เครือข่ายสภาประชาชนลุ่มน้ำอิงเสนอจัดเวทีสาธารณะกรณีการบริหารจัดการ น้ำกว๊านพะเยาและข้อกังวลฟาร์มหมูริมฝั่งแม่น้ำอิง

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต รายงาน

5 พฤศจิกายน 2566 สภาประชาชนลุ่มน้ำอิงโดยมีตัวแทนเครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำอิงตอนบนและตอนกลาง ได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ทรัพยากรในลุ่มน้ำอิงตอนบนโดยมีตัวแทนผู้นำชุมชนพื้นที่ 18 ชุมชน ประชุมแลกเปลี่ยนสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนบน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน

สภาประชาชนลุ่มน้ำอิงเกิดจากการรวมตัวของชุมชนที่ทำการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตลอดสาย ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2557 เพื่อเชื่อมร้อยเครือข่ายความช่วยเหลือตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และสร้างความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน แต่สถานการณ์โรคโควิดระบาดทำให้การรวมตัวของสภาประชาชนลุ่มน้ำอิงได้ขาดความต่อเนื่อง และสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนบนเรื่องภาวะน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซากในรอบปี ที่ยังไม่ได้รับการจนเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นในทุกปี และปัญหาการทำฟาร์มหมูขนาดใหญ่ของนายทุนในพื้นที่น้ำอิงตอนกลาง ได้ส่งผลกระทบเรื่องกลิ่นและการปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ปัจจุบันมีโครงการ การสร้างฟาร์มหมูขนาดใหญ่ของนายทุนได้กระจายอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนกลาง ได้สร้างความกังวลเรื่องผลกระทบด้านกลิ่นและน้ำเสีย ซึ่งที่ผ่านไม่มีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทั้งสองปัญหาเป็นวาระเร่งด่วนของทางสภาประชาชนลุ่มน้ำอิงที่ต้องสร้าความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา

ฟาร์มบริเวณแม่น้ำ

ด้านนายเตชะภัฒน์ มะโนวงค์ ผู้ใหญ่บ้านตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยาได้กล่าวถึงปัญหากรณีการจัดการน้ำกว๊านพะเยาว่า

“ปัญหาเรื่องกว๊านคือมีเจ้าภาพในการใช้ประโยชน์ที่เยอะมาก แต่คนที่จะมาแก้ไขปัญหาไม่มีเลย และปีที่ผ่านมาเกิดปรากฏการเอลนิลโย่ด้วย ฝนก็ไม่ค่อยตก เกิดปัญหาน้ำแห้งในช่วงการทำนา ปลายปีมีน้ำท่วมช่วงก่อนเก็บเกี่ยวอีกอีกปีหนึ่งมีทั้งแล้งและท่วม ทำนาน้ำไม่พอใช้ไปขอน้ำกว๊านเขาก็ไม่ให้เพราะว่าใช้สำหรับการประปา ทั้งที่กว๊านพะเยาเป็นต้นทุนน้ำของเกษตรกรที่ทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เกษตรกรพูดเรื่องน้ำเขาจะให้ความสำคัญเป็นอันดับสุดท้าย เกษตรกรท้ายน้ำไม่เคยเข้าไปร่วมบริหารเลย”
ด้านนายประพันธ์ สิงห์ชัย ตัวแทนชาวบ้านได้กล่าวถึงข้อเสนอการจัดการน้ำกว๊านพะเยาว่า

“กว๊านพะเยาเป็นของคนพะเยาต้องให้คนพะเยาเข้ามามีส่วนรวมเป็นคนจัดการ โดยเฉพาะเกษตรกรเพราะว่าเป็นคนในพื้นที่ ไม่ใช่เอาคนนอกพื้นที่มาจัดการน้ำ ปัญหาน้ำไม่พอผมเสนอให้ทางประปาหาแหล่งน้ำสำรองไว้สำหรับใช้ทำการประปาที่ผ่านมา เพื่อลดการแย่งต้นทุนน้ำของชาวบ้าน มีตัวอย่างของแต่ละบ้านก็มีการจัดการแหล่งน้ำเช่นอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ สระไว้สำรองใช้น้ำ เพราะว่าในฤดูฝนน้ำหลากก็ไม่มีที่เก็บน้ำไว้ปล่อยไหล หน้าแล้งก็มาแย่งน้ำที่กว๊านอย่างเดียว โทษแต่เกษตรกกรว่ามาแย่งน้ำ เสนอให้มีการจัดเวทีสาธาณะเพื่อให้หน่วยงานมาฟังเสียงของชาวบ้านบ้างเรื่องการจัดการน้ำ เพราะกว๊านพะเยาเป็นของคนพะเยาทุกคน”

