เมษายน 26, 2024

    เชียงใหม่เมืองดนตรี รวมงานดนตรีที่เราไม่อยากให้พลาดธันวานี้

    Share

    เชียงใหม่ถือเป็นเมืองที่ไม่เคยขาดเสียงดนตรีไปให้เงียบเหงาเฉาใจ แม้ช่วง Covid จะมีแผ่นสะดุดไปบ้าง แต่ตอนนี้เรียกได้ว่ากลับมาคึกครื้นมีชีวิตชีวาและมีให้ได้เลือกฟังเยอะมาก ๆ เราเลยขอรวบรวมงานดนตรีที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในเดือนนี้ส่วนหนึ่งมาสั่นคลอนโสตประสาทคอดนตรีกันหน่อย มีทั้งแบบไปตัวเปล่างานฟรี แล้วก็งานที่เสียค่าเข้าแต่ก็ช่วยส่งเสริมให้อุตสาหกรรมดนตรีในเชียงใหม่ยังพอเคลื่อนไปได้ด้วย จะมีงานไหนบ้างไปดูกัน

    ปล.มีไม่ครบทุกงานนะ แต่แต่ละงานที่เลือกมานี่อยากให้ไปกัน

    Chiang Mai HO Festival

    กิจกรรมดนตรี เชียงใหม่โฮะ! ครั้งที่ 3

    วันที่ 2-12 ธันวาคม 5 โมงเย็นเป็นต้นไป ณ one nimman

    เข้าชมฟรี

    เชียงใหม่โฮะ Chiang Mai HO Festival งานดนตรีสนุกๆ ที่เกิดจากแนวคิดที่ว่าทำไมเชียงใหม่ถึงไม่มีงานที่รวบรวมนักดนตรีในเชียงใหม่มาเล่นกัน ให้ผู้คนในเชียงใหม่ได้ฟังกันฟรี ๆ ใช้วิธีการเปิดหมวก

    ถ้าชอบก็ลงขันสนับสนุนนักดนตรี เรียกได้ว่าเป็นการเปิดพื้นที่ให้นักดนตรีทุกแนวที่อยากนำเสนองานของตัวเองได้เฉิดฉาย โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว พร้อมขนทัพศิลปินกว่า 77 วง ตั้งแต่วันที่ 2-12 ธันวาคมนี้5 โมงเย็นเป็นต้นไป ณ one nimman

    Line Up ของแต่ละวันก็ตามนี้

    2 ธันวาคม

    Thao Kampan, Ram Singh, Lee Kim Hwang&Yamamoto (Low End Performance) / ล้าสมัย / pOd / Cnpw.cat / aDawn / Chiangmai BLUES / The Funkster / yup wizard 

    3 ธันวาคม

    วงนั่งเล่น / ผ้าขาว / จิตปรุงแต่ง / ลุกต้าว / การิน / Croissant Band / Sticky Moot 

    4 ธันวาคม

    Shiny Day & friends / PianocTrio / MIW /กลางกะกุ๊ก / Afterbluesmoon / Sleeper1 Ft.ส้มป่อย / คูเมือง / Iron Dick 

    5 ธันวาคม

    เอก ตะเกียง / Ribbindasky / KGreen / FOXY / ABOY / Klee Bho / ANYSIDE / The Opposite Band

    6 ธันวาคม

    ต้นๆ รถเป็นอะไร / ทิฆัมพร / ชีวรินท์ / Rustic boys / Buddha Beat / ผีบ้าพระคงฤาษี / Glossy

    7 ธันวาคม

    The Half Moons / บ้านและเสียง / mmb. / สหัสศิลป์โปรเจค / LAWIN / the Bandit Boy / Migrate to the Ocean

    8 ธันวาคม

    ธนากอน / ดารารัญชน์ / อ้ายมอส ม. / MOSSHU / Common people like you / Something Sweet / Beyano / Sapapsupap

    9 ธันวาคม

    H8U / รมิ / Verandaa / สุภาพรสันติ / HARMJOD / Howwhywhenyou / กรกฎา | July

    10 ธันวาคม

    Northern, Charlie & Fatcat / Me-pirut / BUABAMMI / Paraa / Soul Feed / Purplecat / Recap / DADa’

    11 ธันวาคม 

    ชยานันต์ / THADA / เบื๊อก / Sleeping Sickness / โอปอล์ AC7 / Valium / MaryJames

    12 ธันวาคม

    CM_Recycle / ขลุ่ยลมเหนือ / สิริพรไฟกิ่ง / สุดสะแนน / สมปอง / เดอะ เพอะ / Suthep Band

