26 พฤษภาคม 2566 วันสุดท้ายของงานประชุมนานาชาติสิทธิดิจิทัลเอเชีย-แปซิฟิก (DRAPAC23) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม Uniserv CMU และหอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นเพื่อหารือผสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ออนไลน์ โดยเสวนาในวันนี้คือเรื่องของ Building Momentum on Digital Rights หรือการสร้างโมเมนตัมในด้านสิทธิดิจิทัล
ผู้ดำเนินงานเสวนาคือ Rowan Reid, Asia Programs Manager, Internews และผู้ร่วมอภิปราย 3 คน ร่วมพูดคุยถึงประเด็นสุดท้ายในวันนี้
สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้ง 5 วัน
คนแรก Kathleen Azali, Tech Weaver, Numun Fund กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้ร่วมงานนี้ ได้เรียนรู้หลายอย่าง ทั้งการได้พบเจอผู้คนใหม่ ๆ ได้ข้อมูลความรู้ที่จะต่อยอดงานของแต่ละประเทศได้ เราโชคดีมากที่ได้มาทำงานนี้
ด้าน Hyra Basit, Program Manager, Digital Rights Foundation กล่าวว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้คือการได้รู้จักผู้คนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น มันดีมากที่ได้ยินเสียงคนที่เราไม่เคยได้ยิน และค้นพบวิธีที่จะหาทางปรับแก้ในประเทศของตนเองและประเทศอื่น ๆ ต่อไป
และ Tatjana Ljubic, MEL Specialist, Greater Internet Freedom กล่าวว่า เห็นด้วยกับทุกท่านที่พูด เราได้รู้ว่ามีคนคอยสนับสนุน เข้าใจบริบทของแต่ละประเทศมากขึ้น และดีใจที่ได้เชื่อมโยงกับผู้คนเหล่านี้
ความร่วมมือกันจากท้องถิ่นถึงชาติ
Kathleen Azali กล่าวว่า เราต้องลองดูว่าคนเหล่านั้นเป็นใคร การเดินทางยากลำบากแค่ไหน และไม่อยากนึกว่าคนที่อยู่พื้นที่ห่างไกลกว่านั้นจะลำบากแค่ไหน และแน่นอนว่ากำแพงด้านภาษาทำให้เรายิ่งต้องพยายามเข้าใจกันและกันมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงการสร้างเครือข่ายกับผู้คนมากมายจะทำยังไงให้เกิดขึ้นได้จริงนั้น ก็คือการลงมือทำ
“ระหว่าง brain storm ฉันคิดว่าคุณภาพสำคัญกว่ากำลังคน มันคือการคำนึงถึงการเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน และมีแผนเป็นการบ้านให้กลับไปคิดเสมอ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการคุยกับเพื่อนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน วางเป้าหมายเดียวกัน เพื่อบรรลุความต้องการของเราทุกคน แม้จะอยู่คนละพื้นที่ก็ทำได้เพราะเราลงมือทำได้เลย” Hyra Basit กล่าว
ด้าน Tatjana Ljubic กล่าวว่า พื้นที่การทำงานในองค์กรมีมากกว่า 40 ประเทศ พื้นฐานคือการสร้างเครือข่ายมากขึ้น รวมคนจากองค์กรต่าง ๆ เข้าด้วยกันทั้งประเทศและชุมชน และพวกเขาจะไปประชาสัมพันธ์กับแต่ละประเทศต่อไป เครือข่ายของเราค่อนข้างกว้างขวาง ใน network มีความร่วมมือที่ดีกระบวนการที่จะทำให้การประชุมสำเร็จผล เราต้องรับรู้และซึมซับบางอย่าง เพื่อเผยแพร่สิ่งเหล่านั้นออกมาให้ได้จริง ๆ และแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้แก่กันและกัน และเราสามารถร่วมมือกันมากกว่านี้ได้ยังไง
เสียงของคุณมีความหมาย
Hyra Basit เล่าว่า องค์กรของเธอโฟกัสที่จำนวนคนที่เราช่วยเหลือ และหวังว่าองค์กรท้องถิ่นต่าง ๆ จะช่วยเหลือกันทั้งใน community ที่แตกต่างและหลากหลาย พยายามโฟกัสไปที่เรื่องราวของแต่ละปัจเจกบุคคล หากเราสามารถสร้างความไว้ใจตรงนี้ได้ เราจะสามารถบอกเขาได้ตรง ๆ ว่าเราทำให้เสียงของพวกเขามีความหมายได้ เราจะสร้างคอนเนคชั่นเพื่อเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา เราบอกพาร์ทเนอร์ได้ว่าเราสื่อสารกับคนในท้องถิ่นได้นะ และเรารับรู้ปัญหาของเขาได้จริง
“ดังนั้น หน้าที่ของเราคือการทำให้เสียงของคนเหล่านี้มีค่ามากขึ้นได้”
การหาทรัพยากรเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
Kathleen Azali กล่าวว่า การหาทุนยังเป็นเรื่องยากมาตลอด เราได้ทุนในปีแรกตอนที่กลุ่มมี 7 คน หนึ่งกลยุทธ์ที่เราก็แค่หาทุนคือการหาผู้ให้ทุนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่กว่าจะเปลี่ยนแปลงมันจะมีช่องว่างระหว่างทุนกับการเปลี่ยนแปลง มันอาจจะรอนานมาก แต่เราต้องเรียกร้องทุนให้ได้มากที่สุดในแต่ละโครงการ วางระดับทุนกับงาน และสร้างความไว้ใจกับผู้ให้ทุน
และ Tatjana Ljubic กล่าวทิ้งทายว่า วิธีการของเธอคือดูว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่สำคัญในประเทศ เราจะถามปัญหาจากคนในท้องถิ่น จะทำให้คนในท้องถิ่นรู้สึกมีส่วนร่วมในงานตรงนั้น และบอกผู้บริจาคเงินได้ว่านี่คืองานของตัวเองคุณเช่นกันนะ และนอกจากนั้นเราจะรู้สึกได้ว่างานนั้นก็เป็นของเรา
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานคือการทำงานร่วมกัน ร่วมกันสร้างสิ่งใหม่ ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ในทุกพื้นที่ของโลก เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพวกเราทุกคน
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...