ส่วนกรณีฟาร์มหมูขนาดใหญ่ของนายทุนในพื้นที่ เดิมมีการสร้างฟาร์มหมูมาก่อนไม่ต่ำกว่า 10 ปี ชุมชนใกล้ฟาร์มหมู่ได้รับผลกระทบจากกลิ่นและการปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำ มีการเรียกร้องต่อหน่วยงานในพื้นที่แต่ไม่ได้รับการแก้ไข ปัจจุบันมีการก่อสร้างฟาร์มหมูขนาดใหญ่ของนายทุนพื้นที่ใหม่อีก ไม่ต่ำกว่า 10 พื้นที่ มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 50 ไร่ ถึง 180 ไร่ ข้อกังวลของชุมชนรอบฟาร์มคือปัญหาเดิมเรื่องระบบน้ำเสียที่ปล่อยลงแม่น้ำอิง ลงพื้นที่การเกษตร และสถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับชุมชน
นายเตชะภัฒน์ มโนวงค์ กล่าวว่า

“ผลกระทบเกิดขึ้นมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่ไม่ได้รับการแก้ไข มีผลกระทบวงกว้าง ยังไม่พอยังจะมีฟาร์มใหม่เพิ่มขึ้น อยู่ใกล้ติดวัดพระธาตุภูขวาง โบราณสถานของภูกามยาว เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิของชุมชน เพียง 500 เมตรเท่านั้น มันขัดต่อพรบ.สาธารณะสุข ไม่มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และที่ตั้งใกล้วัด โบราณสถาน โรงเรียน ชุมชน ไม่ถึงสองกิโลเมตร การประชาคมก็ทำเพียงแค่ชุมชนเดียว ตอนนี้ฟาร์มหมูกระจายสร้างหลายจุดในพื้นที่ ชาวบ้านก็ได้ไปยื่นเรื่องร้องเรียน ที่ศูนย์ดำรงธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตอนนี้คือมีข้อเสนอให้หยุดการก่อสร้าง ให้ทำการประชาคมใหม่ แต่ก็ไม่มีการหยุดก่อสร้าง จึงพากันไปที่ยื่นเรื่องร้องเรียนที่จังหวัดพะเยาในวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมามีชาวบ้านไป 500-600 คน ทางจังหวัดก็คำสั่งให้มีการชะลอการก่อนสร้าง 1 เดือน แต่ไม่มีการแก้ไขปัญหาเลย ทางตัวแทนก็ได้ไปยื่นข้อร้องเรียนให้กรรมธิการที่ดินทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่อาคารรัฐสภาวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมากรรมาธิการรับเรื่องเข้าที่ประชุม เพื่อวางแผนการลงสำรวจพื้นที่”

ด้านนายสุรพล เต็มสวัสดิ์ ได้กล่าวถึงแนวทางการต่อสู้ของชาวบ้านว่า

“ตอนนี้รอกรรมาธิการที่ดินมาลงพื้นที่ แต่กรรมาธิการเขาจะไปที่เชียงรายก่อน ตอนนี้ฟาร์มหมู่ที่บ้านห้วยแก้วได้มีการถอนเครื่องไม้เครื่องมือออกหมดแล้ว แต่พื้นที่อื่นบริษัทยังทำการสร้างอยู่ จากประสบการณ์ผมเห็นมาไม่มีฟาร์มหมูที่ไหนควบคุมเรื่องกลิ่นได้ลองไปดูฟาร์มหมูในจังหวัดภาคเหนือเรา ตอนนี้กำลังปรึกษาทีมกฎหมายศึกษาเอกสาร เตรียมดำเนินการฟ้องต่อศาลปกครอง และวันที่กรรมาธิการที่ดินทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมาลงพื้นที่เราจะจัดเวทีเสวนาปัญหาผลกระทบข้อกังวลฟาร์มหมู่สู่สาธารณะและยื่นข้อเสนอให้กับทางกรรมธิการที่ดินอีกทางเพื่อแสดงพลังของชาวบ้านในการปกป้องชุมชนจากผลกระทบฟาร์มหมูของนายทุน”

ในที่ประชุมสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง ได้มอบหมายให้กองเลขาสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง ประสานช่องทางความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน เครือข่ายชุมชน และศึกษาข้อกฎหมาย แนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำ และปัญหาข้อกังวลผลกระทบฟาร์มหมู่ขนาดใหญ่ของนายทุนที่กำลังก่อนสร้างในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนกลางต่อไป

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง