เมษายน 25, 2024

    นะหน้าเหมือง ย้อนรอยการกลับมาของเหมืองทองอัครา

    Share

    ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศยุบสภาฯ ในวันที่ 20 มีนาคม ซึ่งประจวบเหมาะกับวันเดียวกันกับที่ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ได้มีการเริ่มกดปุ่มเดินเหมืองอีกครั้ง หลังจากวันที่ 15 และ 16 ที่ผ่านมาสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ได้มอบหนังสืออนุญาตการทำเหมืองที่ให้บริษัท อัคราฯ สามารถกลับมาดำเนินงานได้อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งหลังปิดไป 6 ปี คล้ายกับว่า ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้หนีปัญหาที่ตนเคยก่อไว้ให้ดำเนินต่อไปไร้การแก้ไข

    โดยหลังจากข่าวการกลับมาเปิดเหมืองทองอัครา อีกครั้ง ในโซเชียลมีเดียก็มีความคิดเห็นใหญ่ ๆ เกี่ยวกับเหมืองทองอัครา คือดีใจเห็นด้วยที่เหมืองทองอัคราได้กลับมาเปิดอีกครั้งหลังถูกปิดไป 6 ปีทำนองว่าทำให้ประเทศมีรายได้จากการลงทุนในครั้งนี้ แต่อีกความคิดเห็นคือตั้งข้อสงสัยกับการกลับมาเปิดเหมืองทองอัครา ในครั้งนี้มีข้อพิพาทและความไม่ชัดเจนมากมายที่ยังต้องการความชัดเจน

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 บริษัท อัคราฯ ได้รับหนังสือจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร แจ้งให้ทราบว่าได้ออกใบอนุญาตการเปิดการทำเหมืองและการประกอบโลหกรรมให้แก่บริษัท และในวันที่ 16 มีนาคม 2566 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์เช่นเดียวกันก็ได้มอบหนังสืออนุญาตเปิดการทำเหมืองสำหรับประทานบัตรฝั่งเพชรบูรณ์ จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ให้กับทางบริษัท อัคราฯ เช่นเดียวกัน ส่งผลให้บริษัท อัคราฯ สามารถเปิดดำเนินกิจการได้เต็มรูปแบบ

    ภาพ : ประชาชาติธุรกิจ

    และในวันที่ 20 มีนาคม 2566 ได้มีการเริ่มกดปุ่มเดินเครื่องจักร โดยบริษัทจะเริ่มดำเนินงานตามแผนที่วางไว้เริ่มใช้โรงประกอบโลหกรรมที่ 2 จากนั้นจะเริ่มกลับมาใช้งานโรงประกอบโลหกรรมที่ 1 หลังซ่อมแซมเสร็จ หลังจากโรงประกอบทั้งสองแห่งสามารถกลับมาใช้งานได้ปกติ จะเปิดรับพนักงานกว่า 1,000 อัตรา บริษัทระบุว่าการอนุมัติใบอนุญาตการดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของรัฐ

    นะหน้าเหมือง ย้อนรอยเหมืองทองอัครา

    ถ้าหากย้อนกลับไปตอนที่บริษัท อัคราฯ ได้ประทานบัตรแหล่งชาตรีใต้ฉบับแรกในปี 2536 ก่อนจะได้เพิ่มเติมอีก 4 แปลง ในปี 2543 และ ในปี 2551 อีก 9 แปลง รวมพื้นที่ทั้งหมดราว 3,726 ไร่ ทั้งหมด 14 แปลง โดยมีอายุประทานบัตรตั้งแต่ พ.ศ. 2555, 2563 และ 2571 การดำเนินงานของบริษัท อัคราฯ ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ระหว่างการดำเนินงานนั้นมีการร้องเรียนว่าเหมืองทองอัครา ส่งผลกระทบต่อประชาชนบริเวณเหมืองอยู่เป็นระยะ ๆ 

    การคัดค้านของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองอัครา ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหลังการรัฐประหารในปี 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยมีผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหมืองทองอัคราไปยื่นหนังสือต่อประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ขณะนั้น จนกระทั้งในปี 2558 ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะ ได้หารือในที่ประชุมครม. เดือนตุลาคม เพื่อหาผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อเรื่องนี้ และในปี 2559 ตัวแทนจาก 4 กระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ รมว.อุตสาหกรรม, รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้แทน รมว.สาธารณสุข ก็ได้ลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบและสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เหมืองทองอัครา เพื่อสรุปเป็นมติก่อนจะส่งเข้าที่ประชุมครม. จนกระทั่งในวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 มีคำสั่งให้ปิดเหมืองภายในสิ้นปี 2559 พร้อมกับเร่งฟื้นฟูธรรมชาติทันที

