ณ ผืนป่า ผู้คน และชนชั้น : เล่าประสบการณ์และความสุนทรีย์ทางชนชั้นในพื้นที่ทางธรรมชาติผ่านเทรลรันนิ่ง

เรื่อง : ภูริทัต ต๊ะสิน

” Sometimes you just need to take a break and disconnect from the chaos. The trail is my sanctuary; a place where I can go to quiet my mind, energize my body, and connect with nature. It’s not just a run; it’s a journey, an adventure. ” – Scott Jurek

คำกล่าวของนักวิ่งอัลตรามาราธอนชาวอเมริกาคนนี้ สื่อถึงสาระสำคัญของสิ่งที่ทำให้การวิ่งเทรลนั้นพิเศษ และแตกต่าง ที่ว่าการวิ่งเทรลไม่ใช่แค่การออกกำลังกาย แต่ยังเกี่ยวกับการเยียวยาจิตใจและความรู้สึก ผ่านการเชื่อมต่อกับโลกธรรมชาติ การวิ่งเทรลคือการเดินทางเป็นกระบวนการสำรวจและค้นพบ ไม่ใช่แค่เพื่อจุดหมายปลายทางเพียงอย่างเดียว การวิ่งเทรลสามารถที่จะแปรเปลี่ยนคุณค่าของชีวิตได้และช่วยให้ค้นพบความสมดุล และความหมายในโลกอันแสนวุ่นวายนี้

ถึงกระนั้นก็ตาม คำกล่าวข้างต้นก็ช่างสวยงามดั่งดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิเสียนี่กระไร เป็นมุมมองที่ชนชั้น กลางมองโลกธรรมชาติ เป็นที่พักผ่อนและผจญภัย เพราะพื้นที่ป่าในสังคมเมืองถูกมองเป็นแบบนั้นไปจริงๆ พื้นที่ ป่าได้แยกออกจากสังคมมนุษย์อย่างคลุมเคลือ ชนิดกีฬาที่ดำเนินการผ่านพื้นที่ธรรมชาติที่ถูกสร้างอย่างจงใจ เลยอยากจะเชิญชวนให้มาทำความเข้าใจประเด็นทั้งหลายผ่านบทความนี้มาทำความเข้าใจกับกีฬาเทรลรันนิ่งนี้กัน


ภาพที่ 1 และ 2 ภาพถ่ายจากการไปเดินเทรลครั้งแรกของผู้เขียน

เรื่องเล่า ประสบการณ

“ตอนแรกก็เริ่มจากวิ่งถนนก่อน 10 กิโล ย้ายมาอยู่เชียงใหม่เพราะก่อนหน้าอยู่กรุงเทพฯ แล้วไม่ได้ไปวิ่ง เพราะกรุงเทพฯมันยุ่งงวุ่นวาย ทำงานแล้วก็ว่าง เจอเพื่อนที่เขาวิ่ง ก็ไปวิ่งกัน” นายสมภพ อายุ 50 ปี หรือพี่ป๊อป นักวิ่งมืออาชีพและอาชีพผู้ประกอบการตอบเมื่อถามถึงจุดเริ่มต้นของการวิ่งเทรล “ชอบธรรมชาติ ไม่ชอบเข้าเมือง ไม่ ค่อยเข้าเมืองเท่าไหร่ หนังก็ไม่ค่อยดู ห้างก็ไม่ค่อยเดิน…บางทีนึกครึ้มขึ้นมา ก็ปั่นไปแม่กำปอง ไปปาย นี่คือจิ๊บ ๆ ของผม ดอยสุเทพนี่จิ๊บ ๆ แต่ดอยอินทนนท์นี้ไม่ไหวครับ(หัวเราะ)” สำหรับเขาแล้ว การวิ่งเทรลเป็นทั้งกีฬา เป็น  Adventure ได้ท้าทาย และผจญภัยก็ว่าได้ อีกทั้งยังได้อยู่ในธรรมชาติ เมื่อถามถึงสภาพแวดล้อมมีผลยังไงกับการวิ่งเทรล อย่างในป่าหรือช่วงที่เป็นฝุ่นควัน เขาก็บอกว่าทำให้แสบตา แสบจมูก แสบคอบ้าง หรือก็คือสภาพแวดล้อม มีผลอย่างมากกับประสิทธิภาพการวิ่ง อย่างช่วงฤดูฝน แม้ฝนจะตกบ้าง แต่นักวิ่งก็ยังคงวิ่งกันอยู่ “เปียกกันไปนิด ๆ หน่อย ๆ เพราะยังไงเสีย วิ่งเทรลก็ต้องลุยอยู่แล้ว” การวิ่งเทรลนั้นบางครั้งก็วิ่งกันเป็นกลุ่มกับเพื่อน แต่บางครั้งเราก็ ต้องวิ่งคนเดียว ต้องหมั่นฝึกซ้อม มีวินัยกับตนเอง “ถามว่ามีเพื่อนไหม ก็มี แต่บางทีก็เจอกันในสนาม ทักกันนิด หน่อย เพราะ step แต่ละคนไม่เท่ากันไง” เขายังเสริมอีกว่าได้เพื่อนเป็นประจำ ส่วนใหญ่ก็ไปเจอกันตามงานวิ่ง แต่ พอซักพักก็แยกหายไป แล้วก็กลับมาเจอกันใหม่วนอยู่อย่างนี้