    Superimposition: Elephant in the Room

    3 ธันวาคม ณ ดาดฟ้าตึก Media Arts and Design

    หอศิลป์ฯมช. ถ.นิมมานฯ เชียงใหม่ 18.00 น. เป็นต้นไป

    บัตร 150 บาท (ขายหน้างาน)

    นักศึกษา เข้าฟรี (แสดงบัตรนศ.ก่อนเข้างาน)

    กลับมาอีกครั้งสำหรับ Superimposition คอนเสิร์ตเชิงทดลองแล้วทดลองอีก เป็นการบรรจบกันของศิลปะ ดนตรี ความป่วยไข้และเจ็บปวดของสังคม ที่จัดๆ หยุดๆ ตามวาระและโอกาส ตามห่วงเวลาสังคมร่วมสมัย มาคราวนี้ จับมือร่วมกับ Untitled for Film และเครือข่ายศิลปิน-นักดนตรี ในธีม Elephant in the Room ถึงความจริงจะเจ็บปวด แต่ระยะยาวมันดีกว่าการไม่รู้สึกอะไรไปเรื่อย ๆ มาร่วมสอบสวนความเงียบอันอึกทึกและความจริงแสนกระอักกระอ่วนไปด้วยกัน เปิดมาขนาดนี้ จะพลาดได้ไง พบกับการแสดงดนตรี-ศิลปะ ในบรรยากาศภาพเสียงชวนเหวอกับสภาพอากาศเดือนธันวาบนดาดฟ้าท้าทดลอง พบปะสังสรรค์ แชร์ความคิดพูดความรู้สึก ได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่เป็นไร “เราคือเพื่อนกัน”

    กับ Line Up ตามนี้

    -Recap

    -Triple Edge ft. KYI, TG, BXMB, ZeroSeven, 31, YoungTerk

    -soulfeed

    -DEL

    -Yupwizard

    -เจ็บปวด (PAIN)

    และ Visualizer โดย ตะกุกตะกักทีม และ zonzon.exp

    งานเริ่ม 18.00 น. เป็นต้นไป ณ ดาดฟ้าตึก Media Arts and Design

    หอศิลป์ฯมช. ถ.นิมมานฯ เชียงใหม่

    Chiang Mai Busking   เชียงใหม่เปิดหมวก

    4 ธันวาคม ชุมชนล่ามข้าง

    11 ธันวาคม ย่านช้างม่อยเก่า

    และวันที่ 3 ถึง 11 ธันวาคม 16.45 – 17.45 ณ POP Market

    เข้าชมฟรี

    ส่วนหนึ่งในงาน Chiang Mai Design Week จะขาดเสียงดนตรีไปได้ยังไง กับ Chiang Mai Busking

    เชียงใหม่เปิดหมวก หลังจากที่เมื่อหลายเดือนก่อนจะจัดกันไปแล้ว รอบนี้กลับมาพร้อมการสนับสนุนของ CEA, TCDC Chiang Mai และสำนักนายกรัฐมนตรี พบกับ นักดนตรีอาชีพ สมัครเล่น นักเรียน นักศึกษา ศิลปิน คนทำเพลง ที่จะมาร่วมแสดงดนตรีกันบนถนนไม่ต้องมีเวที ภายใต้แนวคิด “On the same street, let’s share” กลับมาบนนถนนเดียวกันอีกครั้ง อยากให้พวกเราได้แลกเปลี่ยนแบ่งปันซึ่งกันและกัน แบบไม่ต้องมีเวที

    พบกับดนตรีเปิดหมวกบนถนน 3 จุด และ Line Up ตามนี้

    4 ธันวาคม ณ ชุมชนล่ามช้าง

    พบกับ Wild Sax / Mr.Slowhands / แจ่มจันทร์ จรรโลงจิต / Minerman / POPPULAR / ธนากอน / Fuzzy Ball / Saxiku / ลุกต้าว / Kitda / MaryJames Band / ธิป / Tuku Dejadidgeridoo / ดาราธัญชน์ / Shiny days / หอมป้อมเป้อ / BESTBOYS / ชยานันต์ / คณะสุเทพฯ / วงดอกไม้ / VERANDAA

    11 ธันวาคม ณ ย่านช้างม่อยเก่า

    Mr.Slowhands / Num Young Folk / วงดอกไม้ / Boat handpan / Minerman / VERANDAA  / H8U / ธิป / Tha-blay / ธะบเล / รมิ / Wild Sax / เกิดสุข ชนบุปผา / FOXY / นายไปรษณีย์ / BESTBOYS / 

