เผด็จการทหารเมียนมาบังคับให้แสดงหลักฐานการจ่ายภาษีเพื่อต่ออายุหนังสือเดินทาง

แปลจาก https://myanmar-now.org/en/news/myanmar-regime-to-require-proof-of-paying-taxes-for-passport-renewals/

เผด็จการทหารเมียนมาเผชิญวิกฤตทางการเงินขั้นร้ายแรง ออกคำสั่งให้คนทำงานบนเรือและแรงงานข้ามชาติเมียนมาต่อหนังสืออายุเดินทางด้วยเงินสกุลต่างประเทศ หน่วยงานที่รับผิดชอบการออกหนังสือเดินทางประกาศว่าประชาชนสัญชาติเมียนมาที่มีรายได้ในต่างประเทศและเรือต่างชาติต้องมีใบจ่ายภาษีเพื่อต่ออายุหนังสือเดินทาง

ประกาศนี้ติดอยู่ที่ที่ทำการไปรษณีย์หลายแห่งซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทยเมียนมา ประกาศนี้ระบุว่าแรงงานข้ามชาติที่ต้องการต่อหนังสือเดินทางสำหรับการทำงาน (PJ) หรือผู้ทำงานบนเรือ (PS) ต้องแสดงใบรับรองจากกรมอากรภายในของกระทรวงวางแผนและการเงินของเผด็จการทหาร

เมื่อเมียนมานาว(Myanmar now)ติดต่อสำนักงานหนังสือเดินทางในเมืองเนปิฏอว์เจ้าหน้าที่ยืนยันว่าระเบียบใหม่นี้บังคับใช้แล้วแต่ปฏิเสธจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม ตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สำนักงานหนังสือเดินทาง หากผู้ถือพาสปอร์ตไม่สามารถแสดงหลักฐานการจ่ายภาษีจะไม่สามารถต่ออายุหนังสือเดินทางได้ อย่างไรก็ตามยังมีทางเลือกให้กับผู้ต้องการต่ออายุหนังสือเดินทางในต่างประเทศด้วยการจ่ายภาษีทั้งหมดที่สถานทูตเป็นเงินก้อนเดียว

การรัฐประหารที่ดำเนินมากว่าสองปีครึ่งทำให้เผด็จการทหารอยู่ในสภาวะที่ต้องการเงินตราต่างประเทศอย่างเร่งด่วนเนื่องจากการถอนตัวของธุรกิจต่างประเทศและการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ของเผด็จการทหารต่าง ๆ เผด็จการทหารจึงวางแผนเก็บภาษีแรงงานข้ามชาติเพิ่มโดยเริ่มในเดือนตุลาคม รวมถึงแผนต่อมาที่จะจำกัดและควบคุมการต่อหนังสือเดินทางเพิ่มขึ้นไปอีก

ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีที่ไม่ประสงค์ออกนามด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยกล่าวว่า ด้วยเหตุนี้แรงงานข้ามชาติและแรงงานที่ทำงานบนเรือที่ไม่จ่ายภาษีให้กับรัฐบาลทหารจะไม่สามารถเดินทางหรืออาศัยในต่างประเทศได้ “นั่งคือสิ่งที่จะเกิดขึ้น แรงงานก็จะต้องจ่ายภาษีให้พวกเขา(เผด็จการทหาร) นี่คือการปล้นทรัพย์แรงงานข้ามชาติโดยรัฐบาลทหาร”

ในวันที่ 23 กันยายน หนังสือพิมพ์ที่ควบคุมโดยเผด็จการทหารประกาศกฎหมายภาษีสหภาพของปี 2023 ที่แก้ไขการเก็บภาษีจากแรงงานข้ามชาติและประชาชน ผู้นำเผด็จการทหารมินอ่องหล่ายอนุมัติกฎหมายภาษีสหภาพซึ่งได้รับการอนุมัติรายปี โดยแก้ไขมาตรา 22 ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคมปี 2023 ไปจนถึงเดือนมีนาคมปี 2024

การแก้กฎหมายนี้ยกเลิกการยกเว้นภาษีของแรงงานข้ามชาติซึ่งได้รับการยกเว้นครั้งแรกในปี 2012 สมัยรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีเต็งเส่งและใช้งานมาเป็นเวลากว่า 10 ปี นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการคำนวณภาษี 2 วิธีตามการได้มาซึ่งรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศของแรงงานโดยพิจารณาจากฐานภาษีหรืออัตรา 2 เปอร์เซ็นต์ของรายได้โดยไม่ลดหย่อน แรงงานที่รับค่าแรงเป็นเงินตราต่างประเทศต้องจ่ายภาษีตำกว่าอัตราทั้งสองที่กล่าวไป

ประชาชนชาวเมียนมาที่อาศัยในต่างประเทศไม่ได้รับการยกเว้นภาษีรายได้อีกต่อไปกับรายได้”ที่ไม่ใช่เงินเดือน” ซึ่งอาจมาจากกองทุนต่างประเทศ รายได้จากธุรกิจหรือรายได้จากการให้บริการ และจะต้องจ่ายภาษี 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนเป็นเงินตราต่างประเทศ หากไม่สามารถแสดงใบรับรองภาษีอาจนำไปสู่การที่เจ้าหน้าที่ในระบอบเผด็จการทหารใช้มาตรการลงโทษที่รุนแรงมากขึ้น เช่น การยกเลิกหนังสือเดินทาง ระงับการออกหนังสือเดินทางใหม่ ห้ามเดินทางไปต่างประเทศ หรือใช้มาตรการทางกฎหมายต่อประชาชนภายใต้กฎหมายบริหารการเก็บภาษี

เมียนมาเซ็นข้อตกลงทวิภาคีเว้นภาษีสองทางกับ 8 เป็นประเทศได้แก่ อินเดีย ลาว มาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย สหราชอาณาจักและเวียดนาม ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีให้ข้อมูลกับเมียนมาร์นาว(Myanmar Now)ว่า ในขณะที่ข้อตกลงนี้มีเป้าหมายเพื่อลดการจ่ายภาษีสองครั้งจากรายได้เดียวกัน ซึ่งในขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะทราบถึงผลกระทบของการแก้กฎหมายต่อแรงงานเมียนมาที่อาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้

แรงงานเมียนมาคนหนึ่งในสิงคโปร์กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่อาจถูกเก็บภาษี 2 ครั้งจากกฎหมายภาษีฉบับใหม่ภายใต้แผนการของเผด็จการทหาร การเชื่อมโยงการจ่ายภาษีเข้ากับการต่ออายุหนังสือเดินทางอาจบังคับให้แรงงานจ่ายภาษีแม้ว่าพวกเขาไม่ต้องการหรือหารายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีแทน และโครงการนี้ดูเหมือนจะสร้างเม็ดเงินอย่างมีนัยยะสำคัญให้กับเผด็จการทหาร

ก่อนบังคับใช้ข้อบังคับใหม่นี้เผด็จการทหารได้บังคับใช้คำสั่งที่ให้แรงงานชาวเมียนมาต้องส่งเงิน 25 เปอร์เซ็นต์ของรายได้กลับประเทศให้กับสมาชิกครอบครัวในเมียนมาโดยใช้ธนาคารท้องถิ่นของเมียนมา

ตามข้อมูลจากองค์กรที่รณรงค์ประเด็นแรงงานในประเทศไทย มีแรงงานเมียนมาที่ทำงานอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยกว่า 1.7 ล้านคน รวมถึงมากกว่า 300,000 คน ที่ทำงานภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างสองประเทศ

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง