งานเป็นไปตามตัวเลขที่ประมาณเอาไว้ อีกทั้งยังสามารถลดงบประมาณที่จะต้องนำมาลงกับงานซ่อมแซมอยู่บ่อยๆ

    ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอัตราการใช้ถนนนั้นจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากอ้างอิงจากข้อมูลที่รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยไว้ว่าในปีที่ผ่านมามีจำนวนของรถที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกเพิ่มมากขึ้นกว่า 1 ล้านคัน และเมื่อความหนาแน่นของท้องถนนเพิ่มมากขึ้น สวนทางกับประสิทธิภาพการใช้งานที่ลดลง ในอนาคตอาจต้องเพิ่มงบประมาณเพื่อเข้ามาดูแลในส่วนนี้มากขึ้นตามไปด้วย

    แต่ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็ไม่ใช่เพียงความรับผิดชอบของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะเมื่อสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้เราได้อย่างที่ควรจะเป็น การช่วยกันเปล่งเสียงให้ดังอาจพอสร้างการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง รักษาสิทธิของความพลเมืองที่ควรจะได้รับ และในขณะเดียวกันเอง กลุ่มผู้มีอำนาจเองอาจจะต้องเพิ่มการเข้าถึงภาคประชาชนให้มากขึ้น ดำเนินงานอย่างโปร่งใส เพื่อลดช่องว่างที่อาจเกิดขึ้น และแก้ไขปัญหานั้นมีความเป็นรูปธรรมมากกว่าเพียงแค่รอรับหนังสือร้องเรียน 

    อ้างอิง

    อายุการใช้งานของถนนแต่ละประเภท

    ข้อมูลของจำนวนรถที่เพิ่มขึ้น

    Related

    Rocket Media Lab พาสำรวจ ‘ไฟป่า’ เกิดขึ้นที่ไหน กระจายงบกันอย่างไร

    จากเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าที่จังหวัดเชียงใหม่ จนต้องประกาศเขตภัยพิบัติใน 317 หมู่บ้าน 5 อำเภอ พร้อมกับจุดความร้อนที่สูงขึ้นในประเทศเมียนมาที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศจนทำให้เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายอันดับหนึ่งของโลก  Rocket Media Lab...

    เชียงใหม่เมืองดนตรี กับเหตุผลที่ว่าทำไมยังไม่มี Live House

    เรื่อง: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางแสงไฟสลัวและเสียงเพลงอันแผ่วเบา สะท้อนมาจากร้านอาหารหรือสถานบันเทิงอันเป็นที่นิยมของนักท่องราตรี “เชียงใหม่เมืองดนตรี” ในวันที่ทุกคนถามถึงพื้นที่เล่นดนตรีที่มีคุณค่า บ่อยครั้งเรากลับพบว่าการแสดงดนตรีสดในเมืองที่โรแมนติกตามคำใครนิยามไว้ กลายมาเป็นของแถม ซึ่งต่างจากในต่างประเทศ...

    มองศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์พะเยา (ตอน 2) ท่องเที่ยวพะเยา… ไม่ใช่แค่กว๊านพะเยา

    เรื่อง: กมลชนก เรือนคำ ชุดบทความนี้อยู่ภายใต้โครงการจัดการทุนทางวัฒนธรรมด้วยพันธกิจที่ 4 ของมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่นของชุมชนวัฒนธรรมระเบียงกว๊านพะเยา อ่าน เมดอินพะเยา: มองศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์พะเยา (ตอน...