    ล้าสมัย / Pooky Panlapa / Tuku Dejadidgeridoo / บันทึกของปิติ / สุภาพรสันติ / ชวด สุดสะแนน

    3 – 11 ธันวาคม ณ POP Market พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านล้านนา

    ลุกต้าว / ChaHarmo / Mr.Slowhands / Kitda / H8U / BESTBOYS

    รายละเอียดอื่น ๆ ตามต่อที่ Chiangmai Original

    Untitled-000 Present คอนเสิร์ต “ทอดข้าวเกรียบ” (Untitled-002) 

    5 ธันวาคม ณ บริเวณที่จอดรถ โครงการ 12 ห้วยแก้ว ถ.ห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่

    ราคาบัตร 460 บาท

    อีกงานที่ไม่อยากให้พลาด เพราะ Line Up ตัวเด็ดตัวตึงทั้งนั้น กับ Untitled-000 Present คอนเสิร์ต “ทอดข้าวเกรียบ” (Untitled-002) งานดนตรีสุดเดือด ในวันธรรมดา ๆ วันหนึ่ง เมื่อดนตรีมันสามารถฟังได้ทุกวัน ทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นวันอะไร พบกันตั้งแต่เวลา 16.00 – 00.00 น. ยาว ๆ ไป กับ 7 วง ดนตรี กับอีก 1 คณะตลก

    -Desktop error

    -SANIM YOK

    -YONLAPA

    -YENA

    -Common people like you

    -Recap

    -Sleeping Sickness

    -คณะเชิญยู๊ด

    ณ บริเวณที่จอดรถ โครงการ 12 ห้วยแก้ว

    ถ.ห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่

    มีธีมด้วยนะ Dress Code : White / Yellow / Gold / Black

    บัตรเป็นราคา 460 บาท ซื้อได้ที่เพจ Untitled-000

    “เราก็เล่นดนตรีในเชียงใหม่มานานเนอะ เห็นว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีนักดนตรีอยู่เยอะ มีทุกแนวเลย ในอีกแง่นึงก็คือ นอกจากเล่นดนตรีได้แล้ว ยังสามารถเขียนเพลง ทำผลงานเพลงได้เยอะมาก เยอะจนเรารู้สึกว่ามันหนาแน่นมาก นี่เป็นต้นทุนที่มีมูลค่ากับเมืองเชียงใหม่ แต่เราก็จะเห็นว่าศิลปินดังๆ ที่เกิดในเชียงใหม่ต้องรอไปดังที่กรุงเทพฯ แล้วค่อยย้อนกลับมาเล่นดนตรีที่เชียงใหม่ ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนก็เล่นอยู่เชียงใหม่อยู่แล้ว แต่รายได้มันไม่พอ”​

    “โควิดทำให้นักดนตรี เพื่อนๆ หลายคน ตกงานไปเยอะมาก แล้วมันก็มีคำถามว่าทำไมเราไม่สามารถเล่นดนตรีกลางวันได้บ้างวะ? เพราะเราเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนชอบเสียงดนตรีหมดแหละ แต่บางคนเค้าไม่ได้ชอบเที่ยวกลางคืน เค้าไม่ได้ชอบไปเฟสติวัล หรือไปคอนเสิร์ต เชื่อว่าตั้งแต่เด็กยันแก่ ทุกคนชอบเสียงดนตรีกันหมด เพราะงั้นมันจะเป็นไปได้ไหม ที่จะมีเสียงดนตรีเกิดขึ้นในเมืองนี้ ในเมืองที่มันเป็นช่วงกลางวัน บ่ายๆ เย็นๆ แบบนี้ แล้วนักดนตรีก็มีรายได้จากการเล่นดนตรีด้วย คนฟังก็มีความสุข อิ่มเอมใจ แล้วในขณะเดียวกัน ถ้าตัวศิลปินเองสามารถมีพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงาน นำมาซึ่งรายได้ของเค้าด้วยอย่างยั่งยืน ต่อไปศิลปินในเชียงใหม่อาจจะไม่ต้องไปกรุงเทพฯ หรือเปล่าวะ ทุกคนสามารถนำเสนอผลงานของเค้าที่นี่ได้เลย ค่อยๆ ทำให้เมืองเชียงใหม่มันมีความเข้มแข็งในเรื่องดนตรี”​