    ในช่วงที่มีการประชุม ครม.มีมติให้ปิดเหมืองทองอัครา กลางปี 2559 บริษัทคิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด บริษัทแม่ของบริษัท อัคราฯ ได้เข้าเจรจาต่อรองกับรัฐบาล คสช. แต่ก็ไม่เป็นผล และประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็มีคำสั่งใช้ มาตรา 44 ในการสั่งปิดเหมืองทองอัคราอย่างเด็ดขาด ทำให้บริษัทคิงส์เกตฯ นำเรื่องไปยื่นคำร้องต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเรื่อง การยกเลิกประทานบัตรที่ไม่เป็นธรรม โดยอ้างว่ารัฐบาลไทยละเมิดข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) พร้อมกับเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงิน 750 ล้านเหรียญ หรือราว 25,000 ล้านบาท 

    ข้อกังวลและผลกระทบเมื่อเหมืองกลับมาเปิดอีกครั้ง

    ภาพ : ประชาไท

    ซึ่งถ้าหากย้อนไปในปี 2565 ได้มีการเคลื่อนไหวจากภาคประชาสังคมในการต่อต้านและคัดค้านหลังเหมืองทองอัครานั้นมีท่าทีในกลับมาดำเนินงานอีกครั้ง โดยเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่พร้อมกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้เหมืองทองอัคราได้ยื่นหนังสือต่อ นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้านในขณะนั้น พร้อมกับตัวแทนพรรคฝ่ายค้านอื่น ๆ ในการรับเรื่อง โดยเครือข่ายฯ เห็นว่ารัฐบาลประยุทธ์และบริษัท อัคราฯ มีแนวโน้มที่จะกลับมาดำเนินการอีกครั้ง โดยตัวแทนเครือข่ายฯ กล่าวถึงผลกระทบและข้อกังวลที่จะเกิดขึ้นเมื่อกลับมาเปิดเหมือง อาทิ

    1.ประชาชนไม่มีส่วนร่วมกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุญาตประกอบการเหมืองทอง

    2.บริษัทจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาชุมชนโดยรอบในระดับที่ต่ำมากคือเพียง 0.1% ของมูลค่าทองคำที่ได้

    3.เหมืองทองไม่มีแนวกันชน ทำให้หมู่บ้านที่อยู่ติดกับเหมืองกลายเป็นหมู่บ้านร้าง ชุมชนล่มสลาย

    4.ไม่มีการฟื้นฟูพื้นที่ในระหว่างและหลังปิดเหมือง

    ซึ่งเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ได้ตั้งข้อสงสัยที่ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลประยุทธ์จะเอื้อผลประโยชน์เกินกว่าข้อพิพาทให้กับบริษัท คิงส์เกตฯ บริษัทแม่ของบริษัท อัคราฯ เพื่อที่จะแลกกับการที่รัฐบาลประยุทธ์ไม่ต้องถูกสั่งให้แพ้คดีที่ต้องเสียค่าปรับถึง 25,000 ล้านบาท โดยมี 7 ข้อดังนี้

    1.บริษัทได้ทำเหมืองบนพื้นที่เดิม (แหล่งชาตรี) และแหล่งชาตรีเหนือ ทั้งยังขยายอายุประทานบัตรไปอีก 10-20 ปี เนื่องจากเสียโอกาสไม่ได้ทำเหมืองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 จากคำสั่งของ คสช.

    2.ได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองในพื้นที่นอกจากพื้นที่เดิม (แหล่งชาตรี) คือ แหล่งสุวรรณและแหล่งโชคดี ซึ่งเป็นแหล่งที่ทับบนพื้นที่ทั้งนอกและในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงและป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย รวมทั้งกว่า 30,000 กว่าไร่

    3.ได้รับการขยายเวลาต่ออายุใบอนุญาติต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อการเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนอกเขตเหมืองแร่ เป็นต้น ซึ่งอนุญาตให้โรงประกอบโลหกรรมขยายการถลุงแร่ทองคำเพิ่มอีกสามเท่าจาก 8,000 ตันต่อวัน เป็น 24,000 ตันต่อวัน 

    4.บริษัทฯได้รับการลดหย่อนค่าภาคหลวงแร่ 

    5.บริษัทฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยโดยไม่ผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย

    6.บริษัทฯจะได้รับอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่

    7.บริษัทคิงส์เกตฯ จะได้รับอนุญาตให้ขนสินแร่ที่ยังคงค้างในระบบการผลิตเดิม

    ถึงแม้ในปัจจุบันคดียังไม่สิ้นสุดแต่ดูเหมือนบริษัทคิงส์เกตฯ ดูจะได้ประโยชน์มากกว่าเวลาที่เสียไป ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดการถอดถอนคดี หรือ ชี้ขาดตามยอม คือไม่ได้ตัดสินว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด ซึ่งอาจจะทำให้ประยุทธ์และคณะ รอดค่าโง่ 25,000 ล้านบาทไปได้ แต่ประเทศไทยต้องเสียผลประโยชน์ให้กับบริษัทคิงส์เกตฯ ทั้ง พื้นที่ป่าสำหรับการทำเหมือง รวมไปถึงสัญญาหรือใบอนุญาตต่าง ๆ ที่ให้สิทธิประโยชน์กับเหมืองทองอัครา มากกว่าประชาชนในพื้นที่

    มากกว่าเหมืองทอง สุขภาพของประชาชนจะเป็นยังไง

    สารหนู แมงกานีส และไซยาไนด์ สามสารเคมีสำคัญในการทำอุตสาหกรรมเหมืองทอง ในการแปลสภาพทองคำหลังจากขุดออกมานั้นจะต้องใช้สารละลายไซยาไนด์ในการแยกทองคำออกจากแร่ เรียกขั้นตอนนี้ว่าการตกแต่งแร่ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีความเป็นพิษสูง หากได้รับผ่านการสูดดมเป็นระยะเวลานานอาจจะส่งผลกระทบทางด้านการพัฒนาในเด็ก หรือหากสัมผัสเป็นระยะเวลานานอาจจะหนักถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

    ซึ่งย้อนไปในปี 2559 นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ และทีมจากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพเด็กในพื้นที่เหมืองในช่วงที่เหมืองดำเนินการอยู่ ได้ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพของเด็กและพบสารหนูในเด็กร้อยละ 35.6 จาก 205 คน แต่หลังจากนั้นในปี 2562 ทีมจากสถาบันฯ ได้กลับมาตรวจอีกครั้งหลังจากเหมืองปิดไป พบว่าสารหนูในร่างกายของเด็กลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4.5 จากเด็ก 199 คนสารหนู แมงกานีส และไซยาไนด์ซึ่งย้อนไปในปี 2559 นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ และทีมจากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพเด็กในพื้นที่เหมืองในช่วงที่เหมืองดำเนินการอยู่ ได้ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพของเด็กและพบสารหนูในเด็กร้อยละ 35.6 จาก 205 คน แต่หลังจากนั้นในปี 2562 ทีมจากสถาบันฯ ได้กลับมาตรวจอีกครั้งหลังจากเหมืองปิดไป พบว่าสารหนูในร่างกายของเด็กลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4.5 จากเด็ก 199 คน

    ภาพ : บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดพิจิตร ได้ให้ข้อมูลกับ คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ว่า ตั้งแต่ปี 2557-2564 ได้มีการเข้าไปตรวจเลือดของประชาชนรอบเหมืองไปแล้วกว่า 8 ครั้ง แบ่งเป็นก่อนเหมืองปิด 3 ครั้งและหลังเหมืองปิด 5 ครั้ง พบสารโลหะหนักกลุ่มแมงกานีสและสารหนูในเลือดของลดลงหลังเหมืองปิด

    การกลับมาอีกครั้งของเหมืองทองอัครา ในครั้งนี้ ฝันร้ายในอดีตจะหวนกลับคืนมาหรือไม่ การตั้งกองทุนให้กับชุมชนจำนวน 65 ล้านบาทจะสามารถแลกกับสุขภาพของประชาชนได้รึเปล่า ไม่มีใครทราบ นี่อาจจะเป็นการทิ้งมรดกส่งต่อให้กับรัฐบาลชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้งที่จะมาถึงในเดือนพฤษภาคมนี้ที่ประยุทธ์และพวกได้สร้างความโกลาหลวุ่นวายให้กับประเทศไว้ก่อนที่ปล่อยให้รัฐบาลชุดต่อไปเข้ามารับช่วงต่อความยุ่งเหยิงนี้ 

    อ้างอิง

    Related

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย 3)...

    รอนานบั่นทอนปอด ศาลปกครองสูงสุดรับอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือของคกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 

    ล่าสุดวันนี้ (24 เมษายน 2567) ทีมทนายความมีความคืบหน้าสำหรับความคดีฝุ่น PM2.5 ภาคเหนือ โดยศาลปกครองสูงสุดรับอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และมีคำสั่งให้ประชาชนผู้ฟ้องคดีทำคำแก้อุทธรณ์คดีตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ยื่นอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือภายใน...

    ‘วาระเชียงใหม่’ เปิดเวทีสุขภาพ ยกระดับ รพ.สต. ดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

    เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 สมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)...