ภาพที่ 3 ใบปะหน้าเสื้อของพี่ป๊อปที่มอบให้กับผู้เขียน

20 กว่าครั้ง เป็นจำนวนการเข้าร่วมวิ่งเทรลในแต่ละปีของพี่ป๊อป “ไปวิ่งมาก็หลายงานแล้วเหมือนกัน… งานมีทั่ว จัดกันเยอะ ถือว่าไปเที่ยวด้วยบางคน แต่พอถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ก็เลิก ไม่รู้เริ่มทำอะไรดี” แม้เขาจะบอกว่า เลิก แต่ก็หมายถึงกรณีที่เป็นช่วงที่เขาเอาจริงเอาจัง เขาก็ยังคงออกกำลังและวิ่งในแบบที่เขาต้องการอยู่ทุก ๆ วัน เขาเล่าประสบการณ์เพิ่มเติมกับงานที่จัดขึ้นที่ดอยอินทนนท์ สถานที่ยอดฮิตและมีชื่อเสียง บางคนก็มาจากภาคใต้ เพื่อมาวิ่งที่งานนี้ ส่วนสำหรับเขานั้นก็ไปพิชิตมาเหมือนกัน แต่ไม่สำเร็จ และเข็ดหลาบไปหลายเดือนเลย “สำคัญ คือนักวิ่งต้องมีสติ ต้องรู้ตัวเอง” คำเตือนจากพี่ป๊อปเมื่อพูดคุยถึงกรณีที่หักโหมจนเกินไปและประสบการณ์ที่เขาพบเจอมาจากทั้งเคยเป็นนนักวิ่งเองหรือเป็นทีมงานที่ช่วยเหลือการจัดงาน พอถามถึงเรื่องของการเป็นออแกไนซ์ เขาก็ตอบกลับว่า ออแกไนซ์ส่วนใหญ่ก็เป็นนักวิ่งด้วยกันที่ผันตัวมาทำด้านนี้ และพวกเขาก็จะไปวิ่งทดลองสนามกันมาก่อนเสียด้วยที่จะจัดงานหรือกำหนด route วิ่ง เขายังเสริมถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในพื้นที่ทางธรรมชาติเหล่านั้นด้วยว่า “มีบ้างนิดหน่อย เขาจะไปถางป่าให้เรา แต่ก็ยังรกอยู่ แต่ก็รกน้อยลงหน่อย”

การวิ่งเทรลในปัจจุบันได้พัฒนากลายเป็นธุรกิจอย่างเต็มตัว เป็นเรื่องของผลประโยชน์ ทั้งฝ่ายจัดงานและคนให้ใช้พื้นที่ จากที่เคยวิ่งเมื่อช่วงก่อนหน้านี้ค่าสมัครแค่ 40 บาทก็มี “แต่ก่อนค่าวิ่งไม่ถึง 100 บาท 40-50 บาท ตอนนี้ค่าบัตรอยู่ที่ 350 ได้เสื้อตัวเดียว ถ้าวิ่งเทรลก็ 700-800” เมื่อเทรลพัฒนาเป็นสากลขึ้น ทุกอย่างก็ขยับขยายขึ้นตามไปด้วย พอถามถึงค่าใช้จ่ายที่ใช้กับการวิ่งเทรลของพี่ป๊อป เขาบอกว่าก็หนักเอาเรื่อง ไหนจะค่าอุปกรณ์สำหรับใช้งานอีก บางครั้งก็นั่งเครื่องบินเพื่อไปวิ่ง ค่าโรงแรม ค่าเช่ารถอีก ก็เสียไปหลายหมื่นบาทได้แต่บางครั้งก็มีสปอนเซอร์คนรู้จักออกให้บ้าง แล้วแบบนี้คนที่มีรายได้น้อยหรือหาเช้ากินค่ำพอจะไปวิ่งแบบนี้บ้างไหม “ค่าใช้จ่าย เยอะนะครับ ค่ารองเท้า ค่าชุด ค่าหมวก ค่าถุงมือ ก็คงชนชั้นกลาง หาเช้ากินค่ำน่าจะไปวิ่งไม่ไหว แต่ก็อาจจะมี บ้างแหละ” เขาตอบ จากบทสัมภาษณ์ที่ได้พูดคุยกับพี่ป๊อป ทำให้เห็นถึงความแบ่งแยกบางอย่างที่อยู่นอกเหนือแค่ ความสนใจส่วนตัว แต่กลับกลายเป็นปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคมเสียเองที่ได้สร้างความเหลื่อมล้ำและกันกีดกันผู้คน จำนวนไปน้อยออกไปจากกิจกรรมเหล่านี้ โดยเฉพาะพื้นที่ของโลกกีฬาที่ส่งเสริมสุขภาพ

ทำความรู้จักกับเทรลรันนิ่ง

การวิ่งเทรล (Trail running) เป็นกิจกรรมการวิ่งออกกำลังกลางแจ้งที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติและมักเป็นการใช้เส้นทางวิ่งบนป่าเขา มากกว่าตามท้องถนน ลักษณะเด่นของการวิ่งเทรลคือเน้นที่เส้นทางกลางแจ้ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในพื้นที่ภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ลำธาร และบ้างก็พื้นที่ชายหาด (บางช่วงตอนก็ใช้พื้นที่ตามถนนลาดยางด้วย) และที่สำคัญรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับความสูงของพื้นที่ด้วย แม้จะมีความ คล้ายคลึงกันกับ Mountain running และ Fell running (หรือ Hill running) แต่ก็แตกต่างกันในด้านรูปแบบ และกติกา

รูปแบบการวิ่งเทรลที่กลายเป็นที่นิยมและมีกฎระเบียบที่ชัดเจน เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในช่วงครึ่งหลังของ ศตวรรษที่ 20 แม้ว่าการวิ่ง off-road ในภูมิประเทศที่เป็นธรรมชาติจะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ และผู้คนก็ยังคงสืบเสาะหาเส้นทางใหม่ ๆ แต่พัฒนาการของกีฬาวิ่งเทรลคงต้องย้อนกลับไปในอดีต ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เมื่อ Mountain running ซึ่งเป็นการวิ่งบนภูเขาประเภทหนึ่ง บวกกับกระแสของ Fell running ที่เป็นการแข่งขันวิ่งในระยะสั้นและสูงชัน เริ่มได้รับความนิยมในสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ ทำให้การ วิ่ง off-road เริ่มเป็นสิ่งน่าสนใจมากขึ้น ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 การวิ่งเทรลก็พัฒนาขึ้น และเริ่มแพร่หลายไป ยังส่วนอื่นของยุโรปและภูมิภาคต่าง ๆ ในอเมริกา ในทศวรรษที่ 1960-70s การวิ่งเทรลได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากผู้คนเริ่มออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งมากขึ้นเรื่อย ๆ และความต้องการที่จะเชื่อมต่อกับธรรมชาติ ผู้คนเริ่มสำรวจเส้นทาง off-road ใหม่ ๆ สิ่งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเติบโตของอัลตรามาราธอน หรือการแข่งขันวิ่งระยะทาง กว่า 26.2 ไมล์เริ่มได้รับความนิยม

ต่อมาในช่วงปี 1980-90s การวิ่งเทรลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุปกรณ์วิ่ง เทรลที่มีมากขึ้นและการพัฒนาเส้นทางวิ่งเทรลใหม่ ๆ การวิ่งเทรลกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น เนื่องจากมีการนำเสนอในนิตยสารและรายการโทรทัศน์กิจกรรมและองค์กรการวิ่งเทรลโดยเฉพาะก็เกิดขึ้นในช่วงปีนี้ ยุโรปได้ จัดตั้งสมาคมวิ่งเทรลต่างๆ เช่น International Trail Running Association (ITRA) หรือ American Trail Running Association (ATRA) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการวิ่งเทรล จัดหาทรัพยากรให้กับนักวิ่ง และ สนับสนุนการอนุรักษ์เส้นทาง และสหพันธ์วิ่งเทรลแห่งชาติในหลายประเทศ องค์กรเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมกีฬาวิ่งเทรล กำหนดแนวทางสำหรับการแข่งขัน และส่งเสริมความรู้สึกของชุมชนในหมู่นักวิ่งเทรล ปัจจุบัน การวิ่งเทรลเป็นหนึ่งในกิจกรรมกลางแจ้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุโรป มีการแข่งขันวิ่งเทรลนับพันรายการที่ จัดขึ้นทุกปี และมีชมรมวิ่งเทรลในทุกประเทศ

ความนิยมของการแข่งขันวิ่งเทรลที่จัดขึ้นนั้นเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยการกำเนิด ของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย การวิ่งเทรลจึงได้รับการมองเห็นและเข้าถึงได้ทั่วโลก การแลกเปลี่ยนข้อมูล รายงานการแข่งขัน และการแบ่งปันประสบการณ์การวิ่งเทรลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ยิ่งกระตุ้นความนิยมและชุมชนของนักกีฬา โดยมีจำนวนการแข่งขันทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ระหว่างปี 2008 ถึง 2018 นักวิ่งเทรลมักจะให้ เหตุผลหลายประการสำหรับความชอบของพวกเขา รวมถึงความเครียดจากแรงกระแทกที่ลดลงเมื่อเทียบกับการวิ่ง บนถนน ความงดงามของทิวทัศน์ธรรมชาติ และโอกาสในการหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมในเมือง การเปลี่ยนไปสู่ กิจกรรมที่เน้นธรรมชาติการวิ่งเทรลมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครและผจญภัยท้าทายให้กับนักวิ่ง โดยเป็นการ ผสมผสานระหว่างสมรรถภาพทางกายเข้ากับการเชื่อมต่อโลกธรรมชาติ


ภาพที่ 4 และ 5 เพื่อนร่วมทาง และจุดหมายปลายทางบนขุนช้างเคี่ยน

สำหรับประเทศไทย พัฒนาการของการวิ่งเทรลเป็นปรากฏการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน แต่ก็ได้แรงผลักดันอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยภูมิประเทศที่หลากหลายของพื้นที่ธรรมชาติ ประเทศไทยจึงเป็นฉากหลังที่สมบูรณ์แบบสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการวิ่งเทรลที่แสวงหาภูมิประเทศที่มีเอกลักษณ์และท้าทาย ช่วงต้นทศวรรษ 2000 นักวิ่งที่มีความหลงใหลไม่กี่คนเริ่มสำรวจเส้นทางและจัดกิจกรรมวิ่งเทรลขนาดเล็กในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ผู้บุกเบิกยุคแรกเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความตื่นตัวและชุมชนนักวิ่งเทรลขนาดย่อมขึ้น เมื่อผู้คนสามารถค้นพบความสุขของการวิ่งแบบ off-road มากขึ้น ความนิยมของการวิ่งเทรลก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อความสนใจ ในการวิ่งเทรลเพิ่มมากขึ้น การวิ่งเทรลในประเทศไทยจึงได้รับการสนับสนุนจากผู้จัดการแข่งขัน และหน่วยงาน ท้องถิ่นมากขึ้น กระตุ้นให้นักวิ่งสำรวจเส้นทางของประเทศมากขึ้น ผู้จัดการแข่งขันก็เริ่มจัดกิจกรรมที่ใหญ่ขึ้นและ ท้าทายมากขึ้น ภูมิประเทศที่หลากหลายของประเทศไทย ตั้งแต่พื้นที่ภูเขาทางตอนเหนือไปจนถึงป่าเขียวชอุ่มและเส้นทางเลียบชายฝั่งทางตอนใต้ นำเสนอทางเลือกมากมายสำหรับการจัดการแข่งขันที่มีระยะทางและระดับความ ยากต่างกัน การวิ่งเทรลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวงการวิ่งของไทย โดยมีปฏิทินการแข่งขันวิ่งเทรลตลอดทั้งปี