    “ต่อไปนักท่องเที่ยวต้องมาเชียงใหม่เพื่อที่จะดูดนตรี มาเชียงใหม่มีดนตรีให้ดู มีศิลปินที่เล่นเพลงของตัวเอง ในหลากหลายแนวทางให้ดูเต็มไปหมดเลย ทั้งกลางวันกลางคืน ในสวนสาธารณะก็มี ถ้ามันเป็นแบบนั้นได้ก็น่าจะดี แต่ว่าเรามันเป็นแค่ภาคประชาชนไง ไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมือง ไม่ได้มีงบประมาณด้วย เราเป็นแค่คนธรรมดาเลย งานเชียงใหม่เปิดหมวก Chiangmai Busking มันก็เลยเริ่มจากการใช้วิธีชักชวนเพื่อนๆ น้องๆ นักดนตรีด้วยกัน ไม่ได้อยากทำแบบอีเว้นท์ เอางบมาแล้วก็ตูมๆๆ จบ ซึ่งมันก็เหมือนจุดพลุแล้วก็หายไป แต่รู้สึกว่าเออว่ะ เราทำสเกลเล็กๆ ไปเรื่อยๆ น่าจะยั่งยืน ออแกนิคมากกว่า มีครอบครัว เอาวงดนตรีที่เป็นผู้ใหญ่นั่งเล่นดนตรีมามั่ง เอาวงนักเรียนมัธยมมามั่ง นักเรียนก็พาผู้ปกครอง พาเพื่อนมาดู เออมันก็น่าจะเป็นอีกบรรยากาศนึงของเชียงใหม่”​

    “เรามองว่าสถานที่ที่จะจัดดนตรีเปิดหมวกแล้วยั่งยืนเนี่ย ยกตัวอย่างงานเชียงใหม่เปิดหมวก Chiangmai Busking เลย ถ้าจะให้ดีมันจะต้องเป็นชุมชน ต้องมีผู้คน สมมุติว่าคนดูอยากกินอะไร อยากดื่มอะไร มันก็จะต้องมีร้านค้าให้บริการ หรือแม้แต่รถเข็น รถขายลูกชิ้น มันควรจะต้องมี เศรษฐกิจมันก็จะได้คึกคัก โดยที่เอาดนตรีไปหย่อนไว้ ให้ตรงบริเวณนั้นมันมีชีวิตชีวาขึ้นมา เราก็เลยต้องคิดดูว่า ก็คงขยับไปเรื่อยๆ คืออย่างที่บอกว่าเราทำด้วยแรงของประชาชน มันก็เลยไม่ได้มีเวลา ไม่มีงบ ไม่มีอะไรทั้งนั้น ก็เลยดูๆ ไปก่อน ถ้าว่างเมื่อไหร่ก็ทำ แต่ก็คิดว่าแค่ได้เห็นคนดูมีความสุขก็ชื่นใจละ แล้วเราก็จะถามนักดนตรีว่าเล่นแล้วได้ตังค์ป่าววะ บางคนเล่นเป็นงานอดิเรก ขับรถมาเองเพื่อมาเล่นดนตรีเลย พอเล่นให้คนฟังเค้าก็ยิ้มละ แล้วเค้าก็ได้ตังค์ ก็โอเค จริงๆ มันก็มีอะไรน่าสนใจ ที่มันควรจะเกิดขึ้นได้อีกเยอะเลย ต่อไปถ้าได้งบสนับสนุนจากเอกชนก็ได้ ถ้าใครอยากมาสนับสนุนกิจกรรม เราจะได้เอามาทำให้มันเจ๋งกว่านี้ อยู่ดีๆสมมุติ เล่นๆ กันอยู่แบบนี้ อยู่ดีๆ มีเขียนไขและวานิช ขึ้นมาเล่นด้วย เราอาจจะเชิญเพื่อนๆ น้องๆ ในเชียงใหม่ ที่อยู่เชียงใหม่ช่วงนั้นพอดี มาแจมมาอะไร คือทุกคนอยากมาเล่นหมดแหละ มันก็เลยอาจจะเกิดชุมชนที่มันน่ารัก แบบเชียงใหม่อ่ะ”​

    ชา-วิชา เทศดรุณ หรือ ChaHarmo ศิลปินและผู้จัดกิจกรรมจากกลุ่ม Chiangmai Original

    Related

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...

    รอนานบั่นทอนปอด ศาลปกครองสูงสุดรับอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือของคกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 

    ล่าสุดวันนี้ (24 เมษายน 2567) ทีมทนายความมีความคืบหน้าสำหรับความคดีฝุ่น PM2.5 ภาคเหนือ โดยศาลปกครองสูงสุดรับอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และมีคำสั่งให้ประชาชนผู้ฟ้องคดีทำคำแก้อุทธรณ์คดีตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ยื่นอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือภายใน...

    ‘วาระเชียงใหม่’ เปิดเวทีสุขภาพ ยกระดับ รพ.สต. ดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

    เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 สมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)...