เมษายน 30, 2024

    เสวนาการทับซ้อนกันของการทำงานด้านสิทธิดิจิตอล

    Share

    25 พฤษภาคม 2566 วันที่ 4 ของงานประชุมนานาชาติสิทธิดิจิทัลเอเชีย-แปซิฟิก (DRAPAC23) ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม Uniserv CMU และหอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นเพื่อหารือผสานความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ออนไลน์ โดยเสวนาในวันนี้คือเรื่องของ Intersectionality of Digital Rights Work หรือ ความเชื่อมโยงกันของงานด้านสิทธิดิจิทัล

    เสวนาที่พาทุกคนไปรู้จักความหมายของ Intersectionality ที่เชื่อมโยงกับประเด็น Digital Rights ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่และมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ผู้ดำเนินเสวนาในวันนี้คือ Vino Lucero Digital Rights Manager and DRAPAC23 Event Lead, Engage Media และผู้ร่วมเสวนา 3 คน Krupskaya Valila Polytechnic University of the Philippines, Leandro Ucciferri Ranking Digital Rights และ Naomi Fontanos  GANDA

    บริบทและวิธีการทำงานขององค์กร 

    คนแรกคือ Krupskaya Valila เล่าว่า วิธีการทำงานของโครงการในมหาวิทยาลัยคือการสร้างสิทธิทางดิจิทัลให้เกิดขึ้น สร้างขอบเขตว่าเทคโนโลยีมีอิทธิพลมากแค่ไหน ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้าง Digital Rights ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ อีกทั้งยังทำสื่อดั้งเดิมกับสื่อดิจิทัลควบคู่ไปด้วย เพื่อสร้างความเข้าใจให้มากขึ้นและกระจายข้อมูลสู่ผู้คนได้

    ด้าน Leandro Ucciferri กล่าวว่า การทำงานขององค์กรของเขาคือการพยายามจัดการ Digital Rights กับเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ตอนนี้มีการโฟกัสว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะสร้าง Digital Rights ร่วมกันอย่างไรได้บ้าง Leandro เล่าว่าองค์กรของเขาจะเป็นแนวหน้าในการนำเรื่องนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ สื่อ และทีมด้านวิชาการที่เข้ามาร่วมมือกัน เธอเสริมว่าต้องการขยายขอบเขตองค์กรโดยการขยายทรัพยากรไปด้วย เพื่อให้องค์กรในพื้นที่ชุมชนสามารถทำงานเกี่ยวกับ Digital Rights ได้จริง

    และคนสุดท้าย Naomi Fontanos กล่าวว่า องค์กรของเธออยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ ที่มองหาการสร้างความร่วมมือของ lgbtqia+ พยายามส่งเสริมกฎหมายด้านเพศในฟิลิปปินส์มามากกว่า 3 ปี และกำลังผลักดันกฎหมาย Social Bill เพื่อส่งเสริมอิสรภาพของ lgbtqia+ และต้องการให้รัฐสนับสนุนสิทธิต่าง ๆ ของคนกลุ่มนี้ แต่รัฐกลับปฏิเสธและบอกว่าต้องนำทรัพยากรในประเทศไปใช้ในด้านอื่น แต่อีกประเด็นหนึ่งที่เราสนใจคือเรื่องสิทธิทางศาสนาที่มากดทับสิทธิทางเพศ รวมไปถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดพลาดเป็นการสร้างค่านิยมทางเพศที่ผิดแก่กลุ่ม lgbtqia+ และเป็นการสร้างความกลัวให้แก่พวกเขาเพิ่มมากยิ่งขึ้น

    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการทำงานด้านสิทธิดิจิทัล 

    Krupskaya Valila กล่าวว่า ส่วนมากจะติดที่อาจารย์ โดยเฉพาะช่วง Covid-19 และ Lockdown ที่ทำให้ต้องเรียนออนไลน์ อาจารย์บางคนไม่มีความพร้อมในการสอน ไม่ใช่แค่กับนักเรียนทั่วไปแต่รวมกับถึงกลุ่มนักเรียนพิการด้วย ทำให้บางครั้งเราต้องเปลี่ยนแพลตฟอร์มใหม่ในการเรียนทุกวัน แม้แต่หลัง Covid-19 การเรียนส่วนใหญ่ยังถูกจำกัดอยู่ในช่องทางออนไลน์ ซึ่งการเรียนรู้ไม่ควรถูกตีกรอบไว้แค่นี้ แต่เราไม่มีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นเลย

    ด้าน Naomi Fontanas เล่าว่า ในฟิลิปปินส์มีการให้ข้อมูลทางเพศที่ผิดนั้น ที่เรียกว่า ความรุนแรงทางเพศบนโลกออนไลน์ Naomi เสริมว่าเราทุกคนต้องปกป้องสิทธิทางเพศ และให้ความรู้เรื่องสิทธิความปลอดภัยแก่คนในฟิลิปปินส์ แต่ก็ไม่สำเร็จเท่าที่ควร ในปี 2019 ได้มีการพูดคุยกันและพบว่ามันขาดอะไรบางอย่างไป นั่นคือ การให้ข้อมูลทางเพศที่ผิดทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน สร้างความแตกแยก และทำให้ผู้คนห่างเหินกัน รวมไปถึงการให้ข้อมูลผิด ๆ นี้บางครั้งมาจากการเลือกตั้ง จากรัฐบาล หรือจากผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งนี่คือเรื่องที่เราพยายามแก้ไข และเราต้องโฟกัส Algorithms ในออนไลน์ที่พูดถึงเรื่องเพศ แต่ปัญหานี้แพลตฟอร์มควรจะออกมาจัดการที่ทำให้ข้อมูลที่ผิดขยายวงกว้างออกไป

    “เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้ lgbtqia+ กลายเป็นคนชายขอบของสังคม ทั้งยังเกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจและการเมืองอีกด้วย เพราะคนส่วนใหญ่กำลังตกเป็นเหยื่อของข้อมูลที่ผิดเหล่านี้ต่อไป”

    การมีส่วนร่วมในการผลักดันสิทธิดิจิทัล

    Naomi Fontanas กล่าวว่า ต้องป้องกันตัวเองในโลกออนไลน์เกี่ยวกับข้อมูลผิดพลาดทางเพศ เรียนรู้วิธีรู้ทันข้อมูลที่ผิดพลาด และหวังว่าจะมี Network ที่คอยให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน

    ด้าน Krupskaya Valila กล่าวว่า ในระบบการศึกษานั้น เป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขเพราะเราต้องอยู่กับมัน แต่คิดว่าเราต้องแสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้คือการลงทุนในอนาคต พวกเขาคืออนาคต และมันสามารถเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

    Leandro Ucciferri กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่องค์กรของเขาจะทำคือการสร้างทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คนเรียนรู้วิธีการในการศึกษา เพื่อช่วยให้พวกเขารู้จักใช้เครื่องมือในการทำวิจัยให้สำเร็จได้ จึงอยากให้ทุกคนร่วมมือกัน และยินดีมากที่คนทั่วไปจะเข้ามาช่วยกันทำให้มันมีความหมายมากขึ้นกว่าเดิม เราคิดว่างานวิจัยของเรามีความหมายและอยากให้เป้าหมายของมันถูกเปิดเผยออกมา 

    “เพราะมันไม่ใช่ทำวิจัยเพื่อวิจัย แต่มันคือวิจัยที่ตอบสนองต่อคนได้จริง ๆ”

    Related

    ยก ‘ครูบาเจ้าศรีวิชัย’ เป็นบุคคลสำคัญล้านนา ดันวันเกิดหรือวันมรณภาพเป็น “วันศรีวิชัย”

    วันที่ 29 เมษายน 2567 วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ร่วมกับ มูลนิธิครูบาศรีวิชัย จัดกิจกรรมงานวันครูบาเจ้าศรีวิชัย เปิดถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ...

    สมาคมฅนยองจัด ‘มหาสงกรานต์ล้านนา’ มุ่งอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นคนยอง

    เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา สมาคมฅนยอง ร่วมกับ บริษัท ผึ้งน้อยเบเกอรี่...