สำรวจวัฒนธรรม

ปัจจุบันเทรลรันนิ่งกลายเป็นกีฬาสากลชนิดหนึ่งไปแล้ว แม้จะมีจุดเริ่มต้นจากกิจกรรมพื้นถิ่นและกีฬา สมัครเล่นที่ไม่ตายตัวในอดีต ได้พัฒนาสู่ความเป็นสากลผ่านการผลักดันของเหล่านักวิ่งเทรลและสมาคม แม้ถ้ามองจากบางมุม การวิ่งเทรลก็อาจจะเป็นกีฬาที่เล่นคนเดียวที่ไปเดินไปวิ่งในพื้นที่ป่าไม้ แต่ก็ยังคงเป็นกิจกรรมที่อาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย พื้นที่เส้นทางเหล่านั้นก็ถูกสร้างขึ้นมาจากฝีมือของมนุษย์ทั้งสิ้น ในที่สุดแล้วก็จะเกิดการปฏิสัมพันธ์สังคมแบบใดแบบหนึ่งขึ้น และนำไปสู่การรวมกลุ่มของนักวิ่งในพื้นที่ต่าง ๆ โดยที่สุดจึงก่อให้เกิด รูปแบบของวัฒนธรรม ค่านิยม และพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน และแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ด้วยเช่นกัน ชุมชน นักวิ่งเทรลสะท้อนถึงวัฒนธรรมเฉพาะที่มีพลวัตและการพัฒนา ซึ่งหล่อหลอมโดยภูมิหลัง ประสบการณ์ และ มุมมองที่หลากหลายของสมาชิก และรวมเป็นหนึ่งด้วยความหลงใหลในการวิ่งในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีร่วมกัน

วัฒนธรรมของชุมชนการวิ่งเทรลครอบคลุมถึงความเชื่อ และแนวปฏิบัติมากมายที่กำหนดอัตลักษณ์ร่วม และประสบการณ์ของนักวิ่งเทรลทั่วโลก นักวิ่งเทรลจะแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่องราว และเทคนิค ส่งเสริมความรู้สึก เป็นมิตรและการสนับสนุน ไม่ว่าจะผ่านกลุ่มวิ่งเทรลในท้องถิ่น ชุมชนออนไลน์ หรือกิจกรรมระหว่างประเทศ วัฒนธรรมชุมชนการวิ่งเทรลเป็นเวทีสำหรับการเชื่อมต่อ แรงบันดาลใจ และการเฉลิมฉลองประสบการณ์ที่มี ร่วมกัน และในฐานะชุมชนที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ นักวิ่งเทรลต่างมีความหลงใหลร่วมกันในการสำรวจภูมิประเทศทาง ธรรมชาติ ก้าวข้ามขีดจำกัด และเชื่อมต่อกับผู้ที่มีความคิดเหมือน ๆ กัน วัฒนธรรมภายในชุมชนนักวิ่งเทรลอีกอย่าง ที่มีลักษณะเด่นคือ ความซาบซึ้งในธรรมชาติ จิตวิญญาณแห่งการผจญภัย ผ่านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม นำไปสู่ข้อสังเกตสองประการในประเด็นวัฒนธรรมเฉพาะนี้ได้แก่อัตลักษณ์การรวมกลุ่ม และโลกทัศน์ของพวกเขา

สำหรับประเด็นแรกอย่าง อัตลักษณ์การรวมกลุ่ม การประกอบสร้างอัตลักษณ์ของนักวิ่งเทรลเหล่านี้ ดำเนินการผ่านการรวมตัวกัน ไม่ว่าจะในโลกกายภาพหรือพื้นที่โลกออนไลน์ ชุมชนนักวิ่งเทรลส่งเสริมความรู้สึก ประสบการณ์ร่วม และความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างผู้ที่เข้าร่วม ชุมชนมักจะไม่เน้นการแบ่งแยก แต่จะสร้างพื้นที่ และสนับสนุนการที่แต่ละนักวิ่งปฏิสัมพันธ์กัน ทั้งความชื่นชอบในตัวกีฬา กิจกรรม และความรักในพื้นที่เส้นทาง ธรรมชาติ ประสบการณ์ร่วมและความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างบุคคลภายในชุมชนนักวิ่งเทรลนี้เอง ก็จะเกิด เป็นความท้าทายทางกายภาพร่วมกันขึ้น ประสบการณ์ในธรรมชาติ และการแสวงหาการเติบโตส่วนบุคคล และ การผจญภัยร่วมกัน อัตลักษณ์ร่วมนี้เสริมสร้างความผูกพันทางสังคมและส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลและ ครอบคลุม การวิ่งเทรลช่วยส่งเสริมเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมย่อยภายในชุมชนนักวิ่งที่ใหญ่ขึ้น หรือกล่าวอย่างเข้าใจโดยง่ายคือ การสร้างอัตลักษณ์ของนักวิ่งเทรลทั้งหลาย พัฒนามาจากความสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมกีฬาวิ่งเทรล และการรวมตัวกันของนักวิ่งในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปในรูปแบบที่นักวิ่งและชุมชนที่พวกเขาสังกัดต้องการ

