เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา มีการประชุม ครม.เศรษฐกิจครั้งที่ 1/2567 และครั้งที่ 2/2567 ในวันที่ 10 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ได้ระบุว่า ตัวเลขเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า ซึ่งเติบโตเพียง 1.5% และทั้งปีนั้น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีนี้จะขยายตัวได้ 2.5% ซึ่งข้อมูลที่ออกมาพบว่าประเทศไทยมีการเติบโตต่ำที่สุดในอาเซียน จึงมีการตั้งเป้าหมายดัน GDP ปี 2567 ให้ขยายตัว 3% ผ่านการเดินหน้า 3 มาตรการ กระตุ้นการท่องเที่ยว เร่งรัดการลงทุนภาครัฐ และกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน
ซึ่งจากข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เผยธุรกิจที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกของจำนวนการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้แก่
1.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 662 ราย (8.83%)
2.ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 543 ราย (7.24%)
3.ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 353 ราย (4.71%)
พร้อมระบุว่าไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ของปี 2567 มีบริษัทตั้งใหม่ 25,003 ราย ทุนจดทะเบียน 67,940.55 ล้านบาท แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่ามียอดเลิกกิจการจำนวน 2,809 ราย ซึ่งสถิติจดทะเบียนตั้งใหม่ช่วงกลางไตรมาส 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 มีกิจการตั้งใหม่ 7,499 ราย เพิ่มขึ้น 969 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 14.84%
ถัดมาในไตรมาสที่สอง (เดือนเมษายน-มิถุนายน) กลับพบว่ามียอดการเลิกกิจการ 3,230 ราย หรือคิดเป็นทุนจดทะเบียน 64,804.78 บาท ล่าสุดเมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมามีการจดทะเบียนเลิกกิจการไปแล้วกว่า 1,004 ราย (23.95%) และมีธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคลรวมทั้งสิ้น 1,916,267 ราย เป็นนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่จำนวน 916,634 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 22.26 ล้านล้านบาท เทียบกับเดือนเมษายน 2567 ลดลง 230 ราย คิดเป็น -18.64% และครึ่งปีที่ผ่านมามีกิจการที่จดทะเบียนยกเลิกไปแล้วรวม 6,039 ราย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน เผยว่า การชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และอสังหาฯ ได้กระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย เช่น ยานยนต์และอสังหาฯ มียอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกหดตัว 24% ส่วนยอดโอนอสังหาฯ 4 เดือนแรกสำหรับบ้านจัดสรรหดตัว 11.8% และอาคารชุดหดตัว 7.4% ซึ่งหากอุตสาหกรรมยานยนต์และอสังหาฯ มีแนวโน้มหดตัวมากขึ้นอาจจะกระทบทำให้ GDP ปีนี้ลดลงกว่าที่คาดไว้ 0.3-0.4% ส่งผลให้ธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการ 3 อันดับ ในครึ่งปีแรก ได้แก่
1.ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 98 ราย (9.7%)
2.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 59 ราย (5.8%)
3.ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการอื่น ๆ 25 ราย (2.4%)
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุล่าสุดเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมาว่า ทั้ง 17 จังหวัดทั่วภาคเหนือได้มีการจดทะเบียนเลิกกิจการไปแล้ว 190 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 285.51 ล้านบาท โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ทั้ง 17 จังหวัดในภาคเหนือมีการปิดตัวกิจการไปแล้ว 926 ราย แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 487 ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด 438 ราย ห้างหุ้นส่วนสามัญ 1 รายแบ่งเป็นตามจังหวัด ดังนี้
(ข้อมูล ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567)
1.จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการปิดกิจการมากที่สุด 362 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 232 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 129 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 1 ราย
2.จังหวัดเชียงราย มีการปิดกิจการ 138 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 64 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 74 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
3.จังหวัดกำแพงเพชร มีการปิดกิจการ 24 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 9 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 15 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
4.จังหวัดตาก มีการปิดกิจการ 26 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 15 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 11 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
5.จังหวัดนครสวรรค์ มีการปิดกิจการ 50 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 21 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 29 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
6.จังหวัดน่าน มีการปิดกิจการ 23 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 6 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 17 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
7.จังหวัดพะเยา มีการปิดกิจการ 18 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 8 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 10 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
8.จังหวัดพิจิตร มีการปิดกิจการ 19 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 6 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 13 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
9.จังหวัดพิษณุโลก มีการปิดกิจการ 57 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 36 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 21 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
10.จังหวัดเพชรบูรณ์ มีการปิดกิจการ 27ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 13 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 14 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
11.จังหวัดแพร่ มีการปิดกิจการ 20 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 14 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 6 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
12.จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการปิดกิจการ 10 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 4 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 6 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
13.จังหวัดลำปาง มีการปิดกิจการ 75 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 21 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 54 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
14.จังหวัดลำพูน มีการปิดกิจการ 39 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 21 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 18 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
15.จังหวัดสุโขทัย มีการปิดกิจการ 8 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 6 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
16.จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการปิดกิจการ 17 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 5 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 12 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
17.จังหวัดอุทัยธานี มีการปิดกิจการ 13 ราย
แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 6 ราย
บริษัทมหาชนจำกัด 0 ราย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 7 ราย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ 0 ราย
เมื่อต้นปี 2567 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 รัฐบาลได้ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision ‘อิกไนท์ ไทยแลนด์’ มุ่งเป้าพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ 8 ด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ ศูนย์กลางเกษตรและอาหาร ศูนย์กลางการบิน ศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล และศูนย์กลางการเงิน ตั้งเป้าให้ไทยเป็นก้าวเป็นที่ 1 ของภูมิภาค ด้วยข้อได้เปรียบทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว ภูมิอากาศที่อบอุ่นตลอดปี โครงสร้างที่พร้อมต่อยอด รวมไปถึงศักยภาพของคนไทย แต่จากข้อมูลการปิดตัวลงของกิจการที่ยกมาข้างต้นทั้งรายเล็กและใหญ่ทั่วประเทศไทยในครึ่งปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงว่ามีสวนทางกับนโยบายเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีความต้องการผลักดันการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยให้เพิ่มมากขึ้น ทั้งเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ เราอาจจะต้องจับตามองว่าจะมีมาตราการใดและนโยบายไหนที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาความท้าทายของสภาวะเศรษฐกิจไทยที่กำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้
อ้างอิง
‘เศรษฐา’ชูวิสัยทัศน์ “IGNITE THAILAND” ดัน 8 ฮับสู่ที่ 1 ในภูมิภาคhttps://thaipublica.org/2024/02/srettha-announces-thailand-vision/
สถิติการจดทะเบียนรายปี จำแนกตามสถานะ และประเภทนิติบุคคล https://datawarehouse.dbd.go.th/stats
จดทะเบียนตั้งใหม่เดือนพฤษภาคม 67 ยังบวกต่อเนื่อง ด้านส่งงบการเงินปี 66 มีธุรกิจที่ส่งตรงเวลาและเพิกเฉย เตือนถ้าพ้นกำหนด! มีบทลงโทษhttps://www.dbd.go.th/news/119260667?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR3st_XzeEg3XYA3pKC-UgNRb1fAvCV8i1UgkW6B8sUjcKooLHevRSSPWgI_aem_xQ5Q9kKauNIJSO3RB-J9lA
เด็กฝึกงานจากสาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ ที่มาเรียนในจังหวัดที่ค่าฝุ่นสูงเกินเกณฑ์ทุกปี และขอทายว่าถึงแม้จะเรียนจบแล้วค่าฝุ่นก็ไม่น่าลดลง