นักวิ่งเทรลส่วนใหญ่มักจะเริ่มและผันตัวมาจากการเป็นนักวิ่งบนถนนและกลุ่มกีฬาอื่น ๆ โดยกิจกรรมนี้ก็ จะตอบโจทย์ของเหล่านักวิ่งที่เน้นความท้าทาย ค่านิยม และสุนทรียภาพอันเป็นเอกลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง เทรล ขณะเดียวกันเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมย่อยนี้ช่วยเสริมความรู้สึกเป็นเจ้าของและค่านิยมร่วมกันภายในชุมชน นอกจากนี้ชุมชนนักวิ่งเทรลให้ความสำคัญกับเรื่องเล่าและการเล่าเรื่องในฐานะวิธีการแบ่งปันประสบการณ์ ความท้าทาย และชัยชนะ นักวิ่งมักจะแลกเปลี่ยนเรื่องราวการวิ่งที่ยิ่งใหญ่ การเผชิญหน้ากับสัตว์ป่า หรือการเอาชนะอุปสรรคส่วนตัวบนเส้นทาง เรื่องเล่าเหล่านี้มีส่วนในการสร้างความทรงจำร่วม สร้างประสบการณ์และตำนานที่ แบ่งปันกันภายในชุมชน

ในส่วนถัดมาคือ โลกทัศน์กับธรรมชาติ อย่างที่กล่าวไปถึงเรื่องของมุมมองและทัศนคติเกี่ยวกับโลก ธรรมชาติที่นักวิ่งเหล่านี้รับรู้ โดยที่พวกเขามองโลกธรรมชาติในฐานะของสนาม สำรวจพื้นที่อันน่าตื่นเต้นและผจญภัยร่วมไปกับมัน พื้นที่ทางธรรมชาติในโลกทัศน์นี้ได้แยกตัวออกจากความเป็นสังคมเมืองอันแสนวุ่นวายอย่างคนละขั้ว ชุมชนวิ่งเทรลแสดงมุมมองทางธรรมชาติในทิศทางที่ว่า นักวิ่งโอบรับการเชื่อมต่อกับโลกธรรมชาติ มักใช้คำว่า “การเชื่อมต่อกับรากเหง้าบรรพบุรุษของเราอีกครั้ง” หรือ “การกลับสู่สัญชาตญาณดั้งเดิมของเรา” มุมมองนี้สะท้อน ถึงความปรารถนาที่จะหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมแบบเมืองสมัยใหม่ และโอบรับความดิบและความเป็นจริงของภูมิทัศน์ของธรรมชาติการวิ่งเทรลมักจะถูกเชื่อมโยงกับจิตวิญญาณของการสำรวจและการผจญภัย นักวิ่งเทรลค้นหาเส้นทางใหม่ ไล่ตามความท้าทายส่วนตัว และเปิดรับสิ่งที่ไม่รู้จัก สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของ มนุษย์ในการแสวงหาประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น ค้นพบสิ่งต่าง ๆ ที่ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น ผจญภัยในพื้นที่ ทางธรรมชาติทั้งทางร่างกายและจิตใจ โลกทัศน์นี้ได้ถูกผลิตซ้ำ ๆ ในสังคมนักวิ่งและแถบจะกลายเป็นมุมมองหลัก และอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของนักวิ่งเทรลไปโดยปริยาย

ดูเหมือนโลกทัศน์นี้ไม่ได้เป็นปัญหาเสียอย่างไร ทั้งก็ยังสนับสนุนให้นักวิ่งเทรลหลายคนแสดงออกถึงความ ใส่ใจในการดูแลสิ่งแวดล้อมเสียด้วยซ้ำ ทำให้พวกเขาตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติ และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติที่ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ แต่ก็ช่างเป็นมุมมองที่ตกหลุมกับดักทางความคิดแบบคู่ตรงข้ามเสียนี่ถ้าหากความเป็นธรรมชาติถูกแยกให้ออกจากเมืองที่เป็นสังคมมนุษย์แล้วนั้น ป่าที่มีผู้คนอาศัยอยู่เล่า จะเป็นอย่างไร ? แต่แท้จริงแล้ว ป่าและพื้นที่ทางธรรมชาติทั้งหลายแยกจากสังคมเมืองจริงหรือ ?


ภาพที่ 6 ขอบคุณที่มาเยือน ณ ขุนช้างเคี่ยน

สุนทรียทางชนชั้น

แม้ประเด็นก่อนหน้าจะเป็นการกล่าวหาต่อเหล่านักวิ่งเทรลอย่างอุกอาจถึงโลกทัศน์แบบคู่ตรงข้าม ที่ว่าป่ากับเมืองอยู่คนละขั้ว และพื้นที่ทางธรรมชาติทั้งหลายก็เป็นเพียงสุญทรียภาพของเหล่าชนชั้นกลางในเมืองไปเสียนี่ แต่มโนทัศน์ดังที่กล่าวมานี้ก็ไม่ใช่จะไม่จริงเสียทีเดียว ชนชั้นกลางในเมืองซึ่งขับเคลื่อนด้วยสถานะทางเศรษฐกิจ และสังคมของพวกเขา พยายามเข้าสภาพแวดล้อมที่สะท้อนถึงแรงบันดาลใจและค่านิยมทางสังคมของพวกเขา พวกเขามักจะใช้เวลาว่างอย่างจริงจังเพราะมีทรัพยากรทางการเงินและเวลาที่จะทำเช่นนั้น กิจกรรมยามว่าง เช่นการเดินทาง กีฬา และกิจกรรมทางวัฒนธรรม ที่มักต้องใช้เงินและเวลา ซึ่งไม่สามารถทำได้เสมอไปสำหรับผู้ที่มี รายได้น้อย คนชั้นกลางให้ความสำคัญกับกิจกรรมยามว่างและงานอดิเรกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีเวลาว่างและรายได้ ที่ใช้แล้วทิ้งมากกว่าบุคคลในชนชั้นที่ต่ำกว่า พวกเขายังอาจเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ เช่นเครือข่ายทางสังคมและ โอกาสทางการศึกษา ที่ช่วยใหdพวกเขาสามารถทำกิจกรรมยามว่างและงานอดิเรกได้ และพัฒนาทักษะและความรู้ใหม่ ๆ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ความรู้สึกบรรลุผลและจุดประสงค์นอกเหนือจากงานหรือภาระหน้าที่อื่น ๆ กิจกรรมยามว่างเป็นส่วนสำคัญของชีวิตทางสังคม โดยทำหน้าที่เป็นวิธีการพบปะสังสรรค์ สร้างชุมชน และส่งเสริมค่านิยมและ บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และเป็นนการสร้างอัตลักษณ์ทางสังคมแบบหนึ่ง

กิจกรรมยามว่างอาจเป็นหนทางหนึ่งในการแสดงสถานะทางสังคม แสดงออกถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และเสริมสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมทางวัฒนธรรม บ่งบอกถึงสถานะทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งสามารถช่วยให้บุคคลสร้างสายสัมพันธ์ทางสังคมและสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในตำแหน่งทางสังคมที่คล้ายคลึงกัน ความเชื่อมโยงทางสังคมเหล่านี้อาจนำไปสู่โอกาสต่อไปสำหรับความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจ กิจกรรมยามว่างต่าง ๆ สามารถทำหน้าที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่ง สำหรับบุคคลในชนชั้นกลางและชนชั้นสูง ในทฤษฎีทุนทางวัฒนธรรมของ Pierre Bourdieu การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมและกิจกรรมยามว่าง บางอย่างสามารถมอบสถานะทางสังคมและความแตกต่าง ซึ่งสามารถแปลงเป็นทุนทางเศรษฐกิจและทุนรูปแบบอื่น ๆ ชนชั้นกลางบริโภคเทรลรันนิ่งที่เข้าไปโลดแลIนบนพื้นที่ทางธรรมชาติในฐานะของสัญญะแห่งความพึงพอใจ เสพสุนทรียะผ่านความสัมพันธ์อันซับซdอนระหว่างอัตลักษณ์ ทุนทางวัฒนธรรม และการแสวงหาประสบการณ์ในการวิ่งเทรล

ภายในชุมชนนักวิ่งเทรล ชนชั้นทางสังคมที่แตกต่างกันอาจแสดงสุนทรียภาพที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ คุณค่าทางวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านวิถีชีวิต และการเข้าถึงทรัพยากรของพวกเขา ก็ยังคงมองว่าพื้นที่ธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์ของความงาม ความเงียบสงบ และการเชื่อมโยงสู่วิถีชีวิตที่แท้จริง พวกเขาไม่เพียงแต่มุ่งมั่นเพื่อเติมเต็ม ชีวิตส่วนตัวเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงทุนทางวัฒนธรรมและสถานะทางสังคมของพวกเขาด้วย มันกลายเป็นวิธีการสร้างและแสดงตัวตนของพวกเขา สร้างความโดดเด่นจากกลุ่มสังคมอื่น ๆ และเสริมสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ สร้างปฏิสัมพันธ์แบบพลวัตระหว่างวัฒนธรรมกับสิ่งแวดล้อม ผ่านความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

บทสรุป

การวิ่งเทรลเดินทางมาอย่างยาวไกลตั้งแต่จุดเริ่มต้น พัฒนาเป็นกีฬาที่เป็นทางการและเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม ดังที่เราได้เห็นในสารคดีนี้ การวิ่งเทรลกลายเป็นมากกว่ากีฬา การวิ่งเทรลมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งเชิงบวกและลบ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนแสวงหาการผจญภัย ท้าทายตัวเองและชื่นชมโลกธรรมชาติ รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพ และสร้างแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในขณะที่การวิ่งเทรลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือต้องมั่นใจว่าการวิ่งเทรลนั้นยั่งยืนและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อนาคตของเทรลรันนิ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการในกีฬากับสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงพื้นที่ธรรมชาติได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เจ้าของที่ดิน องค์กรจัดการเส้นทางวิ่งและชุมชนนักวิ่งเทรลเอง การจัดลำดับความสำคัญของการเข้าถึง การส่งเสริมการมีส่วนร่วม และการจัดการพื้นที่ทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน


อ้างอิง

  • History of Trail Running. (2022, October 27). PRO TRAIL RUNNERS ASSOCIATION. Retrieved June 9, 2023, from https://trailrunners.run/history/
  • Mikula. (2017, June 14). The History of Modern Trail Running | the running mate | running advice. The Running Mate | Running
    Advice. http://www.therunningmate.run/history-modern-trail-running/
  • Robinson, R. (2013, May 28). The Birth of Trail Running. Runner’s World. Retrieved June 9, 2023,
    from https://www.runnersworld.com/advanced/a20811911/the-birth-of-trail-running/
  • Running Profiles. (2021, May 21). ประวัติ Mountain Running และ Trail Running ตอนที่ 1 กำเนิดการวิ่งภูเขา. Retrieved June 7, 2023,
    from https://runningprofiles.com/mountain-and-trail-running-history-ep-1/
  • Running Profiles. (2021, May 23). ประวัติ Mountain Running และ Trail Running ตอนที่ 2 กำเนิดการวิ่งเทรล. Retrieved June 7, 2023,
    from https://runningprofiles.com/mountain-and-trail-running-history-ep-2/
  • Trail Running. (n.d.). worldathletics.org. Retrieved June 5, 2023, from https://worldathletics.org/disciplines/trail-running/trail-running
  • เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2564). Anthropocence: บทวิพากษ์มนุษย์และวิกฤตสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยแห่งทุน (1st ed.). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  • สุภางค์ จันทวานิช. (2563). ทฤษฎีสังคมวิทยา (9th ed.). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณiมหาวิทยาลัย.
  • อรัญญา ศิริผล. (2564). มานุษยวิทยานิเวศ: พัฒนาการแนวคิดและข้อถกเถียง (1st ed.). สำนักพิมพiมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง